ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าน่ากลัวไหม?

icon 18 ส.ค. 66 icon 3,858
ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าน่ากลัวไหม?
   รถยนต์ไฟฟ้านับเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการความประหยัด ดูแลง่าย ไม่จุกจิก อะไหล่สิ้นเปลืองน้อย และให้สมรรถนะที่ดีเมื่อเทียบกับรถในระดับเดียวกัน แต่หลายคนยังกังวลว่า จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าตอนนี้ พร้อมแค่ไหน และดีไหม จะซ่อมแบตฯ แพงไหม และอะไหล่รอนานแค่ไหน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของราคาประกันภัยแพงแค่ไหน และจะประหยัดได้จริงเปล่า เอ้า...ตามมาครับ
 

ต้องรู้จักเปิดใจและเข้าธรรมชาติของรถยนต์ไฟฟ้าก่อน

   สิ่งแรกต้องเปิดใจ ศึกษาหาข้อมูล และทำเข้ารู้จักว่ารถยนต์ไฟฟ้าทำงานอย่างไร และมีชิ้นส่วนต่าง ๆ ประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น มีโครงรถตัวถัง แบตเตอรี่ ชุดมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน ชุดอินเวอร์เตอร์ ระบบกล่องคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานต่าง ๆ และระบบซอฟต์แวร์ 
 
   รถยนต์ไฟฟ้าเปรียบได้กับระบบคอมพิวเตอร์ เพียงแค่ถูกวางอยู่ในตัวรถ ใส่ระบบขับเคลื่อน และติดตั้งเบาะ พวงมาลัย ความบันเทิงและสะดวกสบายต่าง ๆ เข้าไป หัวใจหลักคือ แบตเตอรี่นี่แหละที่จะเป็นชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุด และแพงที่สุด เพราะต้นทุนการผลิตที่สูง วัสดุดิบที่มีจำกัดในไม่กี่ประเทศ หายาก และกระบวนการผลิตยังซับซ้อนมาก เฉพาะแค่แบตเตอร์รี่ก็มีราคาที่สูงมากตามไปด้วยครับ 
 
   สุดท้ายรถยต์ไฟฟ้าก็เป็นเพียง "อีก 1 ทางเลือก" ในการใช้งานรถยนต์เท่านั้น เหมือนกับรถยนต์ไฮบริดยุคแรก ๆ ที่มีแต่คนไม่สนใจ คิดว่าน่ากลัว ซ่อมยาก แพง แต่ปัจจุบันรถยนต์ไฮบริดหรือว่าปลั๊กอินไฮบริดก็กลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น ผลจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นไม่หยุดแถมยังได้สมรรถนะที่ดีกว่าและประหยัดกว่า 

ได้อะไรจากการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

ไม่ง้อน้ำมัน
   ใครที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า สิ่งที่คาดหวังคือ "การไม่ต้องเติมน้ำมัน" เพราะเบื่อกับราคาที่ดีดไปมาทุก ๆ วัน และสูงต่อเนื่อง ดังนั้น ส่วนหนึ่งจึงหันไปมองรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น และอีกส่วนคือ ต้องการความประหยัดเงินในประเป๋า แถมยังได้สมรรถนะที่ดีกว่ารถในระดับ อีโคคาร์บางรุ่น และยิ่งค่ายจากจีนก็ยังได้เทคโนโลยีมากมายเทียบเท่ากับรถราคาระดับ 2 ล้าน แต่จ่ายเงินซื้อแค่ไม่ถึงล้านบาท จากการที่จ่ายเงินเกิน 1.5 ล้านบาทขึ้นไปถึงจะได้เทคโนโลยีและสมรรถนะการขับขี่ที่ดี เหลือเพียงแค่หลักแสนบาทก็ซื้อได้ และสามารถตอดรถในรถได้โดยไม่ต้องดับเครื่องยนต์อีกด้วย 
 
