ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ขับรถหน้าฝนไม่กล้ว กลัวหน้า (ยาง) เสีย...

icon 20 ก.ค. 64 icon 1,570
ขับรถหน้าฝนไม่กล้ว กลัวหน้า (ยาง) เสีย...

ขับรถหน้าฝนไม่กล้ว กลัวหน้า (ยาง) เสีย...

"การขับรถหน้าฝน" หรือ "ขับรถเมื่อฝนตก" คนที่ใช้รถยนต์จำเป็นต้องรู้และระวังในการขับรถหน้าฝนเป็นปกติและนับเป็นพื้นฐานของความปลอดภัยในการขับรถอยู่แล้ว ข้อควรระวังต่าง ๆ ในการขับรถหน้าฝนอย่างเช่น ถนนลื่นขับช้า ไม่เปิดไฟฉุกเฉินเวลาฝนตกหนัก ไม่ขับเร็วลุยน้ำยางจะเหินน้ำรถเสียหลัก การเปลี่ยนใบปัดน้ำฝน เหล่านี้น่าจะมีความใส่ใจกันอยู่แล้ว 
ในทางปฎิบัตินับว่าเข้าใจ แต่อาจลืมในเรื่องของอุปกรณ์บางอย่างที่สำคัญมากที่สุดนั่นคือ "ยางรถยนต์" หรือการตรวจสอบสภาพยางว่ายังมีคุณสมบัติใช้งานได้ดีหรือไม่ 
ปกติแล้วยางรถยนต์มีอายุการใช้งานแบบเซฟฯ สุด ๆ ในลักษณะสภาพอากาศแบบประเทศไทยราว ๆ 2 - 3 ปี ไม่ควรเกินนี้ เพราะอากาศเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน พื้นถนนขณะโดยแดดนั้นมีอุณหภูมิสูงมาก บางทีก็เจอฝนตกหรือ "น้ำรอระบาย" อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว วนหลูบไปเรื่อย ๆ ตลอด ยังไม่ร่วมการจอดนาน การเบียด ปาดขอบถนน ตกหลุมดวงจันทร์ กระแทกฝาท่อระบายน้ำและแผ่นเหล็กปิดของการประปากับก่อสร้างรถไฟฟ้า ที่เป็นสิ่งคอยทำร้ายรถยนต์ทั้งช่วงล่าง ยาง และเงินในกระเป๋าที่ต้องควักมาจ่ายค่าซ่อม!
เจ้าของรถจึงควรเช็คสภาพยางในละเอียดก่อนออกจากบ้านทุกครั้งว่า ลมยางอ่อนไม่เท่ากันและยางแบนหรือไม่ก่อนขับรถออกไป หรือว่าอย่างน้อย ๆ เดินวนรอบก่อนขึ้นรถ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ก็ยังดีครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ควรจะดูควบคู่กันไปด้วยคือ วันเดือนปีผลิต สภาพดอกยาง ลักษณะการใช้งาน และระยะเวลาที่ใช้งานมาแล้ว มาดูวิธีการตรวจเช็คกันเลยครับ

วันเดือนปีผลิต


ก่อนอื่นเลยกลับไปเรื่องการเลือกยางสั้น ๆ กันก่อนครับ ยางรถยนต์ไม่ว่าจะผลิตปีใดขอให้เป็นยางใหม่เอาไว้ก่อน และให้นับอายุการใช้เมื่อยางแตะลงพื้นวันแรกตามการรับประกันของผู้ผลิตยางไปเลยครับ เช่น ตัวปีผลิตเลขที่ยางคือ 2420 ยางผลิตเมื่อสัปดาห์ที่ 24 ปี 2020 อายุ 1 ปี แต่เมื่อแตะลงพื้นครั้งแรกในนับเริ่มต้นใหม่ เพราะยางเก่าแต่ปีใหม่ ถ้ามีการจัดเก็บอย่างดีตามมาตรฐานผู้ผลิตแล้ว จะคงสภาพเอาไว้ได้ดี เนื้อยางนิ่มเล็บจิกแล้วจม ถือว่าใช้ได้ครับ และราคายังต่ำกว่ายางปีใหม่ ๆ ด้วยประหยัดเงินได้เยอะ และถ้าใครงบเยอะก็จัดยางปีล่าสุดไปเลยครับสบายใจหายห่วง

