ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

5 เทคนิคง่ายสำหรับมือใหม่ขับขึ้น-ลงเขา

icon 19 ม.ค. 65 icon 3,762
5 เทคนิคง่ายสำหรับมือใหม่ขับขึ้น-ลงเขา
หลายคนชื่นชอบการท่องเที่ยวในแบบธรรมชาติ ป่าเขา ดอย เพื่อสัมผัสอากาศเย็นและวิวสวย ๆ ของยอดดอย หรือจะเป็นสายตั้งแคมป์ปิ้ง โดยสถานที่ท่องเที่ยวบนเขาหรือดอยสูง ๆ หลาย ๆ แห่งเป็นสิ่งที่นักเดินทางอยากไปพิชิตให้ได้ การเตรียมตัวทั้งคนและรถสำคัญมาก แต่ถ้าคนกับรถพร้อมแล้ว จำเป็นไหมต้องมีทักษะสูง ๆ ในการขับขี่ขึ้น-ลงเขาสูง ๆ ชัน ซึ่งความจริงแล้วจำเป็นแต่ถ้าจะขับได้อย่างชำนาญและเป็นเร็วขึ้นก็ต้องขับผ่านเส้นทางลักษณะนั้นบ่อย ๆ ผมมีเทคนิคง่าย ๆ ในการขับขึ้น-ลงเขาหรือทางชันมาก ๆ สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านทักษะขับขี่สูง ๆ มาก่อนหรือได้ขับมาบ้างแต่อาจจะยังไม่รู้จะขับอย่างไรให้ปลอดภัยฝากกันครับ
1.ปฏิบัติตามป้ายเตือน!
ก่อนที่จะขับขึ้นเขาหรือทางชันสิ่งหนึ่งที่ต้องสังเกตุคือ ป้ายเตือนต่าง ๆ ที่จะบอกทั้งความชัน ลักษณะเส้นทาง ความเร็วที่ต้องใช้และการใช้ตำแหน่งเกียร์ ผู้ขับขี่จะทราบถึงลักษณะของโค้ง การหักเลี้ยว ความชันและความเร็ว นั่นจะช่วยให้ขับผ่านไปได้อย่างปลอดภัยที่สุด เพราะบางเส้นทางเป็นมุมอับสายตามองไม่เห็นปลายโค้งป้ายเตือนบอกทางจึงสำคัญที่สุดเลยครับ
2.มองโค้งให้กว้างเว้นห่างเข้าไว้
ก่อนจะถึงทางโค้งให้มองกว้าง ๆ และเน้นมองที่ปลายโค้งให้ได้มากที่สุด เพื่อดูว่ามีรถขับสวนทางมาหรือไม่หรือมีรถคันที่ขับอยู่ด้านหน้าเรานั้นเป็นรถบรรทุกหรือ หากเป็นรถขนาดใหญ่ให้ลดความเร็วและเว้นระยะห่างให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อรถที่ขับตามมา หากรถคันหน้าขับช้ามาก ๆ ให้เปิดไฟฉุกเฉินเอาไว้สักพักเพื่อเตือนรถคันด้านหลังให้ระวังครับ ที่สำคัญห้ามดันรถคันหน้าเด็ดขาด เว้นแต่จะแซงในระยะปลอดภัย เพราะการไปจี้ท้ายอาจเกิดอุบัติเหตุได้นะครับ   
3.ขับขึ้นเขาเน้นเกียร์ต่ำ
เมื่อใกล้ถึงทางขึ้นที่มีความชันมาก ๆ สามารถทำได้ 2 แบบคือ ถ้าเป็นทางตรงหรือโค้งไม่มากนักให้เติมคันเร่งหรือเร่งส่งมาจากไกล ๆ เพื่อให้รถมีแรงเฉื่อย ขับขึ้นไปได้โดยไม่เสียกำลัง แต่ถ้าเป็นทางโค้งที่อันตราย ให้ลดความเร็วถ้าเกียร์ธรรมดาให้ใช้เกียร์ต่ำที่มีรอบเครื่องยนต์อยู่ที่ประมาณ 1,500 - 2,000 รอบต่อนาที กรณีเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบจะมีกำลังเพียงพอ ส่วนรถที่ไม่มีเทอร์โบหรือเครื่องเบนซินไม่ควรต่ำกว่า 2,000 รอบต่อนาที เพื่อให้มีกำลังในการเร่งขึ้นได้ 
และในรถเกียร์อัตโนมัติก็คล้ายกันคือ ลดความเร็วหรือเปลี่ยนมาใช้ตำแหน่ง L ถ้าความต่ำมาก ๆ หรือรุ่นที่มีฟังก์ชั่นเปลี่ยนได้แบบแมนนวล +/- ให้ใช้ตำแหน่งเกียร์ต่ำลงมาและดูที่รอบเครื่องเช่นกันครับไม่ควรต่ำกว่า 1,500 หรือ 2,000 รอบต่อนาที เพื่อให้มีกำลังไต่ความชัน
