หุ้น vs กองทุน vs ETF แตกต่างกันอย่างไร? ควรลงทุนแบบไหน?

icon 22 ก.ค. 65 icon 3,430
หุ้น vs กองทุน vs ETF แตกต่างกันอย่างไร? ควรลงทุนแบบไหน?
ในสมัยหลายสิบปีก่อน สินทรัพย์การเงินยอดฮิตที่สุดคงหนีไม่พ้น "หุ้น" ซึ่งในสมัยนั้นก็ยังมีหุ้นให้ลงทุนไม่มากนัก เวลาผ่านไปสินทรัพย์การเงินยอดฮิตสำหรับนักลงทุนมือใหม่คือ "กองทุนรวม" เพราะใช้เงินลงทุนน้อย และยังได้กระจายความเสี่ยงอีกด้วย และล่าสุดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา อีกหนึ่งสินทรัพย์ที่กำลังมาแรงเช่นกันก็คือ "ETF" เพราะเป็นสินทรัพย์ที่นำข้อดีของทั้งหุ้นและกองทุนรวมมารวมกัน
 
บทความนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า หุ้น กองทุน และ ETF แตกต่างกันอย่างไรบ้าง แล้วในฐานะที่เป็นนักลงทุนแบบเรา ควรจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ไหน

ทำความรู้จักกับ ETF
 
ETF ย่อมาจาก Exchange Traded Fund โดยที่ Exchange หมายถึง การซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ Traded หมายถึง การซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์ หรือ โบรกเกอร์ และ Fund หมายถึง กองทุนรวม ดังนั้น ETF คือ กองทุนรวมดัชนี หรือ Index Fund ที่มีนโบายลงทุนตามดัชนีต่างๆ โดยคาดหวังผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนี หรือ สินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ
 
เช่น ETF ที่ชื่อว่า TDEX เป็นกองทุนที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงดัชนี SET50 มากที่สุดเมื่อดัชนี SET50 วิ่งขึ้น กองทุน TDEX ก็จะวิ่งขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันเมื่อดัชนี SET50 ดิ่งลง กองทุน TDEX ก็จะดิ่งลงไปด้วย จะเห็นว่าเราซื้อเพียง TDEX กองทุนเดียว สามารถซื้อหุ้นได้ถึง 50 ตัวเลย ต่างจากการซื้อหุ้นรายตัวที่การจะซื้อให้ครบทั้ง 50 ตัวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และใช้จำนวนเงินสูงมากเลยทีเดียว
หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่ากองทุนรวมเองก็มีกองทุนดัชนีอย่าง SET50 เหมือนกัน แล้วการซื้อ TDEX กับ SET50 จะแตกต่างกันอย่างไร จากภาพด้านล่างจะเห็นว่ากองทุน TDEX และกองทุน SET50 อื่นๆ ก็วิ่งไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นความแตกต่างคือ TDEX มีการจ่ายปันผลเหมือนกับการถือครองหุ้นทั่วไป ซึ่งบางกองทุน SET50 ก็มีจ่ายปันผลเช่นกัน เช่น TMB50DV อีกความแตกต่าง คือ ค่าธรรมเนียม ถึงจะเป็น Passive Fund เหมือนกัน แต่ TDEX มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า
ความแตกต่างระหว่างหุ้น กองทุน และ ETF

เมื่อได้รู้จักกับ ETF ไปแล้วเรามาดูกันต่อกว่า ETF มีด้านที่แตกต่างจากหุ้น และกองทุนอย่างไรอีกบ้าง
ราคาซื้อขาย และการซื้อขาย
 
หุ้นและ ETF สามารถซื้อขายได้แบบ Real Time ผ่านตลาดหลักทรัพย์ หมายถึงการรับรู้ราคาซื้อขายได้ในทันที ต่างจากกองทุนรวมที่ซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไม่ว่าเราจะซื้อขายในเวลาไหน เราจะรับรู้ราคาซื้อขายได้ในช่วงสิ้นวันทำการ
 
จากที่ได้ยกตัวอย่างของกองทุน TDEX และกองทุน SET50 ไปข้างต้น การที่ ETF สามารถซื้อขายได้ Real Time แบบหุ้น ถือเป็นข้อได้เปรียบของ ETF ที่สามารถซื้อในราคาที่ต้องการได้เลย หากในวันนั้นตลาดมีการปรับตัวลงในช่วงเช้า แล้วมีการปรับตัวขึ้นในช่วงบ่าย นักลงทุนสามารถตัดสินใจซื้อ TDEX ในช่วงเช้าได้เลย ทำให้มีต้นทุนราคาที่ต่ำกว่ากองทุน SET50
 
