ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

GWM ร่วมถ่ายทอดวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจแนวใหม่กับคณาจารย์จุฬาฯ ในหัวข้อ Leadership in Disruptive Era

ข่าว icon 26 พ.ค. 65 icon 920
เกรท วอลล์ มอเตอร์ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์การเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำ ฝ่ากระแสความท้าทายยุค Disruption เข้าร่วมบรรยายใต้โครงการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการ หลักสูตร The Prospect : New World of Higher Education สำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัยสายวิชาการ (หัวหน้าภาค) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้หัวข้อ Leadership in Disruptive Era ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เพื่อร่วมถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อนำไปพัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้ และส่งมอบให้กับนิสิตผู้เปรียบเสมือนฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้า (xEV Leader) ของประเทศไทย
รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ นายณรงค์ สีตลายน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย)

การบรรยายภายใต้หัวข้อ Leadership in Disruptive Era โดย นายณรงค์ สีตลายน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) ผู้คร่ำหวอดในวงการรถยนต์มากกว่า 25 ปี และมีประสบการณ์ทั้งด้านการขาย การตลาด บริการหลังการขาย การขยายเครือข่าย ตลอดจนการบริหารตัวแทนผู้จำหน่าย การบริหารแบรนด์ และการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า ได้ถ่ายทอดถึงความสำเร็จในการสร้างให้เกรท วอลล์ มอเตอร์ เป็นที่รู้จักและก้าวขึ้นสู่การเป็นบริษัทยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำที่เข้ามาปลุกกระแสยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (xEV) ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย หลังจากเปิดดำเนินการในประเทศไทยเพียง 1 ปีเท่านั้น  
 
นายณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ในฐานะตัวแทนจากเกรท วอลล์ มอเตอร์ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจากทางคณะคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณาจารย์จากหลากหลายคณะกว่า 58 ท่าน ให้มีโอกาสได้เข้ามาพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในการนำพาองค์กรฝ่ากระแสความท้าทายยุค Disruption เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยในปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทาย และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะก่อตั้งธุรกิจและสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ การเข้ามาของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการผลักดันสังคมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยไปอีกขั้น รวมถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมรถยนต์จากกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เน้นการขึ้นสู่การเป็นผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้า (xEV Leader) การรับฟังเสียงของผู้บริโภค (Consumer Voice Focus) และการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ (New User Experience) เกรท วอลล์ มอเตอร์ มีความพร้อมและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พูดคุยและแบ่งปันข้อมูลในหลากหลายมิติ อันจะเป็นประโยชน์ต่อทางมหาวิทยาลัยในการนำไปต่อยอดองค์ความรู้ และติดอาวุธทางความคิดให้กับนิสิตผู้ซึ่งจะก้าวเข้ามาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการสร้างสรรค์เป็นระบบนิเวศของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในอนาคต ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานไฟฟ้าไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน”
สำหรับเนื้อหาของการบรรยายภายใต้หัวข้อ Leadership in Disruptive Era นั้น ตอกย้ำถึงความสำเร็จของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ทั้งในประเทศไทย และในฐานะองค์กรชั้นนำระดับโลกที่สามารถฝ่ายุค Disruption ได้อย่างสง่างามนับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจในประเทศจีนเมื่อปี 1984 โดยตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้มุ่งมั่นส่งมอบผลิตภัณฑ์ บริการ ตลอดจนเทคโนโลยี และนวัตกรรมอันล้ำสมัยให้กับลูกค้าอยู่เสมอ ด้วยจำนวนเครือข่ายศูนย์วิจัยและพัฒนากว่า 10 แห่ง ใน 7 ประเทศทั่วโลก ที่มุ่งเฟ้นหาและพัฒนาเทคโนโลยีด้านยานยนต์ใหม่ ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการผลิตรถยนต์ให้ทันสมัย ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีแบตเตอรี่ เทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ตลอดจนเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่างเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
การบรรยายยังได้เน้นย้ำถึงเทรนด์การเดินทางยุคใหม่ หรือ Smart Mobility ทั้ง 4 รูปแบบที่แบรนด์รถยนต์ต่างหันมาให้ความสำคัญอย่าง 1) ผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ (Connected Product) 2) รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Vehicles) 3) การแชร์การเดินทางและบริการเช่ารถรูปแบบต่างๆ (Car/Ride Sharing) และ 4) ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Electrification) เพื่อตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งยังได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการผลักดันองค์กรให้สามารถฝ่ากระแสความท้าทายในยุค Disruption ในอีกหลากหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทุกภาคส่วนต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับวิถีปกติใหม่ (New Normal) และเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นด้านการเดินทาง การขนส่ง การบริการด้านการเงิน การบริการด้านสารสนเทศ รวมถึงความท้าทายด้านการศึกษาที่ข้อมูลและความรู้สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต

การเข้ามาดำเนินธุรกิจของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ในช่วงปีที่ผ่านมาถือว่ามีความท้าทายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวในฐานะผู้นำองค์กรในยุค Disruption ความท้าทายในฐานะผู้เล่นใหม่ในตลาด และกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ รวมถึงการสร้างปรากฏการณ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยใช้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง (User-Centric) ของการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการแนะนำรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบใหม่เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภค ผ่านกลยุทธ์หลัก 4 ด้านได้แก่ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 3) ด้านสถานีชาร์จประจุไฟฟ้า และ 4) ด้านประสบการณ์ลูกค้า การพลิกโฉมโมเดลตัวแทนจำหน่ายจากรูปแบบเดิม ๆ ให้เป็นพาร์ทเนอร์ที่เน้นการให้บริการ (Service Provider) ให้สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ผ่านการดำเนินงานรูปแบบ Online-to-Offline (O2O) ภายใต้นโยบายราคาเดียว (One Price Policy) รวมถึงถ่ายทอดคุณสมบัติการเป็นผู้นำที่จะพาองค์กรไปสู่ความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนถอดบทเรียนปัจจัยสำคัญที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรได้อย่างประสบความสำเร็จ เพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการผลักดันเกรท วอลล์ มอเตอร์ให้สามารถก้าวสู่การเป็นผู้นำยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ 

โดยเพียง 1 ปีที่เข้ามาดำเนินงานในไทย เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ยอดขายรถยนต์เกือบกว่า 4,000 คัน การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายถึง 30 แห่ง การเพิ่มจำนวนผู้ดาวน์โหลดและใช้งาน GWM แอปพลิเคชันกว่า 50,000 ราย รวมถึงการเปิดโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) แห่งแรกของภูมิภาคอาเซียนในไทยที่จังหวัดระยอง นอกจากนี้ ยังได้มีการกล่าวถึงปัจจัยความสำเร็จในการผลักดันให้เกิดการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าของสาธารณรัฐประชาชนจีนในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจากทางภาครัฐ สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจต่าง ๆ  รวมถึงการเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้รองรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยเกรท วอลล์ มอเตอร์ เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าของไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจับมือกับ 3 หน่วยงานการไฟฟ้าของไทยเพื่อการขยายและพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมถึงการเดินหน้าขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าทั้ง 3 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น G-Charge Supercharging Station สถานีชาร์จที่ Partner Store รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในการตั้งสถานีชาร์จ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าทั้งสิ้น 55 แห่งภายในปีนี้

เกรท วอลล์ มอเตอร์ ในฐานะ “บริษัทที่ให้บริการเทคโนโลยีอัจฉริยะระดับโลก” (Global Intelligent Technology Company) ไม่เพียงจะมุ่งมั่นขับเคลื่อนเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย แต่ยังให้ความสำคัญกับการถ่ายถอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ในทุกมิติ พร้อมร่วมมือกับพันธมิตรภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อมอบความรู้ให้กับหลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อพัฒนาระบบนิเวศของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานไฟฟ้าไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนตามแนวทางการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม
 
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เกรท วอลล์ มอเตอร์ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ : www.gwm.co.th, Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ Line Official : GWM Thailand

แท็กที่เกี่ยวข้อง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย gwm ข่าวเกรท วอลล์ มอเตอร์ Leadership in Disruptive Era

ข่าวและอีเว้นท์รถยนต์ล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)