 
บำรุงรักษาต่ำ
   รถยนต์ไฟฟ้าไม่มีระบบเครื่องยนต์และชุดเกียร์อัตราทด ใช้เพียงเกียร์แบบ 1 สปีดและอัตราทดไปที่เฟือยท้ายเท่านั้น จึงไม่มีการบำรุงรักษาในส่วนนี้เลย ทั้งระบบท่อน้ำมัน หัวฉีด ถังน้ำมัน ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง หัวเทียน คอลล์จุดระเบิด สายพายหน้าเครื่อง สายพานหรือโซ่ขับระบบแคมชาร์ฟ ลูกสูบ แหวน หม้อกรองอากาศ ฯลฯ อีกเพียบ!.. เหลือเพียงไม่กี่ระบบคือ ชุดระบายความร้อนส่วนมากเป็นหม้อน้ำเช่นกัน ระบบคอมแอร์ไฟฟ้า ระบบพวงมาลัยไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ ชุดควบคุมการทำงานทั้งระบบ นอกจากนี้ก็มีแค่การบำรุงรักษาพวก ยาง ผ้าเบรก ใส้กรองแอร์ เป้นต้น ซึ่งการเข้ารับบริการเช็คระยะทางนั้นเฉลี่ยเพียงรอบละไม่เกิน 1,500 - 2,500 บาท (ขึ้นกับแต่ละรุ่นและระยะทางตามกำหนด) เมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาปในระดับซิตี้คาร์จะอยู่ราว ๆ 2,000 - 3,000 บาทต่อครั้ง
 
 
สมรรถนะดีกว่า
   รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ย่อมไม่มีอาการรอรอบ ไม่มีเสียง นุ่มนวล และเร่งทันใจ จึงนับเป็นจุดเด่นมากที่สุดของการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ในบางรุ่นก็มีระบบ "คันเร่งเดียว" คือการใช้งานแบบ One-Paddle ควบคุมทั้งการเร่งออกตัว การชะลอความเร็ว โดยแทบจะไม่ต้องยกเท้ามาเหยียบเบรกเลย ยิ่งรถติด ๆ ยิ่งสบาย 
 
 
   กำลังของมอเตอร์ไฟฟ้านั้นบางรุ่นก็มีทั้งแรงม้าแรงบิดที่เยอะมากมาย บางรุ่นก็มีแรงม้าน้อย แต่ว่าแรงบิดนั้นเยอะ เพราะว่ามอเตอร์ไฟฟ้าสามารถสร้างแรงดึงได้ง่าย มีแรงในการฉุดลากหรือหมุนได้เร็วจากการใช้พลังงานแม่เหล็กและไฟฟ้า จึงทำให้สร้างแรงบิดได้มหาศาล เช่น รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นหนึ่งให้กำลังสูงสุดเพียง 95 แรงม้า แต่แรงบิด 180 นิวตันเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับรถอีโคาร์หรือซิตี้คาร์ที่อาจมีแรงม้า 100 กว่าตัว แต่แรงบิดระดับ 170 นิวตันเมตร แต่ต้องพึ่งพาเทอร์โบ และ อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีอาการรอรอบ รอเทอร์โบบูสต์ รอเปลี่ยนอัตราทดระบบเกียร์ แม้บางรุ่นจะเป็น CVT ก็ตาม ก็ยังต้องใช้เวลาในการทำงานทั้งระบบ จะเห็นว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแค่เพียงกดคันเร่งมอเตอร์ก็ปั่นท้นที ไม่ต้องรออะไรเลย  
 
ยกตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้าอีกรุ่นที่มอเตอร์ไฟฟ้าสร้างกำลังสูงสุด 177 แรงม้า กับแรงบิด 260 นิวตันเมตรในราคาเพียง 9 แสน บาท ได้สมรรถนะที่เทียบเท่ากับรถสันดาปเครื่องเทอร์โบแต่ราคาแตะเกิอบล้านและใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงอีกด้วย ซึ่งถ้าต้องการรถสันดาปที่ประหยัดน้ำมันขึ้นไปอีกก็ต้องมีงหนึ่งล้านกว่าบาทขึ้่นไป จึงจะได้สมรรถนะความแรงขับสนุกที่เทียบเท่ารถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น 

ประกันแบตฯ หมดจ่ายแพง?