ค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย
 
ค่าธรรมเนียมการซื้อขายของหุ้นและ ETF จะขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ที่เราเลือกเปิดบัญชี ซึ่งบางโบรกเกอร์อาจจะมีกำหนดขั้นต่ำ เช่น 50 บาทต่อวัน หากเราไม่ได้ซื้อขายถึงหลักหมื่นอาจจะไม่คุ้มค่า เลือกโบรกเกอร์ที่ไม่กำหนดขั้นต่ำในการซื้อขายจะประหยัดค่าธรรมเนียมได้มากกว่า ส่วนค่าธรรมเนียมการซื้อขายของกองทุนรวมก็ขึ้นอยู่กับบลจ.เช่นกัน กองทุนที่มีค่าธรรมเนียมต่ำมักจะเป็นกองทุน Passive Fund ที่อ้างอิงดัชนี
 
จำนวนเงินขั้นต่ำในการซื้อขาย
 
หุ้นและ ETF จะต้องซื้อขายขั้นต่ำที่ 100 หุ้น หรือ 100 หน่วย หากราคาหุ้นหรือ ETF นั้นๆ อยู่ที่ 50 บาท เราจะต้องใช้เงินอย่างน้อย 5,000 บาท ในการซื้อหุ้นหรือ ETF นั้นๆ ต่างกับกองทุนรวมที่ในปัจจุบันหลายๆ กองทุนรวมไม่กำหนดขั้นต่ำในการซื้อขายแล้ว มีเงิน 1 บาทก็เป็นเจ้าของหุ้นหลายๆ ตัวได้ เพื่อต้องการกระตุ้นให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้สะดวกมากขึ้น
 
การกระจายการลงทุน
 
การซื้อหุ้น 1 ตัว เท่ากับลงทุนเพียง 1 บริษัทเท่านั้น ดังนั้นหุ้นจึงมีการกระจายการลงทุนที่ต่ำ หากต้องการกระจายการลงทุนเยอะๆ ก็ต้องซื้อหุ้นหลายตัว ซึ่งใช้เงินลงทุนมากและยังกระจายการลงทุนได้ไม่ดีเท่าการซื้อ ETF และกองทุนรวม ที่ซื้อเพียง 1 กองทุน ก็ได้กระจายการลงทุนไปยังหุ้นหลายตัว
 
ผลตอบแทน และความเสี่ยง
 
หุ้นถือเป็นสินทรัพย์การเงินที่มีความเสี่ยงสูงมาก ซึ่งอาจแลกมากับผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน ต่างจาก ETF และ กองทุนรวม ที่มีสินทรัพย์ให้เลือกหลากหลายตั้งแต่เสี่ยงต่ำไปจนถึงเสี่ยงสูง นั่นหมายความว่า ผลตอบแทนก็จะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่นักลงทุนเลือกลงทุนเช่นกัน
 
ผู้ดูแลสภาพคล่อง
 
หุ้นและกองทุนรวมไม่มีผู้ดูแลสภาพคล่อง แต่ ETF มี ซึ่งทำให้ราคาซื้อขายสอดคล้องกับการขึ้นลงของดัชนีอ้างอิงอยู่เสมอ ช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้อย่างสะดวก
 
หลังจากได้รู้จักข้อแตกต่างของหุ้น กองทุนรวม และ ETF ไปแล้ว อ่านมาถึงตรงนี้ หลายๆ คนคงอยากรู้แล้วว่า เราควรลงทุนในสินทรัพย์ไหนมากกว่ากัน คำตอบก็คือขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเป้าหมายการลงทุน ความสามารถในการรับความเสี่ยง รวมถึงเวลาที่มีเพื่อศึกษาการลงทุน
 
หุ้นจะเหมาะกับนักลงทุนที่มีเวลาติดตามข่าวสาร หมั่นวิเคราะห์บริษัทที่ตัวเองสนใจอยู่เสมอ และรับความเสี่ยงได้สูง ส่วนกองทุนรวมเหมาะกับผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสารมากนัก ต้องการลงทุนในระยะยาว แล้วกลับมารีวิวพอร์ตทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี สุดท้าย ETF เหมาะกับนักลงทุนที่มีเวลาในการติดตามข่าวสาร ต้องการเข้าซื้อขายหน่วยลงทุนด้วยตนเองเหมือนหุ้น และต้องการลงทุนในระยะยาวเหมือนกองทุนเช่นกัน

จะเห็นว่าทุกสินทรัพย์นั้นมีข้อดีเหมือนกันหมด อยู่ที่ความต้องการในการลงทุนของนักลงทุนแต่ละคน ที่สำคัญคืออย่าลืมกลับมารีวิวพอร์ตการลงทุนของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูว่าเรายังเดินทางอยู่ในเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ จะได้ไม่ออกนอกเส้นทางไปไกล และพิชิตการลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้
แท็กที่เกี่ยวข้อง มือใหม่หัดลงทุน ลงทุนกองทุนรวม ลงทุนหุ้น Exchange Traded Fund ETF
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)