ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

5 ข้อแนะนำการใช้รถยนต์และมอเตอร์ไซค์เดินทางในช่วงวันหยุดยาวเลี่ยงการติดเชื้อให้ได้มากสุด

icon 19 เม.ย. 64 icon 2,081
5 ข้อแนะนำการใช้รถยนต์และมอเตอร์ไซค์เดินทางในช่วงวันหยุดยาวเลี่ยงการติดเชื้อให้ได้มากสุด

5 ข้อแนะนำการใช้รถยนต์และมอเตอร์ไซค์เดินทางในช่วงวันหยุดยาวเลี่ยงการติดเชื้อให้ได้มากสุด

ในช่วงวันหยุดยาวติดต่อกันอย่างสงเทศกาลกรานต์ หลายคนมักเดินทางไปต่างจังหวัดด้วยเหตุผลหลากหลาย ท่องเที่ยว, กลับบ้าน ฯลฯ ทำให้การจราจรมักเนืองแน่นเต็มพื้นที่ ตั้งแต่ออกจากตัวเมืองที่อยู่ โดยเฉพาะ จังหวัดกรุงเทพฯ ที่ผ่านมาเรามักระวังกันในเรื่องของอุบัติเหตุ มีแคมเปญ 7 วันอันตรายให้ยินกันประจำ หลายข้อมูลแนะนำจึงเน้นไปที่ความพร้อมของตัวรถ ผู้ขับ สภาพเส้นทาง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการขับขี่ปลอดภัย แต่ขาดเรื่องการระวังภัยโรคติดต่อ


ปัจจุบันการเดินทางไกลด้วยยานพาหนะส่วนตัวไม่ว่ารถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ดูจะต้องแบกรับความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 หลายระลอก และการที่หลายคนเริ่มวางใจในช่วงการระบาดลดลงก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การระบาดกลับมาเยอะอีกครั้ง ดังนั้นการขับขี่รถทางไกลจึงควรงดถ้าไม่มีความจำเป็น แต่ถ้าต้องเดินทางจริงๆ นี่คือ 5 ข้อคำแนะนำที่ควรทราบก่อนและหลังการเดินทาง
1.ทำความสะอาดรถทั้งภายนอกและภายใน

แน่นอนว่าก่อนการเดินทางทุกคนมักอยากให้ตัวรถสะอาดทั้งภายนอกและภายในอยู่แล้ว แต่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นไปได้อยากให้ล้างรถด้วยตนเองดีที่สุด มอเตอร์ไซค์ก็ด้วย ข้อดีคือ ลดความเสี่ยงจากบุคคลภายนอกในการจับตามจุดต่างๆ ภายในรถซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้ และเป็นโอกาสที่เราได้สำรวจความเรียบร้อบของตัวรถทั้งข้างนอกและในไปด้วยว่าไม่มีจุดไหนผิดปกติหรือชำรุด หลังล้างรถดูดฝุ่นเสร็จแล้ว ควรเปิดกระจกรถหลังทำแล้วตากแดดไว้สักพักใหญ่ก็จะช่วยลดกลิ่นอับและฆ่าเชื้ออื่นๆ ได้อีกทาง
2.พกอุปกรณ์เช็ด ล้าง ป้องกัน ฆ่าเชื้อติดรถให้เพียงพอ

การเดินทางในยุคนิวนอร์มอลทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนหลายอย่าง ยิ่งการนั่งรถทางไกลและจำเป็นต้องแวะจุดพักหรือปั้มเพื่อทำธุระ ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้นโอกาสที่เราจะสัมผัสในจุดเสี่ยงย่อมมี และเราก็ไม่สามารถทราบได้ว่าใครที่จับมาจะเป็นพาหนะของโรคใดมาบ้าง ไม่ได้กันแค่โรคโควิด-19 แต่รวมไปถึงโรคติดต่ออื่นๆ ด้วย การพกเจล สเปรย์แอลกฮอลล์ ทิชชู่เปียก .ใส่หน้าการอนามัยติดตัวเมื่อลงจากรถเป็นเรื่องควรทำเสมอ การสัมผัสจุดต่างๆ เช่น ที่จับ-กลอนประตู ก็อกน้ำ สินค้าในร้านสะดวกซื้อ (ถ้าเป็นไปได้ควรซื้อจากห้างสรรพสินต้าและเช็ดทำความสะอาดติดรถไว้เลย) ควรทำความสะอาดมือด้วยเจล หรือ สเปรย์แอลกฮอลล์หลังจากนั้น
3.ปรับมายเซ็ตการขึ้นลงและใช้บริการที่สาธารณะระหว่างเดินทาง