ส่วนการเลือกใช้ "ยางเปอร์เซ็นต์" หรือยางเกาใช้แล้วความจริงไม่แนะนำครับหากพอจ่ายไหวไปให้ที่ยางใหม่เลย แต่กรณีที่ไม่ไหวจริง ๆ ยางก็พังต้องเปลี่ยนงบก็มีจำกัดยางเปอร์เซ็นต์นับว่าพอใช้ได้ โดยมีข้อควรระวังคือ ปีผลิตต้องไม่ลึกมาก เช่น ปีที่ทำบทความนี้ 2021 ยางเปอร์เซ็นต์ไม่ควรต่ำลงไปเกิน 1 - 2 ปี ครับ เพื่อความชัวร์ของสภาพกับโครงสร้างยาง นอกจากนี้ยังต้องดูการรักประกันจากผู้ผลิต สภาพดอกยาง แก้ม ยาง ต้องไม่มีการปะ รั่วซึมมาก่อนอีกด้วย ทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ คือ ให้หายางถอดจากรถป้ายแดงหรือยางยี่ห้อที่ราคาไม่สูงนัก ซึ่งต้องเข้าใจว่ายางมือสองหรือเปอร์เซ็นต์ ย่อมมีสภาพไม่สวยและดีเท่ายางใหม่แน่นอนครับ แต่ใช้แก้ขัดได้ดีกว่ายางเดิมที่หมดสภาพแล้ว  

สภาพดอกยาง


หากว่าใช้งานยางมาแล้วเกิน 2-3 ปี ในบางครั้งการดูผ่าน ๆ นั้นอาจยังเห็นว่ามียางดอกเต็ม และสึกหรอไม่มากนัก แต่ตัวเนื้อยางอาจจะแข็งหมดสภาพแล้ว หรือมีร่องรอยแตกลายงาหลบซ่อนอยู่ตามแก้มยาง ร่องดอกยาง หรือ ที่ดอกยาง ในบางจุดก็เป็นได้ เราจึงต้องตรวจละเอียดมากขึ้น เพราะถ้าเนื้อสัมผัสยางเริ่มแข็ง เมื่อเจอน้ำจะลื่นเป็นพิเศษเลย

นอกจากนี้ยังช่วยตรวจดูว่ายางถูกตะปูตำมาหรือไม่ หรือแก้มยางหน้ายางบวมหรือไม่อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตุได้จากลมยางอ่อนต้องคอยเติมบ่อย ๆ ในเวลาขับพวงมาลัยสั่นหรือยางมีเสียงหอน และเมื่อขับผ่านเส้นแบ่งถนนมีอาการ "เลื่อย" ซึ่งเป็นผลจากสภาพยางและอาจลามไปถึงระบบช่างล่างด้วยครับ เช็คที่เดียวครบเลย

ลักษณะการใช้งานในชีวิตประจำวัน


การใช้งานในแต่ละวัน วิ่งวันละกี่กิโลเมตร? สภาพถนนที่ใช้ดีหรือแย่ระดับไหน? ทางเรียบทางลูกรังหรือผสมกันไป และในการขับขี่แต่ละวันนั้นได้ผ่านหลุดบ่อ ฝาท่อ มากแค่ไหน? ทั้งหมดนี้เป็นการประเมินสภาพยางได้อย่างดี รวมถึงขนาดความสูงแก้มยาง ขนาดล้ออัลลอยที่ใช้อยู่ด้วยครับ หากใช้ยางแก้มเตี้ยและต้องขับขี่ผ่านสภาพถนนแย่มาก ๆ ตกหลุดบ่อยหรือทับฝาท่อแรง ๆ หรือปีกฟุตบาท ย่อมมีโอกาสทำให้โครงสร้างของยางเสื่อมสภาพเร็วขึ้นด้วยครับ

