ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รถกระบะติดแก๊ส..ทำประกันภัยรถยนต์ได้หรือไม่?

icon 7 ก.ย. 66 icon 31,939
รถกระบะติดแก๊ส..ทำประกันภัยรถยนต์ได้หรือไม่?
สำหรับท่านที่เป็นเจ้าของรถกระบะที่ได้ติดตั้งพลังงานทางเลือกอย่าง LPG และ NGV เพื่อประหยัดค่าน้ำมันที่ต้องใช้ในแต่ละเดือน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันค่อนข้างสูงแบบนี้ จึงหันไปหาพลังงานทางเลือกเพื่อลดค่าใช้จ่าย ทีนี้หลังจากทำการติดตั้งแล้วก็สงสัยกันว่า รถกระบะติดแก๊ส..ทำประกันภัยรถยนต์ได้หรือไม่? เรื่องนี้จะเป็นยังไงกันแน่นะ 
ขอบคุณภาพ จาก carryboyngv.com

ก่อนอื่นขอนำข้อมูลความรู้มาให้ศึกษากันก่อนว่า LPG และ NGV คืออะไร?
  • LPG นั้นเป็นชื่อเรียกที่ย่อมาจาก Liquefied Petroleum Gas หรือก็คือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ ก๊าซหุงต้มที่ใช้กันตามครัวเรือนนี่ละ เป็นก๊าซที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ และจากการผลิตก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่สามารถกลายเป็นของเหลวในแรงดันหรืออุณหภูมิที่ต่ำ ทำให้สามารถเก็บรักษาและขนส่งได้ง่าย แต่เมื่อปล่อยให้กลับสู่สภาวะแก๊ส จะขยายตัวและสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ 
  • NGV เป็นชื่อเรียกที่ย่อมาจาก Natural Gas for Vehicles แปลตรงตัวเป็นภาษาไทยว่า ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะ โดยจะเป็นเชื้อเพลิงที่นำก๊าซธรรมชาติมาผ่านการกระบวนการเปลี่ยนให้เป็นก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG: Liquefied Natural Gas) หรือก๊าซธรรมชาติแบบอัดแรงดันสูง (CNG: Compressed Natural Gas) เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ และยานพาหนะอื่น ๆ ต่อไป 
ด้านการนำ LPG และ NGV มาใช้กับรถกระบะนั้นก็มี ข้อดี-ข้อเสีย ดังนี้ 
ข้อดี 
  1. ค่าใช้จ่ายถูกลง : ราคาของพลังงานทางเลือกจะมีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมัน ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าเชื้อเพลิงได้(ระยะยาว)
  2. มลพิษต่ำ : พลังงานทางเลือกเหล่านี้นั้นมีการปล่อยมลพิษต่ำ เป็นเชื้อเพลิงที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าน้ำมันเบนซินและดีเซล
  3. ปลอดภัย : ถ้าได้รับการติดตั้งที่ถูกต้องและมีมาตีฐาน เพราะพลังงานทางเลือกนั้นจะไม่มีสารประกอบที่เป็นพิษและเมื่อรั่วซึมจะแตกต่างจากน้ำมันดิบโดยจะขึ้นของเหลวแล้วระเหยไปในอากาศ
ข้อเสีย
  1. ระบบติดตั้งและการบำรุงรักษาต้องดูแลต่อเนื่อง : การติดตั้งเชื้อเพลิงทางเลือกในรถกระบะอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงและจะต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
  2. ประสิทธิภาพการเผาผลาญ : รถกระบะที่ใช้พลังงานทางเลือกอาจจะมีประสิทธิภาพการเผาผลาญลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการใช้เบนซินหรือดีเซล
  3. ขนาดและน้ำหนักของถังมีมาก : ถังเก็บเชื้อเพลิงทางเลือกมักจะมีขนาดใหญ่และหนัก ทำให้ยึดพื้นที่ภายในรถและเพิ่มน้ำหนักรถ
  4. จุดจำหน่ายและการบริการ : จุดเติมเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับรถยนต์ จะมีน้อยกว่าสถานีบริการน้ำมัน ทำอาจจะต้องวางเล็กน้อยในการเดินทาง 
  5. ระยะทาง : ระยะทางที่รถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก  สามารถวิ่งได้อาจจะต่างจากรถที่ใช้เบนซินหรือดีเซล ขึ้นอยู่กับขนาดของถังก๊าซธรรมชาติและความเข้มข้นของก๊าซ.
ฉะนั้นการตัดสินใจที่จะเลือกรถกระบะที่ติดตั้งพลังงานทางเลือกไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ NGV นั้นควรพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียก่อนการตัดสินใจ
ขอบคุณภาพ จาก strayong.com