หลายคนมักเคยชินกับการใช้มือจับเสา เก้าอี้ หรือจุดยึดเหนี่ยวในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนความคิด งดเว้นการจับสิ่งเหล่านี้หลังจากลงรถไปแล้วเป็นเรื่องสำคัญ เรา (ที่อ่านบทความนี้) ควรบอกถึงความเสี่ยงตรงนี้และคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเด็กและผู้สูงวัยบางครั้งก็พลั้งเผลอได้ง่ายแบบไม่รู้ตัว แม้บอกไปแล้วก็ตาม 
4.กำหนดจุดแวะเท่าที่จำเป็น ปั้มน้ำมันที่คนไม่เยอะ

การคำนวนระยะทางการเดินทาง ทั้งสภาพการจราจรและเวลาออกเดินทาง ในช่วงวันหยุดยาวเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะช่วยให้เราให้ถึงที่หมายได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การอยู่บนถนนนานมีแต่แบกความเสี่ยงหลายอย่าง ในยุคนิวนอร์มอล การแวะพักโดยไม่จำเป็นไม่ใช่เรื่องดีนัก เพราะจุดพัก ปั้มน้ำมันล้นเป็นที่รวมผู้คนสารพัดจากทุกแห่ง ไม่สามารถกลั่นกรองได้ดีพอว่าใครติดหรือไม่ติดเชื้อ การลดจุดพัก แวะปั้มจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราลดความเสี่ยง แนะนำให้แวะเพื่อเติมน้ำมันและทำธุระส่วนตัวในจุดเดียวกัน เลือกปั้มที่คนน้อยไว้ก่อน ไม่จำเป็นต้องเลือกปั้มใหญ่ที่มีร้านค้าหรือผู้คนเยอะ ด้วยเหตุผลอย่างที่กล่าวในข้างต้น
5.เลี่ยงใช้เงินสด หันมาจ่ายผ่านแอพพลิเคชัน

ระยะหลังการใช้จ่ายผ่านแอพพลิเคชั่นแทนเงินสดดูเป็นเรื่องปกติสำหรับหลายคนมากขึ้น ในยุคที่ Cashless เข้ามามีบทบาทมากขึ้นนอกจากสะดวกในการจ่ายแล้ว ยังลดความเสี่ยงหลายอย่างเพราะการไม่มีเงินสดจำนวนมากติดตัว และการใช้จ่ายโดยตรงผ่านแอพฯ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มที่มีการสัมผัสหลากหลาย และเราก็ไม่ต้องสัมผัสตัวเงินที่ผ่านมาหลายมือโดยตรงด้วย ดังนั้นเวลาเติมน้ำมันหรือซื้อของในปั้มน้ำควรจ่ายผ่านแอพฯ ดีที่สุด 


จะเห็นได้ว่าการขับรถทางไกลในยุคโรคโควิด-19 ลำบาก สร้างเงื่อนไขให้ผู้ใช้รถและมอเตอร์ไซค์มากขึ้น นอกเหนือไปจากพิ้นฐานสำคัญที่ต้องเตรียมสภาพร่างกาย และรถให้พร้อมเดินทางแล้ว ก็ต้องมีการปรับพฤติกรรมและมายเซ็ตใหม่ด้วย เพราะการเดินทางส่วนใหญ่เรามักไปกันหมู่มาก การให้ข้อมูลเหล่านี้จึงจำเป็น โดยเฉพาะกับผู้หญิงและผู้สูงอายุที่มักต้องใช้บริการที่สาธารณะเป็นพิเศษ
Cr.malecelebnews.com
Cr.Jorge Silva/ REUTERS
Cr.bltbangkok.com
Cr.Shell.co.th
Cr.shellgoplus.com
แท็กที่เกี่ยวข้อง ขับขี่ปลอดภัย การเดินทาง โควิด-19 วันหยุดยาว
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)