อ่านก่อนจะตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม

icon icon 126
อ่านก่อนจะตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม

อ่านก่อนจะตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม

ก่อนที่จะเริ่มลงทุนในกองทุนรวมนั้น ผู้ลงทุนควรที่จะศึกษาหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจ ถึงแม้ว่าการลงทุนในกองทุนรวมนั้น จะมีผู้จัดการกองทุนรวมค่อยดูแลและบริหารจัดการกองทุนรวมให้ ก็ไม่ได้หมายความว่าตัวผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมนั้นเลย เพราะผู้ลงทุนควรศึกษาหาข้อมูลของกองทุนรวมก่อนจะเริ่มการลงทุนทุกครั้ง เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาในการลงทุนตามมา

1. สำรวจหาความต้องการของตนเอง

ก่อนที่จะทำการลงทุน ผู้ลงทุนควรสำรวจหาความต้องการของตนเองก่อนว่าต้องลงทุนแบบไหน และลงทุนเพื่ออะไร มีเงินลงทุนมากน้อยแค่ไหน ต้องลงทุนในสั้นหรือระยะยาว และรับความเสี่ยงการลงทุนได้มากแค่ไหน เมื่อทราบความต้องการของตนเองแล้วจะทำให้ผู้ลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนรวมได้ง่ายขึ้น

2. ข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกองทุนรวม

เช่น กองทุนรวมนั้นมีชื่อว่าอะไร มีตัวย่อว่าอะไร บลจ.ใดเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการกองทุนรวม และตัวของผู้จัดการกองทุนเป็นใคร น่าเชื่อถือหรือไม่ มีความรู้เรื่องการลงทุนมากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้ลงทุนควรทราบก่อนจะเริ่มซื้อหน่วยลงทุน

3. นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม

ในปัจจุบันนั้น มีสินค้าทางการเงินมากมายหลากหมายรูปแบบในตลาด ทำให้กองทุนรวมต่างๆ ก็มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วย ผู้ลงทุนจำเป็นต้องศึกษาว่ากองทุนรวมนั้นมีนโยบายการลงทุนแบบไหนมีการนำเงินไปลงทุนอย่างไร อย่างเช่น ลงทุนในตราสารหนี้เป็นส่วนใหญ่ ลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน ลงทุนในทองคำ เป็นต้น เพื่อที่ผู้ลงทุนจะได้ลงทุนในสินทรัพย์ที่ตัวเองต้องการอย่างแท้จริง

4. มูลค่าหน่วยลงทุน

หรือที่เรียกว่ามูลค่า NAV คือมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดของกองทุนรวมหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด โดยทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะเป็นผู้คิดคำนวณและทำการประกาศเผยแพร่มูลค่าหน่วยลงทุนออกมาให้กับผู้ลงทุนรับทราบ เพื่อเป็นราคากลางที่ใช้ทำการซื้อขายหน่วยลงทุน

5. อันดับความเสี่ยงของกองทุนรวม

เนื่องจากแต่ละกองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละกองทุนรวมย่อมมีความเสี่ยงที่ต่างกัน ดังนั้นทาง กลต. จึงได้มีการกำหนดระดับความเสี่ยงของกองทุนรวมออกมาทั้งหมด 8 ระดับ ตั้งแต่เสี่ยงต่ำมาก จนไปถึง เสี่ยงสูงมาก เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบและเตรียมรับมือกับความเสี่ยงจากการลงทุน

6. ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนรวม

เหมือนเป็นกระจกสะท้อนว่าที่ผ่านมานั้น กองทุนรวมมีการบริหารจัดการอย่างไร การที่กองทุนรวมมีผลการดำเนินงานย้อนหลังที่ดีก็ย่อมแสดงว่าที่ผ่านมากองทุนนั้นมีการบริหารจัดการการลงทุนที่ดี แต่การที่ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนรวมดีนั้น ก็ไม่ได้การันตีว่าผลการดำเนินงานในอนาคตจะดีตามไปด้วย เป็นเพียงการบอกว่าที่ผ่านมากองทุนรวมนั้นมีการบริหารจัดการเป็นอย่างดีจึงทำให้ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาออกมาดี

7. ค่าธรรมเนียมของกองทุนรวม

กองทุนรวมถือเครื่องมือการลงทุนชนิดหนึ่ง มีผู้จัดการกองทุนรวมเป็นผู้ดูแล ซึ่งถือว่าเป็นการบริการรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นย่อมต้องมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการกองทุนรวมนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาค่าธรรมเนียมการลงทุน ก่อนตัดสินใจจะลงทุนเพราะถ้าค่าธรรมเนียมสูงเกินไปก็จะทำให้กำไรที่ได้รับน้อยลงไปด้วย
สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมนั้น ไม่ได้มีการการันตีเงินต้นเหมือนกับการฝากเงินในธนาคาร ดังนั้นการลงทุนในกองทุนรวมนั้นจึงมีโอกาสที่ผู้ลงทุนจะขาดทุนจากการลงทุน แต่ถ้าหากผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน ก็จะทำให้ผู้ลงทุนมีโอกาสที่จะขาดทุนนั้นมีน้อยลง
ขอขอบคุณภาพจาก : www.ecepost.com
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)