4.ลงเขาใช้เกียร์ต่ำห้ามเบรกอย่างเดียว
เมื่อถึงทางลงเขาหากมีความชันมาก ๆ ไม่ว่าจะตรงยาวหรือคดเคี้ยวไปมา ก็ควรลดความเร็วลงและใช้เกียร์ต่ำลงจากความเดิมที่วิ่งอยู่ หรือให้สังเหตุรอบเครื่องยนต์และความหน่วงของเครื่องยนต์ในเกียร์นั้น ๆ ให้สามารถชะลอความเร็วลงทางชันได้อย่างปลอดภัย หากเป็นทางลงที่ไม่ชันมากเกินไปยังพอใช้เบรกช่วยได้สังเกตุว่ารอบเครื่องจะอยู่ราว ๆ ไม่เกิน 4,000 รอบต่อนาที แต่ถ้าลงทางชันมาก ๆ ใช้เบรกอย่างเดียวอาจจะไม่อยู่ต้องใช้ Enging Brake นี่แหละช่วยหน่วงเอาไว้อีกแรง โดยรอบเครื่องยนต์จะอยู่ราว ๆ ไม่เกิน 3,500 - 4,500 รอบต่อนาทีในเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนเบนซินนั้นอาจจะสูงกว่าเล็กหน่อยไปที่ราว ๆ 5,500 รอบต่อนาที เพื่อให้มีความหน่วงมากช่วยลดความเร็วได้ดียิ่งขึ้นครับ และค่อยเปลี่ยนตำแหน่งตามความเร็วที่เพิ่มขึ้นในหากทางเริ่มชันน้อยลง แต่ถ้ายิ่งชันมากขึ้นก็ให้ค่อย ๆ แตะเบรกช่วยเป็นระยะโดมีการผ่อนบ้างหนักบ้าง เพื่อให้ระบบเบรกคลายความร้อนได้ทัน 
5.จอดพักอย่าหักโหม
เมื่อขับผ่านเส้นทางขึ้นลงเขาชันมาก ๆ เป็นเวลานานต่อเนื่องควรมีการแวะจอดพักรถสัก 10 - 15 นาทีหรือมากกว่านั้นเพื่อให้ทั้งระบบเบรกเช่น ผ้าเบรก น้ำมันเบรก จานเบรกได้พักและคลายความร้อน รวมถึงระบบคลัตช์ทั้งรถเกียร์ธรรมดาและอัตโนมัติ เพื่อลดความร้อนของระบบน้ำมันเกียร์ลง และที่สำคัญพักยืดเส้นสายคนขับและผู้โดยสารเพราะผู้โดยสารบางคนอาจมีอาการเมาโค้งได้นะครับ
สำหรับรถประบะหรือรถ SUV ขับเคลื่อน 4 ล้อรุ่นใหม่ ๆ มักจะติดตั้งระบบช่วยควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชันมากให้ ซึ่งบางรุ่นจะทำงานควบคู่กับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ และบางรุ่นก็สามารถกดปุ่มใช้งานได้ทันทีแม้จะอยู่ในโหมดขับเคลื่อนล้อหลังอยู่ ระบบนี้เหมาะกับการขับลงทางชันมาก ๆ และถนนผิวถนนเป็นดิน หิน หรือโคลนลื่น ๆ เพราะจะช่วยควบคุมให้ความเร็วต่ำ ผู้ขับเพียงแค่ควบคุมทิศทางพวงมาลัยเท่านั้น นับว่าสะดวกง่ายและปลอดภัยมาก ๆ  
ทั้งหมดนี้เป็นการแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่นาน ๆ ทีจะขับรถท่องเที่ยวบนดอย เทคนิคนี้สามารถนำไปปรับใช้ในการขับขึ้นลงทางลาดชันได้ไม่มากก็น้อยครับ และไม่ว่าจะขับจนชำนาญแล้วก็ตามสิ่งที่ต้องปฏิบัติเสมอไม่ว่าจะขับไปไหนคือ รักษากฏจราจรมีน้ำใจให้อภัยแบ่งปันและช่วยเหลือเพื่อนร่วมทาง เพราะทุกคนเป็นเพื่อนเดินทางที่อยากจะไปให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัยเหมือนกันครับ 
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลความรู้รถยนต์ 5 เทคนิคง่ายสำหรับมือใหม่ขับขึ้น-ลงเขา
CAR GURU
เขียนโดย สินธนุ จำปีศรี CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)