   แต่ยังไม่นับเรื่อง "หมดรับประกันระบบแบตเตอรี่" รถยนต์ไฟฟ้าในบางค่ายอาจจะรับประกันถึง 8 - 10 ปี เมื่อใช้ไปนานจนหมดประกันจะต้องทำอย่างไร? มีอยู่หลายทางเลือกครับ ง่ายที่สุดคือ ใช้จนเบื่อหรืออยากจะเปลี่ยนคันใหม่ก็ขายต่อในช่วง 3 - 5 ปี ยังมีรับประแบตฯ เหลืออยู่ หรือใช้จนใกล้ ๆ จะหมดระยะประกันก็ขอเข้าไปแจ้งเช็คประสิทธิภาพแบตฯ และอาจเคลมลูกใหม่ไปเลย ก็ใช้งานได้อีกยาว ๆ 
 

แบตเตอรี่ซ่อมได้ไหม?

   โดยทั่วไปแล้วอายุหรือคุณภาพแบตฯ จะใช้งานได้เกิน 8 - 10 ปี แม้ประสิทธิภาพจะลดลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ใช้งานได้ปกติครับ เช่น รถยนต์นิสสัน ลีฟ เจนฯ แรก ๆ ในญี่ปุ่น ถ้านึกไม่ออกรุ่นนี้การไฟฟ้าในไทยก็นำมาทดลองใช้อยู่หลายปีเลย หรืออีกรุ่นที่ผ่านมาหลายปีก็ยังเห็นวิ่งบนถนนนั่นคือ โตโยต้า พรีอุส คัมรี่ ไฮบริด หรือแม้แต่อัลฟาดไฮบริด ก็สามารถซ่อมแบตฯ ได้ แต่นั่นมันรถญี่ปุ่นอะไหล่เยอะกว่านะ!

ประกันภัยแพง?

   การทำประกันภัยสำหรับรถยนต์ไฟฟ้านั้นไม่แพงอย่างที่คิด ขึ้นกับ ยี่ห้อ รุ่น และราคา โดยสำหรับรถใหม่ป้ายแดงเริ่มต้นตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป เช่นเดียวกับรถยนต์สันดาปทั่วไป จ่ายตามจริง และยังต่อภาษีประจำปีที่ถูกกว่า แม้จะมีสมรรถนะแรงขนาดไหนก็ยังถือว่าภาษีค่อปีต่ำกว่ามาก ๆ ครับ

ระยะทางวิ่งจะพอใช้งานหรือไม่

   อย่างไรก็ตามรถยนต์ไฟฟ้ามีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง แม้ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าราคา 5 แสนบาท ก็วิ่งได้เกือบ 400 กม. แล้วก็ตาม แต่เมื่อขับขี่ในสภาพการจราจรจริงอาจไม่ถึงตามสเปค เกิดจากหลายปัจจัยได้แก่ ปริมาณรถที่หนาแน่น รถติดหนัก หรือลักษณะการขับขี่ส่วนตัว การใช้คันเร่งหนักเบา เป็นต้น ดังนั้นจะต้องกำหนดการใช้งานในแต่ละวันแบบคร่าว ๆ ได้ว่าจะวิ่งวันละกี่กม. 
 