แล้วกับคำถามที่ว่า รถกระบะติดแก๊ส..ทำประกันภัยรถยนต์ได้หรือไม่? ก็ต้องตอบว่าได้แต่ต้องทำประกันกับบริษัทที่สามารถคุ้มครองรถกระบะที่ติดตั้งพลังงานทางเลือกได้ โดยจะต้องเน้นไปที่เรื่องเหตุไฟไหม้ เนื่องจากรถประเภทนี้มีความเสี่ยงมากกว่ารถกระบะที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน โดยประกันรถยนต์ที่มีความคุ้มครองในกรณีเกิดไฟไหม้ ก็จะมี ประกันรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 2, ชั้น 2+ โดยจะแตกต่างกันเล็กน้อย คือ 
  • ประกันรถยนต์ชั้น 1 จะคุ้มครองครอบคลุมทุกรณี 
  • ส่วนประกันรถยนต์ชั้น 2 จะไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถ แต่ทั้ง 3 ประเภทนี้ยังให้ความคุ้มครองคู่กรณี ค่ารักษาพยาบาลและอุบัติเหตุส่วนบุคคลของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รวมไปถึงเงินประกันตัวผู้ขับขี่อีกด้วย
  • ประกันรถยนต์ชั้น 2+ จะซ่อมรถคันที่เอาประกันเฉพาะมีคู่กรณีเท่านั้น รวมไปถึงสามารถส่งรถซ่อมห้างได้ 
สำหรับรถกระบะที่ติดตั้งระบบเชื้อเพลิงทางเลือกก็ควรหมั่นตรวจตราอุปกรณ์และถังให้มีสภาพดีอยู่เสมอ โดยสามารถตรวจเช็คด้วยตัวเองง่ายๆ เช่น มีกลิ่นแก๊สรั่วออกมาหรือไม่, ตรวจเช็คตัวกล่อง ECU ที่ควบคุมระบบการจ่ายเชื้อเพลิงตามระยะ, ตรวจเช็คพร้อมกับตั้งวาล์วใหม่, เปลี่ยนตัวกรองแก๊สเมื่อถึงระยะ, ตรวจเช็คหัวฉีดแก๊ส, เปลี่ยนถังใหม่เมื่อติดตั้งครบ 10 ปี และ ตรวจเช็คสายยางที่เชื่อมต่อกับระบบแก๊ส 
ขอบคุณภาพ จาก carryboyngv.com

แต่ก็ไม่ใช่ว่ารถกระบะที่ติดตั้งพลังงานทางเลือกทุกคันที่จะสามารถทำประกันภัยรถยนต์ได้ก็เพราะรถที่ติดตั้งพลังงานทางเลือกอย่าง LPG และ NGV นั้นมีความเสี่ยงสูงกว่ารถยนต์กระบะทั่วไป ถ้าเข้าเงื่อนไขต่างๆ ตามนี้ก็อาจเป็นเหตุให้บริษัทประกันจะไม่ให้ความคุ้มครอง
  • ติดตั้งถังและระบบที่ไม่มีคุณภาพ : ก็คือติดตั้งโดยร้านที่ไม่ได้รับการรองรับ กรือไม่มีใบรองรับจากวิศวกร หรือใช้ถังบรรจุก๊าซที่ไม่มีคุณภาพ, ไม่ได้มาตรฐาน มอก. นั่นเเอง
  • ไม่มีการแจ้งบริษัทประกันหลังจากติดตั้งพลังงานทางเลือก : หลายท่านกลัวค่าเบี้ยต่อปีจะเพิ่มเลยไม่แจ้ง ถ้าท่านเลือกซื้อรถที่มีการติดตั้งเชื้อเพลิงทดแทนมาจากโรงงานก็วางใจได้ แต่ถ้าท่านนำรถไปดัดแปลงเพื่อติดตั้งระบบพลังงานทางเลือกเสร็จแล้วไม่ได้ทำการแจ้งไปยังบริษัทประกันภัยรถยนต์ เมื่อเกิดเหตุขึ้นก็อาจจะถูกปฎิเสธความคุ้มครองได้นั่นเอง
  • ไม่ทำการจดแจ้งกับกรมขนส่งทางบก : หลังจากนำรถกระบะไปรถติดตั้งพลังงานทางเลือกแล้ว แต่ไม่ทำการจดแจ้ง และไม่ทำการตรวจสภาพตามระยะที่กำหนด ทางบริษัทประกันรถยนต์ก็จะปฎิเสธความคุ้มครองเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ยังมีกรณีต่างๆ ที่ทางบริษัทประกันรถยนต์จะไม่ให้ความคุ้มครอง ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ ในแต่ละกรมธรรม์ โดยผู้ขับขี่จะต้องสอบถามไปยังบริษัทประกันรถยนต์ เกี่ยวกับตัวกรมธรรรม์นั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
แท็กที่เกี่ยวข้อง insurance ประกันภัยรถกระบะ รถกระบะติดแก๊ส
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)