ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ต่อทะเบียนรถด้วยตัวเอง ง่ายนิดเดียว!

icon 17 เม.ย. 64 icon 5,142
ต่อทะเบียนรถด้วยตัวเอง ง่ายนิดเดียว!

ต่อทะเบียนรถด้วยตัวเอง ง่ายนิดเดียว!

เจ้าของรถยนต์ทุกคันต้องมีหน้าที่ในการชำระภาษีรถยนต์ประจำปี โดยรถยนต์ที่อายุการใช้งานยังไม่เกิน 7 ปี นับว่าไม่ต้องตรวจสภาพของชำระภาษีหรือต่อทะเบียน เพียงเตรียมเอกสารคือ สำเนาทะเบียนรถหรือเล่มตัวจริงก็ได้ และส่วนท้ายของพรบ. สามารถขับรถเข้ารับบริการชำระภาษีได้ที่กรมการขนส่งทั่วประเทศได้ทันที ส่วนรถยนต์ที่เกินกว่า 7 ปีขึ้นไปล่ะ ต้องทำอะไรบ้าง ยุ่งยากแค่ไหนมาติตดตามเลยครับ

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี ขึ้นไป ตามกฏหมายการใช้รถยนต์จะต้องนำไปตรวจสภาพรถให้สมบูณ์ก่อนนำรถมาชำระภาษีประจำปี การตรวจสภาพรถสามารถเข้าตรวจได้ทั้งที่กรมการขนส่งทางบกเองหรือสถานตรวจสภาพรถภายนอกที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกก็ได้ ขั้นตอนก็ง่ายรวดเร็วและไม่ยุ่งยากเลย

ขั้นตอนตรวจสภาพรถ (กรณีตรวจนอกกรมการขนส่งฯ)

ขั้นตอนง่าย ๆ คือ เตรียมเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ สำเนาเล่มทะเบียนรถหรือเล่มตัวจริง, ส่วนท้ายของเอกสารพรบ. แค่นี้ ก็ขับรถเข้าสถานรับตรวจสภาพรถหรือ ตรอ. ได้ทันที ทางเจ้าหน้าที่จะให้เราไปนั่งรอในห้องแอร์เย็นสบาย รถของเราก็จะถูกขับขึ้นเขียงหรือแท่นทดสอบการหมุนของทั้งสี่ล้อ ตรวจระบบเบรค เบรคมือ ระบบไฟฟ้าส่่องสว่างทั้งระบบ รวมถึงสภาพชิ้นส่วนตัวถังรถต่าง ๆ ว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ หากมีชิ้นส่วนใดชำรุดเสียหายใช้งานไม่ได้ ทางเจ้าหน้าที่ร้านตรอ. ก็จะแจ้งให้นำรถไปปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน จึงจะตรวจใหม่และตรวจสภาพผ่านได้ 

หากชิ้นส่วนรถยนต์คันนั้น ๆ มีการดัดแปลง แก้ไข จนผิดจากเดิม (ออกจากโรงงาน) หรือการดัดแปลกเพิ่มเติมส่วนต่าง ๆ จนขาดความมั่นคงปลอดภัน เจ้าของรถต้องนำหลักฐานการดัดแปลงนั้น ๆ จากผู้ประกอบการหรือช่างพร้อมกับใบรับรองทางวิศวกรรม  เพื่อนำไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกโดยตรงเท่านั้น ซึ่งหากได้แจ้งแก้ไขและบันทึกลงในเล่มทะเบียนถูกต้องแล้วในปีต่อ ๆ ไปก็ใช้แค่เอกสารการต่อทะเบียนรถปกติ 

ต่อมาเจ้าหน้าที่ ตรอ. ก็จะเรียกให้เจ้าของรถชำระค่าตรวจสภาพรถราคาประมาณ 200 บาท ตรวจสอบเอกสารและทะเบียนรถให้ถูกต้อง จากนั้นก็สามารถขับรถเข้าภายในกรมการขนส่งทางบกได้เลย

เข้าคิว-ยื่นเอกสาร-จ่ายเงิน-จบ!


วิธีการต่อทะเบียนรถหรือชำระภาษีประจำปี มี 2 วิธี คือ นำเอกสารไปยังจุดบริการหรืออาการทะเบียนรถเพื่อยื่นกับเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนโดยตรง และอีกวิธีที่อยากแนะนำเพราะสะดวกและรวดเร็วโดยไม่ต้องวนหาที่จอดรถนั่นคือ "เลื่อนล้อต่อภาษี" คล้ายการรอคิวจ่ายค่าทางด่วน เพียงขับรถไปต่อคิวตามช่องทางที่ให้บริการและรอจนถึงคิวและยื่นเอกสารให้ ชำระภาษี รับเล่มหรือป้ายวงกลมทะเบียนใหม่ เพียงแค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อย โดยปกติใช้เวลาในจุดนี้ไม่เกิน 5 นาที หากรวมกับการเข้าแถวต่อคิวก็ราว ๆ 10 - 15 นาที (ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณผู้ใช้บริการในแต่ละวันด้วย) 


การต่อทะเบียนรถหรือชำระภาษีด้วยตัวเองง่ายนิดเดียว เพราะว่าสถานประกอบการเอกชนที่รับหน้าที่ตรวจสภาพรถมากมายราคาไม่แพง และระบบการยื่นชำระภาษีรถที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ย้ำอีกทีรถที่อายุไม่เกิน 7 ปี ไม่ต้องตรวจสภาพสามารถไปต่อภาษีได้ทันที ส่วนรถที่เกิน 7 ปี ต้องนำรถไปตรวจสภาพทั้งในจุดตรวจสภาพรถที่กรมการขนส่งทางบกเองหรือสถานประกอบการภายนอก (ตรอ.) แล้วจึงนำเอกสารไปต่อทะเบียนได้เลยครับ 

ทิ้งท้ายว่าหากรถยนต์ที่ยังมีการผ่อนชำระกับสถาบันการเงินหรือว่าไฟแนนซ์ ก็สามารถใช้สำเนาทะเบียนรถแทนเล่มตัวจริงได้เช่นกัน แต่ถ้าหากไม่สะดวกสามารถใช้บริการชำระภาษีกับสถานบันการเงินแห่งนั้นได้เช่นเลือกได้ตามความสะดวกครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ภาษีรถ ตรวจสภาพรถยนต์ ทะเบียนรถ ความรู้รถยนต์ ความรู้ ต่อทะเบียน ต่อทะเบียนรถ ตรอ.
CAR GURU
เขียนโดย สินธนุ จำปีศรี CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)