 
   หากขับขี่ไปทำงานทุกวันมีออกนอกเส้นทางบ้างเฉลี่ยไม่เกิน 120 กม. ต่อวัน ใช้ได้สบาย ๆ ครับ ไม่ต้องกังวล เพราะเมื่อกลับถึงบ้านก็เสียบ Wall charger ทิ้งไว้ ตื่นเช้ามาก็ดึงออกและไปต่อได้เลย แต่ถ้าเกิดบางวันจ้องวิ่งเกินกว่านั้น ก้ยังมีสถานีบริการชาร์จไฟฟ้าที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้นกว่าเมื่อ 3 ปีก่อน เพียงแค่ต้องศึกษาเส้นทางและติดตั้งแอฟฯ ผู้ให้บริการชาร์จไฟฟ้าต่าง ๆ อย่างน้อย 2 - 3 รายจะได้ชัวร์ ๆ ครับ ตัวอย่างเช่น หากบ้านอยู่ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต มาทำงานที่เซ็นทรัลพระราม 2 ไปกลับประมาณ 110 กม. เผื่ออ้อม ๆ เอาไว้แล้ว ก็ยังเพียงพอในแต่ละวันเลยครับ และรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ ส่วนมากก็วิ่งได้เกิน 200 กม. อยู่แล้วครับ นอกจากนี้ตลอดเส้นทางก็ยังมีจุดชาร์จไฟฟ้าอีกเพียบ  
 

ไม่ทนทานสู้รถน้ำมันไม่ได้!

ในสมัยก่อนยอมรับว่ารถยนต์สันดาปมีชิ้นส่วนและอะไหล่หลายอย่างที่ทนทาน บางอย่างอายุการใช้งานเกิน 10 ปี แต่ ณ ปัจจุบันก็ต้องเข้าใจว่า ภาวะเศษรฐกินและต้นทุนการผลิตเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจจะเป็นส่วนทำให้ ชิ้นส่วนยานยนต์บางอย่างนั้น อายุสั้นลง อาจเพราะเทคโนโลยีที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนอื่น ๆ ให้อยู่ในงบประมาณ หรือว่าการพัฒนาให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ ช่วงล่างรองรับสมรรถนะที่ดีขึ้น ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนเร็วขึ้น เพื่อคงประสิทธิภาพของรถยนต์ให้ยังขับดีเหมือนเดิม รวมถึงสภาพอากสศ สภาพถนน การจราจร อูณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอีกมากมาย ย่อมมีผลทำให้อายุการใช้งานสั้นลง และยิ่งชิ้นส่วนที่มีวิศวกรรมที่สูง ย่อมมีต้นทุนสูงตาม จึงทำให้การดูแลบำรุงรักษาย่อมสูงเป็นเงาตามตัว จึงทำให้ความทนทานในแงการใช้งาน "ไม่หนี" หรือ "แตกต่าง" กันมากนักจึงเป็นนัยสำคัญครับ  
 
 

ราคาขายต่อร่วง?

   คำว่า รถ = ลด แค่ขับออกจากโชว์รูมวินาทีแรกราคารถคันนั้นจะหายไปอย่างน้อย ๆ ก็ 10% ไม่เชื่อคุณลองถอยออกโชว์รูมปุ๊บให้พ่อค้ามีตีราคาดูสิ! นี่คือเรื่องจริงครับ ยกเว้นคุณจะซื้อรถยนต์แบบแรร์ไอเทม เช่น รถสปอร์ตหรือซูเปอร์คาร์บางรุ่นที่มีน้อย ผลิตน้อย จำกัดจำนวน คนแย่งกันซื้อ หรือว่ารถเก่าคลาสสิก กลับมาที่รถยนต์ไฟฟ้า จากการสำรวจตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามทือสองแล้ว บางรุ่นใช้งานมา 1 - 2 ปี เลขกม. ขยับไปหลัก 1 - 3 หมื่นกม. ราคาก็ตกลงไปไม่ต่างจากรถยนต์สันดาปทั่วไปมากนัก เช่น รถยนต์สันดาปยอดฮิตมากรุ่นหนึ่งตัวท็อปป้ายแดงปี 2021 ราคาประมาณ 1.09 ล้านบาท ปัจจุบันผ่านไป 2 ปี วิ่งไป 30,xxx กม. ราคาอยู่ที่ 875,000 บาท* ส่วนรถยนต์ไฟฟ้ายอดฮิตอีกรุ่นป้ายแดงปี 2023 (ยังใหม่มาก) ราคา 1.1 ล้านบาท ผ่านไปไม่กี่เดือนวิ่งไป 4,xxx กม. (ถือว่าวิ่งน้อยมาก) ราคามือสองอยู่ที่ 1.099 ล้านบาท* หรือว่าเอารุ่นฮิตน่ารัก ๆ อีกรุ่นตัวท็อปป้ายแดงปี 2021 ราคา 9 แสนกลาง ๆ ผ่านไป 2 ปี วิ่งไป 8,xxx กม. ราคาอยู่ที่ 83x,xxx บาท* (ขึ้นกับยี่ห้อระยะทางใช้งานและรุ่น) แสดงว่าจะเป้นรถยนต์ไฟฟ้าหรือสันดาปนั้น ขึ้นกับรุ่น ปี ระยะทางที่ใช้งานและสภาพรถมากกว่าเรื่องของการเป็นรถยนต์ไฟฟ้าครับ  
 
