รู้ยัง!! "ซื้อขายหุ้น" จัดอยู่ในโครงการ "ช้อปดีมีคืน" อย่าลืม...เอามาลดหย่อนภาษีกันด้วยน๊าาา

icon 8 ก.พ. 65 icon 3,201
รู้ยัง!! "ซื้อขายหุ้น" จัดอยู่ในโครงการ "ช้อปดีมีคืน" อย่าลืม...เอามาลดหย่อนภาษีกันด้วยน๊าาา
มาตรการดีๆ ออกมาอีกแล้วจ้า กับ "ช้อปดีมีคืน" ปี 2565 เป็นมาตรการสำหรับผู้มีรายได้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้ซื้อสินค้า และบริการ แล้วนำมาใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 30,000 บาท ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการ "ซื้อขายหุ้น" แต่หุ้นประเภทไหน? ใช้หลักฐานอะไรบ้าง? และมีวิธีคิดการลดหย่อนภาษียังไง? มาดูไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

ทำไม "ซื้อขายหุ้น" ถึงนำมาลดหย่อนภาษีได้?

"ซื้อขายหุ้น" สามารถเอามาลดหย่อนภาษีในปี 2565 นี้ได้ก็เพราะค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น หรือค่าคอมมิชชั่น มีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงจัดอยู่ในเงื่อนไขของสินค้าที่อยู่ในโครงการ "ช้อปดีมีคืน" โดยมีเงื่อนไขของสินค้าที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
  • เงื่อนไขที่ 1 : เป็นสินค้า และบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • เงื่อนไขที่ 2 : เป็นสินค้า OTOP ที่ลงทะเบียนแล้ว
  • เงื่อนไขที่ 3 : หนังสือรูปแบบกระดาษ หรือ E-Book
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการ "ซื้อขายหุ้น" จัดอยู่ในเงื่อนไขที่ 1 คือ เป็นสินค้า และบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่สามารถเอาไปลดหย่อนภาษีได้ค่ะ

การ "ซื้อขายหุ้น" ประเภทไหน...เอามาลดหย่อนได้?

ถ้าดูตามเงื่อนไขของมาตรการ หรือโครงการ "ช้อปดีมีคืน" แล้ว เราสามารถนำการ "ซื้อขายหุ้น" ทั้ง 3 ประเภทมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด เนื่องจากหุ้นแต่ละประเภทเข้าเงื่อนไขทั้งนั้น โดยบัญชีหุ้นทั้งหมดมีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
  • บัญชีหุ้นประเภทที่ 1 : บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance, Cash Deposit)
  • บัญชีหุ้นประเภทที่ 2 : บัญชีเงินสด (Cash Account)
  • บัญชีหุ้นประเภทที่ 3 : บัญชีมาร์จิน (Credit Balance, Margin Account)

ต้องใช้หลักฐานอะไร? ในการลดหย่อนภาษีจากการ "ซื้อขายหุ้น"

การลดหย่อนภาษีในครั้งนี้ เราต้องไม่ลืมว่าเป็นการใช้สิทธิจากมาตรการ "ช้อปดีมีคืน" ดังนั้น ต้องเป็นไปตามสิทธิและเงื่อนไขก่อนนั่นก็คือ ต้องเป็นรายการที่ซื้อขายภายในวันที่ 1 มกราคม 2565 - 15 กุมภาพันธ์ 2565 เท่านั้น รายการที่มีการซื้อขายก่อนวันที่ 1 มกราคม 2565 ไม่สามารถนำมาคิดลดหย่อนได้นะคะ และในส่วนของเอกสารที่จะนำมาใช้เป็นหลักฐานนั่นก็คือ "ใบยืนยันการซื้อขายหุ้น" ที่โบรกเกอร์ออกให้

ควร "ซื้อขายหุ้น" เท่าไหร่ ถึงจะได้สิทธิครอบคลุมอัตราภาษีของเรา...คิดยังไง มาดูกัน!!

สิทธิของการช้อปจากมาตรการ "ช้อปดีมีคืน" การซื้อสินค้า และบริการสูงสุดได้ถึง 30,000 บาท ทั้งนี้ เราจะต้องดูในเรื่องของรายได้สุทธิด้วยนะคะว่าของเราอยู่ในฐานภาษีที่เท่าไหร่ เพราะจะได้นำมาเป็นตัวกำหนดอัตราภาษีที่เราจะต้องเสีย...ก่อนอื่นมาดู "อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2565" กันค่ะ
 
ตัวอย่าง การคิดคำนวณการลดหย่อนภาษีจากมาตรการ "ช้อปดีมีคืน" จากการ "ซื้อขายหุ้น"
ถ้าเรามีเงินได้สุทธิทั้งปี เท่ากับ 400,000 บาท เมื่อดูตามตาราง "อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" แล้ว จะเห็นได้ว่าเราอยู่ในช่วงฐานภาษีที่ 300,001 - 500,000 บาท เสียภาษีในอัตรา 10% ซึ่งเงินคืนสูงสุดถ้าเราคิดจากยอดเงินรวมของค่าคอมฯ ค่าธรรมเนียม และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 30,000 บาท (ตามยอดซื้อสินค้าสูงสุดในมาตรการ "ช้อปดีมีคืน") แล้วนำมาคูณ 10% (ที่เป็นอัตราภาษี)
 
เพราะฉะนั้น...เงินคืนที่ได้จากการลดหย่อนภาษีในครั้งนี้ คือ 30,000 x 10% = 3,000 บาท
 
สุดท้ายนี้...ใครที่กำลังจะดำเนินการยื่นภาษี และมีการ "ซื้อขายหุ้น" ก็อย่าลืมนำยอดเงินรวมค่าคอมฯ ค่าธรรมเนียม และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่มีจากการซื้อขายหุ้นในช่วงเวลาของมาตรการ "ช้อปดีมีคืน" (1 ม.ค. - 15 ก.พ. 65) มาคำนวณเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วยนะคะ เพื่อรักษาสิทธิที่เราพึงได้ค่ะ
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ลดหย่อนภาษี ช้อปดีมีคืน ซื้อขายหุ้น
Economy Guru
เขียนโดย สินีนาฏ มากทองหลาง Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)