และในบางคันอย่างรถกระบะหรือรถ SUV ที่ใช้ยาง Off-road นั้น บางครั้งตัวดอกยางขนาดใหญ่และอาจไม่มีการสึกหรอเลย แถมเวลาวิ่งมีเสียงหอนดังเป็นปกติ ความจริงแล้วหากผ่านอายุและการใช้งานมานาน ๆ ก็อาจมีจุดที่เสื่อมสภาพอยู่โดยดูที่ร่องดอกยางขอบหรือแก้มยาง และที่รอบ ๆ ฐานของตัวดอกยางแต่ละบังว่ามีรอยแตกร้าวหรือลายงาหรือไม่ด้วยครับ แม้ว่าดอกจะเหลือเยอะ แต่ถ้าผ่านอายุใช้งานมานานแล้วก็มีโอกาสเสื่อมสภาพดอกยางแข็งและอาจลื่นไม่เกาะถนนทั้งทางแห้งและเปียกนับว่าอัตรายมากเวลาต้องเบรกอย่างกระทันหันครับ  

ระยเวลาที่ผ่านการใช้งาน


อย่างข้อความข้างต้น อายุยางมีส่วนสำคัญเมื่อยางแตะลงพื้นเป็นหลัก เพื่อให้นับอายุได้อย่างง่ายขึ้นครับ เพราะไม่ว่ายางจะผลิตปีเก่าหรือใหม่แค่ไหน (เก่าย้อนไปไม่เกิน 2 ปี) และถูกเก็บรักษาอย่างถูกวิธี ยางนั้นยังคงสภาพเดิมได้ตลอด จึงให้นับในวันที่เริ่มลงพื้นใช้งานทีเดียวเลยครับ

ส่วนกรณีที่จอดมากกว่าขับให้นับอายุตามที่ยางลงพื้น ดูวันผลิต และระยะเวลาที่ใช้งานมาประกอบกัน พร้อมกับตรวจสภาพยางให้ละเอียดเพื่อหาจุดเสื่อมสภาพไปด้วย

สรุป


ยางที่ใช้งานหากมีอายุเกินกว่า 2 - 3 ปีควรเริ่มเช็คสภาพอย่างละเอียดมากขึ้น บางคันใช้งานหนักวิ่งแค่ปีกว่าดอกสึกหรอหมดก็มี หรืออาจเจอยางต่ำกว่ามาตรฐานมีการบวมหรือฉีดของเนื้อยาง "จึงไม่สำคัญว่าใช้นานแค่ไหน แต่สำคัญที่ใช้หนักแค่ไหน"
เลือกยางใหม่เป็นหลักก่อน การเลือกปีผลิตเก่าลงมาไม่เกิน 2 ปี ใช้งานได้ปกติ ถ้ามีงบถึงเลือกปีใหม่เอาไว้ก่อน ส่วนยางใหม่ปีเก่ามาก ๆ หากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงครับ

สำหรับผู้ที่งบน้อยมากจริง ๆ ให้เลือกดูยางเก่าใช้แล้ว ยางเปอร์เซ็นต์หรือมือสอง ต้องแน่ใจว่าสภาพสมบูรณ์ แค่ถอดออกเพื่อขาย ไม่เคยแตก ตำ ปะ บวมหรือแตกลายงา เนื้อยางต้องมีความนุ่มอยู่ ดอกยางไม่สึกจนต่ำกว่าสะพานยาง (ตัวบอกความสึกดอกยางในร่องยาง) หรือควรเหลือเกิน 5 มม. ขึ้นไป ยิ่งเป็นยาถอดรถป้ายแดงสภาพดียิ่งน่าใช้ และปีต้องไม่เก่าเกินไปครับ     
สุดท้ายเลือกให้ตรงกับการใช้งาน ตรงกับลักษณะรถ และหมั่นตรวจตรวจลมยางสม่ำเสมอ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยครับ  
แท็กที่เกี่ยวข้อง วิธีดูแลรถ วิธีขับรถหน้าฝน
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)