กองทุนอินฟราฯ ผลตอบแทน อาจแซงดอกเบี้ยเงินฝาก

icon icon 172
กองทุนอินฟราฯ ผลตอบแทน อาจแซงดอกเบี้ยเงินฝาก

กองทุนอินฟราฯ ผลตอบแทน อาจแซงดอกเบี้ยเงินฝาก
เศรษฐกิจและสภาพการเมืองในปัจจุบัน เพื่อนๆ คงเห็นแล้วว่าเกิดการผันผวนขึ้นอย่างมาก ผลตอบแทนจากการฝากเงินก็น้อยเต็มที ทำให้หลายคนหันมาลงทุนในกองทุน โดยปัจจุบันกองทุนน้องใหม่ที่มาแรงและแซงทางโค้งด้วยผลตอบแทนที่เหนือกว่าการออมแบบอื่นๆ นั่นก็คือ การลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือที่เรียกกันว่า "Infrastructure Fund"
ในที่นี้ ทางทีมงาน CheckRaka.com จะขอยกบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเสนอต่อเพื่อนๆ ทุกคน โดยยกมาจากวารสาร happiness ฉบับต้อนรับปีใหม่ (VOL.16/JAN-MAR 2014) ในบทความเรื่อง "ซื้อกองทุนอินฟราฯ เข้าพอร์ต รับผลตอบแทนแซงดอกเบี้ยเงินฝาก"
ทำความเข้าใจกับกองทุน
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure Fund คือ กองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนจากผู้ลงทุนเพื่อนำไปใช้พัฒนากิจการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสาธารณประโยชน์ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโครงการของรัฐหรือเอกชน เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ทางพิเศษ ทางสัมปทาน ท่าอากาศยาน ท่าเรือน้ำลึก โทรคมนาคม รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น โดยกองทุนรวมที่จัดตั้งต้องระบุเฉพาะเจาะจงว่าจะนำเงินไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานประเภทใด
ความแตกต่างจากกองทุนประเภทอื่นๆ
กองทุนรวมทั่วไปจะกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อาทิ หุ้น ตราสารหนี้ หรืออสังหาริมทรัพย์ สำหรับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีรูปแบบการลงทุนที่คล้ายคลึงกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ แต่มีความแตกต่างกันที่กองทุนรวมอสังหาฯ เน้นการลงทุนที่มีรายได้จากการปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่เงินลงทุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานจะนำไปลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และรายได้ของกองทุนจะมาจากกระแสรายรับที่จะได้จากการดำเนินงานในอนาคต
กองทุนอินฟราฯ จะจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบเงินปันผล ช่วยสร้างรายได้สม่ำเสมอ เงินปันผลนี้รัฐยกเว้นภาษีให้แต่จะเป็นเวลายาวนานเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละกองทุน และกองทุนรวมประเภทนี้จะมีการนำหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้เสมือนหุ้น ภายหลังการออกและการเสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปแล้ว ผู้ลงทุนจะมีโอกาสทำกำไรได้จากส่วนต่างของราคาซื้อขายในตลาดได้อีกด้วย
หากสนใจที่จะลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งที่ผู้ลงทุนควรต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการตัดสินใจลงทุน ประเด็นที่ควรพิจารณาคือ สินทรัพย์ที่นำมาระดมทุนในโครงการมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
กองทุนอินฟราฯ ถือเป็นผลิตภัณฑ์การลงทุนรูปแบบใหม่ในตลาดหุ้นของไทย ในปัจจุบันมีบริษัทที่ระดมทุนในรูปแบบนี้ไปแล้ว ได้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอส (BTSGIF) เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ก่อตั้งโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานรายแรกของไทย มีขนาดกองทุนเริ่มต้นที่ 6.25 หมื่นล้านบาท และมีรายได้จากค่าโดยสารสุทธิในอนาคตที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานรถไฟฟ้า 2 สายหลัก
กองทุนดังกล่าวได้เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2556 ต่อมาในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้ประกาศจ่ายเงินปันผลในส่วนกองทุนรวมบีทีเอสโกรทในอัตราที่ 0.117 บาทต่อหน่วยลงทุนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน
ขณะที่บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ (ABPIF) เป็นอีกกองทุนหนึ่งที่มีการระดมทุน และถือว่าเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ารายแรกในไทย กองทุนดังกล่าวลงทุนในสิทธิในการรับผลประโยชน์จากการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 1 และอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 2 ในนิคมอุตสาหรรมอมตะนคร จังบหวัดชลบุรี โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งดังกล่าวมีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับ กฟภ. ในระยะยาว และขายไฟฟ้าให้กับนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก
สำหรับโอกาสที่นักลงทุนในกองทุนดังกล่าวจะมาจาก 2 ส่วนคือ เงินปันผลและเงินลงทุนทยอยจ่ายด้วยการลดทุนผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับการยกเว้นภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินปันผลเป็นเวลา 10 ปี
แม้ว่าผลตอบแทนของการลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานจะอยู่ในระดับสูง แต่เมื่อพิจารณาระดับความเสี่ยงแล้วจัดอยู่ในกลุ่มกองทุนรวมที่มีระดับความเสี่ยงสูงด้วยเช่นกัน เพราะมีนโยบายลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุน หรือมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดในหนังสือชี้ชวน
ปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ลงทุนควรพิจารณา
  1. พิจารณาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมจะไปลงทุนในรูปของกรรมสิทธิ์ อาทิ สิทธิการเช่า สิทธิสัมปทาน
  2. กองทุนรวมจะลงทุนในโครงการที่ยังไม่แล้วเสร็จ กองทุนรวมจึงมีความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการดังกล่าวหากเกิดกรณีการก่อสร้างล่าช้าหรือต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้น
  3. กองทุนรวมมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน โดยแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็น 2 ชนิดคือ หน่วยลงทุนชนิดคล้ายหนี้ และหน่วยลงทุนชนิดคล้ายทุน สำหรับหน่วยลงทุนชนิดคล้ายหนี้มีลำดับสิทธิใกล้เคียงกับเจ้าหนี้ และได้รับส่วนแบ่งกำไรก่อนหน่วยลงทุนชนิดคล้ายทุน
  4. กรณีกองทุนรวมลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่งเสร็จ และเริ่มจัดหาประโยชน์ได้ไม่นานนัก อาจประเมินศักยภาพของลูกค้าได้ยากกว่าโครงการอื่นที่มีการดำเนินงานหรือให้บริการมาระยะหนึ่งแล้ว
ตำแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบัน

ความเสี่ยงดังกล่าวอาจเป็นเพียงจุดสังเกตเท่านั้น หากจะลงทุนต้องพิจารณาอย่างละเอียด หรือสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งต่างๆ ทั้งสอบถามจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์หรือบริษัทที่เสนอขายกองทุนดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนอีกหลายแห่งที่เตรียมตัวจะระดมทุนในรูปแบบกองทุนอินฟราฯ โดยเฉพาะบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และจากการรวบรวมข้อมูลพบว่าบริษัทขนาดใหญ่มีแผนที่จะเสนอขายกองทุนได้แก่

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE)

บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL)

บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS)

บริษัท เอสพีซีจี (SPCG)
ผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนอินฟราฯ ควรจะเป็นนักลงทุนที่นิยมการลงทุนระยะยาว เน้นการรับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล และมีเวลาศึกษารายละเอียดของข้อมูลให้ครบถ้วนจึงจะประสบความสำเร็จจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว
การลงทุนที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทางทีมงาน CheckRaka นำมาให้เพื่อนๆ ได้ลองทำความเข้าใจเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการลงทุนหรือการออม เพื่อนๆ ทุกคนที่สนใจและต้องการลงทุนในกองทุนลักษณะนี้ควรตระหนักและเข้าใจด้วยว่า การลงทุนไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในลักษณะใด ย่อมมีความเสี่ยง เพื่อนๆ ควรศึกษาให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจทุกครั้งนะคะ

ขอขอบคุณ : บทความจากวารสาร happiness ฉบับต้อนรับปีใหม่ (VOL.16/JAN-MAR 2014) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)