ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เช็ครถก่อนเที่ยวอุ่นใจกว่า

icon 19 เม.ย. 64 icon 3,823
เช็ครถก่อนเที่ยวอุ่นใจกว่า

เช็ครถก่อนเที่ยวอุ่นใจกว่า

ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่หลายคนเตรียมเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือไม่ก็ท่องเที่ยงไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงนี้ สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางก็อย่าลืมเตรียมความพร้อมของรถยนต์ให้อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งานและเพื่อสมรรถนะที่ดีอยู่เสมอ การตรวจสอบและเช็ครถยนต์เบื้องต้นง่ายๆ ด้วยตัวเองที่ใครๆ ก็ทำได้ เพื่อหาจุดบกพร่องก่อนที่จะนำรถไปเข้ารับการบริการต่อไป มาดูพร้อมกันเลยครับ

ระบบของเหลว


ระบบของเหลวต่างๆ เช่น ระดับน้ำในหม้อพักของระบบหล่อเย็น (หม้อน้ำ) ควรอยู่ในระดับขีดบน (MAX) ไม่เกินไม่ขาด หากขาดควรใช้น้ำยาสำหรับอม้อน้ำหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเปล่านะครับ ระดับน้ำมันเบรกก็เช่นกัน ควรอยู่ระดับพอดีที่ขีด (MAX) ส่วนของเครื่องยนต์นั้นหลัก ๆ ให้ดูที่ก้านวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นเมื่อดึงออกมาในครั้งแรกควรทำความสะอาดเสียก่อนและเสียบกลับไปและดึงขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ให้สังเกตุน้ำมันที่ติดขึ้นมาว่าอยู่ระดับไหน 


โดยจะมีระบุไว้ที่ก้านวัด (แล้วแต่รุ่น) ว่าระดับปกติ (MAX) โดยรถในบางรุ่นให้วัดในขณะอุณหภูมิเย็นก่อนจะสตาร์ทเครื่องยนต์ (Cool) หรือให้วัดหลังจากติดเครื่องยนต์ให้ทำงานปกติสักพักก่อนแล้วดับเครื่องยนต์จึงดึงก้านวัดออกมาดู (HOT) 

ส่วนน้ำมันเกียร์นั้นอาจต้องมีความชำนาญเิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย เช่น เกียร์อัตโนมัติจะมีก้านวัดสั้น ๆ อยู่เช่นกัน และการวัดระดับน้ำมันเกียร์มักจะต้องวัดขณะเครื่องยนต์ทำงานสักระยะหนึ่งแล้วดับเครื่องยนต์เพื่อดึงก้านวัดออกมาเช็ค โดยระดับน้ำมันที่ติดออกมากับก้านวัดต้องอยู่ระดับ MAX พอดี และในรถที่ใช้พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิกก็ให้ตรวจที่กระปุกน้ำมันว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่อีกเช่นกันครับ  

นอกจากนี้ให้สังเกตุว่าใต้ท้องรถมีคราบน้ำหรือของเหลวหยดบนพื้นในช่วงที่จอดรถทิ้งไว้หรือไม่ หากมีให้สงสัยไว้ก่อนว่ามีการรั่วซึมของระบบของเหลวในเครื่องยนต์รีบนำรถเข้ารับบริการให้เร็วที่สุดครับ
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (ทั้งเบนซินและดีเซล) เช็คจุดรั่วซึมต่างๆ ตรวจดูว่าอายุการใช้งานของใส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงถึงกำหนดควรเปลี่ยนหรือยัง เช่น ในรถเบนซินควรเปลี่ยนทุกๆ 80,000 กิโลเมตร และอาจรวมไปถึงปั้มน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยเพื่อความ "ชัวร์" ก่อนเดินทาง

อย่าลืมเติมน้ำฉีดกระจกด้วยนะครับ

ล้อและยาง


ก่อนเดินทางหรือแม้จะขับรถออกจากบ้านผู้ขับรถควรตรวจเช็คความผิดปกติของยางเบื้องต้นก่อน เช่น ยางอ่อนหรือแบน ยางมีรอยปริแตก แก้มยางมีรอยแตกลายงาหรือไม่ และตรวจสภาพของหน้ายางหรือดอกยางว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ เช่น ร่องดอกยางเริ่มตื้น ดอกยางสึกหรอจนโลน (เรียบจนไม่มีร่องรีดน้ำ) เป็นต้น 


นอกจากนี้ให้ตรวจดูว่าอายุการใช้งานของยางนั้นปีที่ผลิตเท่าไหร่ เช่น ที่แก้มยางจะมีตัวเลขเล็กๆ 4 หลักระบุไว้ 0119 นั่นคือ ผลิตสัปดาห์ที่ 1 ปี 2019 เป็นต้น โดยทั่วไปอายุยางที่ใช้งานไม่ควรเกิน 3 - 4 ปี และหมั่นสลับยางทุกๆ 40,000 กิโลเมตรเพื่อให้หน้ายางสึกหรอเท่าๆ กันทุกล้อยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น นอกจากนี้ก็ควรเลือกให้เหมาะสมตรงกับการใช้งานต่างๆ เช่น ใช้บรรทุก ใช้งานทั่วไป ยางรถ SUV โดยเฉพาะหรือยางสำหรับรถที่มีสมรรถนะสูง ๆ และอย่าลืมตรวจสอบลมยางอะไหล่ด้วยนะครับ สำหรับรถที่ใช้ชุดเติมลมฉุกเฉินก็ตรวจเช็คว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานด้วยครับ


