x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

เรื่องควรรู้! ประชาชนตาดำๆ อย่างเรา จะได้ประโยชน์อะไรจากการประมูล 4G ?

icon 11 พ.ย. 58 icon 4,938
เรื่องควรรู้! ประชาชนตาดำๆ อย่างเรา จะได้ประโยชน์อะไรจากการประมูล 4G ?

เรื่องควรรู้! ประชาชนตาดำๆ อย่างเรา จะได้ประโยชน์อะไรจากการประมูล 4G ?

และแล้วก็ถึงเวลาที่ทางกสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จะเปิดโอกาสให้บริษัททั้ง 4 รายได้ยื่นซองประมูลคลื่นความถี่ เพื่อนำไปให้บริการระบบ 4G ต่อผู้บริโภคทั้งหลาย และเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจในการประมูลครั้งนี้ รวมถึงผลประโยชน์ที่ทุกคนจะได้รับ เรา Checkraka.com จึงไม่พลาดนำข้อมูลดีๆ มาฝากคุณ...

คลื่นที่นำมาประมูลมีอะไรบ้าง?

สำหรับคลื่นความถี่ที่ถูกจัดสรรเพื่อนำมาประมูลในครั้งนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 คลื่น นั่นก็คือ คลื่น 1800MHz และ 900MHz โดยคลื่น 1800MHz เป็นคลื่นที่ผู้ประมูลให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ เนื่องด้วยเป็นคลื่นที่มีความถี่สูง ซึ่งแม้จะครอบคลุมพื้นที่ได้น้อยกว่าคลื่นความถี่ต่ำอย่าง คลื่น 900MHz แต่ก็สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากและรวดเร็วกว่า เหมาะกับพื้นที่ที่มีความต้องการใช้งานข้อมูลหนาแน่น เช่น กรุงเทพฯ หรือหัวเมืองใหญ่ๆ จึงเหมาะนำมาพัฒนาเทคโนโลยี 4G LTE (Long Term Evolution) มากที่สุด อีกทั้ง ปัจจุบันทั่วโลกก็มีอุปกรณ์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่รองรับคลื่นความถี่ 1800MHz มากที่สุดอีกด้วย จึงคุ้มค่าต่อการประมูลนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่อย่างไรก็ตาม การประมูลได้ทั้ง 2 คลื่นก็จะช่วยให้มีสัญญาณที่ครอบคลุมต่อการใช้งานของผู้คนทุกพื้นที่
ทั้งนี้ ทั้งคลื่น 1800MHz และ 900MHz จะถูกนำมาแบ่งซอยคลื่นละ 2 ใบสัญญาสัมปทาน รวมเป็น 4 ใบ โดยคลื่น 1800MHz จะถูกแบ่งเป็น 15MHz ต่อใบสัญญา มีอายุสัมปทาน 18 ปี ส่วนคลื่น 900MHz จะถูกแบ่งเป็น 10MHz ต่อใบสัญญา มีอายุสัมปทาน 15 ปี

เริ่มการประมูลเมื่อไหร่?

การประมูลคลื่นความถี่เพื่อนำไปให้บริการระบบ 4G นั้นมีอยู่ 2 ช่วงเวลาด้วยกัน คือ
  1. ประมูลคลื่น 1800MHz ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
  2. ประมูลคลื่น 900MHz ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มีเจ้าไหนเข้าร่วมการประมูลบ้าง?

การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz และ 900MHz ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมเหมือนกันอยู่ 4 ราย คือ
  1. บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด
  2. บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด
  3. บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด
  4. บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด

คุณจะได้ประโยชน์อะไรจากการประมูล 4G ?

สิ่งที่ประชาชนตาดำๆ อย่างเราจะได้จากประมูลคลื่นความถี่ เพื่อนำไปให้บริการระบบ 4G ในครั้งนี้ ก็มีทั้งทางตรงและทางอ้อมดังต่อไปนี้
  1. ได้เงินค่าสัมปทานก้อนมหึมาจากการประมูลทั้ง 2 คลื่นเข้ารัฐเป็นเงินหลักแสนล้านบาท ช่วยให้รัฐบาลสามารถนำเงินเงินจำนวนนี้ไปพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของประเทศเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขมากขึ้น
  2. ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือที่มีความเร็วมากกว่าระบบ 3G โดยด้วยมาตรฐานเทคโนโลยี LTE Advanced ที่สามารถทำความเร็วอัปโหลดสูงสุด 500 Mbps และให้อัตราการดาวน์โหลดได้สูงสุดถึง 1000 Mbps หรือ 1 Gbps ทำให้คุณดูคอนเทนต์วิดีโอออนไลน์ 4K ได้สบายๆ
  3. สามารถสนทนาด้วยเสียงแบบคุณภาพสูง และสนทนาวิดีโอคอลด้วยความคมชัดแบบ HD ผ่านทางเทคโนโลยี VoLTE (Voice Over LTE) โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด
ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการประมูล และประโยชน์จาก 4G  ที่เรานำมาฝากให้ท่านผู้อ่าน หวังว่าคงจะมีประโยชน์ต่อทุกคน และถ้าผลการประมูลเสร็จสิ้นเมื่อไหร่ เราจะรีบนำข่าวมาฝากแน่นอน...
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Mobile Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)