 
ทั้งนี่ ข้อแตกต่างคือ ใครจะมาซื้อต่อหรือจะมีโอกาสขายต่อง่ายไหม นั่นคืออีกเรื่องหนึ่งครับ ซึ่งต้องบอกว่าในปัจจุบันมีหลายคนรอ "ช้อนซื้อ" รถยนต์ไฟฟ้ามือสองมากมาย เพราะ ราคาต่ำลงกว่าป้ายแดง และอาจมีเงินดาวน์ไม่พอที่จะซื้อรถยนต์ใหม่ จึงเลือกรถมือสอง และยิ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ก็ยิ่งให้ความประหยัดค่าน้ำมันเอาไปผ่อนรถต่อเดือนได้แบบชิว ๆ เลย และตอนนี้ดอกเบี๊ยรถยนต์มือสองก็ไม่สูงจนน่ากล้วนัก ออกรถง่าย ผ่านง่าย สุดทุกคัน ดันทุกเคส ขอแค่มีเงินพร้อมผ่อนไม่เดือดร้อน
 

การเตรียมตัวมีรถยนต์ไฟฟ้า

   เมื่อเปิดใจและศึกษาข้อมูลอย่างครบหรือเกือบครบทุกด้านของรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว มาถึงขั้นตอนที่ยุ่งยากอีกนิด นั่นคือ เรื่องของการขอใช้ไฟฟ้าเพื่อติดตั้ง Wall charger ที่บ้าน ตรงมีจะมีค่าใช้จ่ายแฝงค่อนข้าง "แอบจุก" เบา ๆ แต่ก็อยู่ในจุดที่รับได้แลกกับการที่เหมือนมี ปั้มน้ำมันอยู่ที่บ้าน! ขั้นตอนมีดังนี้
 
1.ตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่บ้านว่าสายไฟระบบสวิตช์เบรกเกอร์เก่าหมดสภาพหรือไม่
2.ตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้าว่าใช้ขนาดใด ต้องเป็นขนาด 30 แอมป์ขึ้นไป หรือจะขอเป็นมิตเตอร์แบบ TUO ก็ได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่) 
3.กรณีระบบไฟฟ้าในบ้านใช้งานได้ปกติ ให้ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนใช้มิเตอร์นาดกำลังไฟใหญ่ขึ้น/มิเตอร์ TUO ตามความสะดวก 
3.1 หากใช้ไฟฟ้าตลอดทั้งวัน ไม่แนะนำให้ใช้มิเตอร์แบบ TOU เพราะช่วงเวลากลางวัน (พิมพ์แบบเข้าใจง่าย ๆ) จะมี่าไฟฟ้าที่ 5.7 บาทกว่าต่อหน่วยขณะที่มิเตอร์ปกติเพียง 4.4 บาท
3.2 หากกลางวันไม่ใช้ไฟเยอะเน้นช่วลเย็นกลับบ้านและกลางคืน แนะนำใช้มิเตอร์ TOU เพราะค่าไฟฟ้าต่ำกว่าที่ 2.6 บาทต่อหน่วย รวมวันเสาร์-อาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติแบบ Non-stop ตลอดวันอีกด้วย
 