ช่วงล่าง-เบรก


ระบบช่วงล่วงนับว่าสำคัญไม่แพ้เครื่องยนต์กับยาง เพราะถ้าหากช่วงล่างหลวม การควบคุมรถก็แย่ลง ตรวจสอบง่ายๆ ก่อนโดยสังเกตุจากการ "ฟังเสียง" เช่น เมื่อเลี้ยวสุดมีเสียงดัก "ก๊อกๆๆ" นั่นอาจหมายถึงลูกปืนเพลาล้อหน้าแตก หรือ เมื่อตกหลุดมีเสียง กึกๆ กักๆ เสียงอาจเกิดจากโช้ครั่วซึมแกนโช้คมีปัญหา หรือระบบบังคับเลี้ยวต่างๆ หลวม เช่น ลูกหมากคันชัก-คันส่ง และในส่วนของจุดยึดต่างๆ เช่น บูชปีกนก เหล็กกันโคลง เป็นต้น  

อาการ "ช่วงล่างหลวม" อาจสังเกตุได้จากการขับรถผ่านเส้นแบ่งเลนและรถมีอาการ "เลื้อย" แปลกๆ ก็อาจเกิดจากชุดช่วงล่างหลวมได้เช่นกัน 

ส่วนโช้คอัพนั้ให้สังเกตุในขณะขึ้น-ลง สะพานหรือเนินต่างๆ ตัวรถจะมีระยะยวบหรือยุบลงมากผิดปกติ และบางครั้งอาจมีการกระเด้งขึ้น-ลงต่อเนื่องอีกหลายๆ ครั้ง นั่นอสดงว่าโช้คเริ่มเสียแล้ว   

ระบบเบรกตรวจง่ายๆ เพียงเหยียบค้างไว้และออกแรงเพิ่มดูว่าแป้นเหยียบคงที่หรือมีการขยับค่อยๆ ลงต่ำเรื่อยๆ หรือไม่ ระบบเบรกที่ปกติจะต้องไม่มีเหยียบแล้วจมลง แต่ถ้าแป้นเบรกจมลงเรื่อยๆ หรือ "เบรกหาย" แสดงว่าเกิดการรั่วซึมในระบบเบรกรีบนำรถเข้าตรวจเช็คก่อน แต่ถ้าเหยียบเบรกแล้วไม่มีน้ำหนักใดๆ เลยให้โทรเรียกช่างหรือรถยกด่วน!!! ไม่ควรขับไปเพราะนั่นคืออาการ "เบรกแตก"  
ในส่วนของผ้าเบรกหากวิ่งมาเกิน 50,000 กิโลเมตรขึ้นไปให้ตรวจเช็คอย่างละเอียดว่า "ผ้าเบรก" นั้นเหลือความหนาต่ำกว่า 5 มิลลิเมตรหรือไม่ โดยอาจดูด้วยตาเปล่า (ถ้าล้อแม็กแบบมีช่องว่าง) หรืออาจเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ค

ระบบไฟฟ้า


ระบบไฟฟ้าในรถยนต์เริ่มตั้งแต่ส่วนเครื่องยนต์เบนซินที่ใช้ไฟในการจุดระเบิดของเครื่องยนต์เบนซิน เช่น หัวเทียน คอยล์จุดระเบิด เป็นต้น โดยอาการเบื้องต้นของระบบไฟเครื่องยนต์มีปัญหาคือ เครื่องสะดุด จอดรอบเดินเบาแล้วเครื่องสะอึก เร่งไม่ขึ้น กินน้ำมัน อาการเหล่านี้เกิดจากระบบไฟและอาจมากจากระบบน้ำมันเชื้อเพลิงที่อุดตันก็เป็นได้ 



ในส่วนของเครื่องยนต์ดีเซลให้ตรวจเช็คสายไฟตามจุดสำคัญต่างๆ เช่น ปลั๊คของปั้มแรงดันสูง (หรือรถรุ่นเก่าก็ปลั๊คปั้มดีเซล) ปลั๊คหัวฉีด, ขั่วแบตเตอรี่ เป็นต้น   
นอกจากนี้ก็ให้ตรวจเช็คการทำงานของระบบ "พัดลม" ระบายความร้อนด้วยว่าทำงานปกติอยู่หรือไม่ เพราะหากทุกอย่างดีหมดและพัดลมเสียก็อาจทำให้เครื่องยนต์ "ฮีต" ได้นะครับ


ระบบไฟส่องสว่างต้องติดครบ! ทั้งไฟหน้าต่ำ-สูง ไฟท้าย ไฟเบรก ไฟเลี้ยว ต้องติดครบทุกดวง หากตรวจเช็คแล้วไม่ครบรีบเปลี่ยนก่อนเดินทาง เพื่อความปลอดภัยครับ 

เตรียมคนขับ

สิ่งสุดท้ายหากรถยนต์มีสุขภาพที่ดีแล้ว คนขับรถก็ต้องมีร่างกายที่สมบูรณ์พร้อมที่จะควบคุมรถให้เดินทางไปยังจุดหมายได้อย่างปลอดภัย และอย่าลืมท่องไว้เลย! 
"ไม่ประมาท เมาไม่ขับ เคารพกฏจราจร ไม่ย้อนศร ไม่ขับหวาดเสียว ง่วงไม่ขับ และเปิดไฟเลี้ยวเมื่อเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวนะครับ"
เพราะมีทั้งครอบครัวและคนที่คุณรักรออยู่ 

แท็กที่เกี่ยวข้อง ตรวจรถ เช็ครถ ขับขี่ปลอดภัย เที่ยวปีใหม่ ปีใหม่ ท่องเที่ยว เดินทางไกล อุบัติเหตุ ไปไหนดี ตรวจเช็ครถยนต์ เที่ยวทั่วไทย สวัสดีปีใหม่ เที่ยวต่างจังหวัด ไปเที่ยว ไปเที่ยวกัน ข่าวรถยนต์ ความรู้รถยนต์ ความรู้ เดินทางปลอดภัย
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)