 
4.การยื่นขอเปลี่ยนมิเตอร์ หากในเขตกทม.นครหลวง MEA ต้องเปลี่ยนเท่านั้น ใช้ได้แค่มิเตอร์ 1 ลูกต่อ 1 บ้าน ไม่สามารถแยกมิเตอร์ได้ ค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 7,000 บาทขึ้นไป ขึ้นกับประเภทสายไฟและขนาดแอมป์ของมิเตอร์ ส่วนเขตต่างจังหวัดหรือภูมิภาค PEA สามารถขอมิเตอร์เพิ่มแยกเพื่อใช้สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะได้ ค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ขึ้นกับประเภทสายไฟและขนาดแอมป์ของมิเตอร์ 
โปรดสอบถามเพิ่มเติม MEA 1130 และ PEA 1129 
 
5.เตรียมเสียเงินเพิ่มในการจ้างช่าง "เดินวงจรที่ 2" ก่อนและหลังหรือพร้อม ๆ กับช่วงติดตั้ง Wall charger จากค่ายรถยนต์ไฟฟ้านั้น ๆ กรณีที่แถมติดตั้งฟรีก็จะติดตั้งชุดแท่นชาร์จในจุดที่ปลอดภัย ใช้งานได้าสะดวก ซึ่งจะเป็นการติดแค่ แท่นชาร์จ, สายไฟต่าง ๆ จากตู้เมนสวิตช์, สายดิน, ปลั๊กไฟ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตามตกลง เท่านั้น ยัง "ไม่เกี่ยวกับการลากสายไฟจาก มิเตอร์นอกบ้านเข้าตู้เมนสวิตช์ระบบชาร์จไฟฟ้า" หรือวงจรที่ 2 ไอ้เจ้าวงจรที่ 2 นี่เองจะต้องจ้างช่างชำนาญงานเพิ่มอีกต่างหาก เพื่อมาเดินสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า ชุดลูกถ้วย, สายไฟรองรับขนาดไฟ ฯลฯ จากตู้เมนในบ้านออกมารอที่มิเตอร์ไฟฟ้า จึงเป็นหน้าที่ของการไฟฟ้าอีกต่อหนึ่ง 
 
   โดยปกติการไฟฟ้ามีหน้าที่เพียงเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น และก่อนเปลี่ยนจะต้องจรวจสอบระบบไฟฟ้าที่เดินสายไฟ ระบบตู้สวิตช์เบรกเกอร์ต่าง ๆ ในบริเวณติดตั้ง Wall charger ตามมาตรฐานก่อน จึงจะเปลี่ยนหรือติดตั้งมอเตอร์ใหม่และ "จั้ม" สายไฟเข้ากับมิเตอร์ให้ เรียกว่า "มาเพื่อปิดจ็อบ" ขั้นตอนตรงนี้เราจะแจ้งการไฟฟ้าก่อนก็ได้หรือว่าจะรับรถแล้วให้ช่างติดตั้ง Wall charger และเดินวงจรที่ 2 ก่อนก็ได้ แต่สุดท้ายการไฟฟ้าจะตรวจก่อนเปลียนมิเตอร์ไฟฟ้าให้อยู่ดีครับ
 

เลือกให้เหมาะใช้คุ้มค่า

   รถยนต์ไฟฟ้าเกิดมาเพื่อรองรับการใช้งานแบบดุดัน หมายถึงใช้เยอะ ๆ บ่อย ๆ เป็นประจำ จึงจะคุ้มค่าคุ้มทุนมากที่สุด โดยให้ตัดหรือนึกถึงตอนขายต่อให้น้อยที่สุด เน้นการใช้งานให้มากที่สุด นั่นคือ "กำไรใช้" หากเข้าใจและยอมรับในเรื่องอื่น ๆ ของรถยนต์ไฟฟ้าได้แล้ว คุณก็จะไม่ขาดทุนครับ!
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถยนต์ไฟฟ้า ev car
CAR GURU
เขียนโดย สินธนุ จำปีศรี CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)