Shell ครองตำแหน่งเจ้าตลาดน้ำมันหล่อลื่นติดต่อกันเป็นปีที่ 10
เชลล์ ครองตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่งของตลาดน้ำมันหล่อลื่นทั่วโลกประจำปี 2558 ติดต่อกันเป็นปีที่ 10 ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 11.6% อ้างอิงจากรายงานการวิเคราะห์และการประเมินตลาดในอุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่นทั่วโลกปี 2559 ของไคล์ แอนด์ คอมพานี (Kline & Company) สถาบันด้านการวิจัยตลาดชั้นนำ
ไคล์ แอนด์ คอมพานี คาดการณ์ว่า ยอดขายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นเชลล์อยู่ที่ 4,400-4,600 กิโลตัน ในปี 2558 โดยแบ่งเป็น กลุ่มผู้บริโภคทั่วไป 36%, กลุ่มลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม 34% และกลุ่มลูกค้าธุรกิจยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ 30%
มร.จอห์น แอ็บบอท กรรมการบริหารและผู้อำนวยการธุรกิจดาวน์สตรีม รอยัล ดัชท์ เชลล์ กล่าวว่า "ในสภาวะที่ตลาดมีการแข่งขันสูง การบรรลุเป้าหมายครั้งนี้นับเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และการบริการอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าเราเดินหน้าลงทุนเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดทั่วโลก และต่อยอดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรม และไม่หยุดยั้งในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่ๆ และเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานในอนาคต"
รายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่า น้ำมันหล่อลื่นเชลล์ ครองแชมป์เป็นผู้นำตลาดในประเทศฟิลิปปินส์ (30%) มาเลเซีย (27%) สหราชอาณาจักร (18%) และสหรัฐอเมริกา (12%) และเชลล์ ยังจัดเป็นผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่นข้ามชาติที่เป็นผู้นำตลาดใน แอฟริกาใต้ (20%) ประเทศไทย (18%) แคนาดา (13%) และสาธารณรัฐประชาชนจีน (8%)
มร. จอร์จ มอร์วีย์ ผู้จัดการฝ่ายอุตสาหกรรม ภาคพลังงาน แห่งไคล์ แอนด์ คอมพานี กล่าวว่า "ยอดขายทั้งหมดของน้ำมันหล่อลื่นทั่วโลกมีปริมาณ 38.8 ล้านตัน ในปี 2558 ลดลงจาก 39.4 ล้านตันในปี 2557 เกิดจากการชะลอการเติบโตในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจบริคส์ (BRICs) [1] ยกเว้นประเทศอินเดียเท่านั้นที่มีการเติบโต ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดภาวะขาลงของตลาดน้ำมันทั่วโลก ซึ่งถึงแม้ว่าสภาวะตลาดยังซบเซา ประกอบกับจำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากบริษัทผลิตน้ำมันในประเทศ ผู้ผลิตน้ำมันอิสระและผลิตภัณฑ์ OEM แต่เชลล์ยังครองตำแหน่งผู้นำในทั้งสามกลุ่มผลิตภัณฑ์ และรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดได้สูงสุด" เชลล์ทุ่มทุนหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในซัพพลายเชน น้ำมันหล่อลื่น โดยการปรับปรุงโรงงานผสมน้ำมันหล่อลื่น 4 แห่ง ในเมืองฮิวสตันและเมืองนีเวลล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และในเมืองเทศบาลนคร เทียนจิน และเมืองชาปู สาธารณรัฐประชาชนจีน และสร้างเพิ่มขึ้นอีก 4 แห่ง ในเมืองทอร์ซฮอก สหพันธรัฐรัสเซีย, ใกล้กับเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ในเมืองชาปูและเมืองนานกัง สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งสร้างโรงงานผลิตจาระบี 1 แห่ง ในเมืองจูไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน และเปิดโรงงานน้ำมันพื้นฐานใหม่อีก 2 แห่ง
น้ำมันหล่อลื่นเชลล์ยังเป็นผู้นำตลาดน้ำมันหล่อลื่นสำหรับรถยนต์โดยสารในประเทศสหรัฐอเมริกา (22%) ฟิลิปปินส์ (32%) มาเลเซีย (31%) แคนาดา (19%) และสาธารณรัฐประชาชนจีน (14%) โดยมีเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ (GTL) ที่นำมาใช้พัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันหล่อลื่นเกรดพรีเมี่ยม และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักในการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ โดย เชลล์ เฮลิกส์ อัลตร้า ที่มาพร้อมเพียวพลัส เทคโนโลยี เปิดตัวในปี 2557 ได้เติบโตขึ้นด้วยเลขสองหลัก และวางจำหน่ายแล้วในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ส่วนแบ่งการตลาดพรีเมี่ยมของน้ำมันหล่อลื่นเพ็นซอยล์ รุ่นแพลตตินัม ของเชลล์[2] ได้เพิ่มขึ้น 155% ในทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ปี 2555 โดยได้แรงหนุนจากเชลล์ เพียวพลัส เทคโนโลยี ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้ช่วยยกระดับสมรรถนะการขับขี่ในวงการมอเตอร์สปอร์ตทั่วโลกให้ทะลุขีดจำกัดเดิมๆ
เชลล์ยังเป็นแบรนด์น้ำมันอันดับหนึ่งสำหรับรถโดยสาร ในสาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และประเทศไทย และเป็นแบรนด์ที่ผู้ขับขี่จักรยานยนต์เลือกใช้ในประเทศมาเลเซียและฟิลิปปินส์ และสำหรับรถบรรทุก เชลล์ เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่เจ้าของเลือกใช้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอียิปต์ สหพันธรัฐรัสเซียและสหรัฐอเมริกา[3] และเชลล์ยังเป็นพันธมิตรทางธุรกิจหลักกับผู้ผลิตรถยนต์อื่นๆ เช่น บีเอ็มดับเบิลยู เอจี, เฟียต ไครสเลอร์ ออโต้โมบิล (FCA) กรุ๊ป, ฮุนได, เรโนลต์-นิสสัน, โตโยต้า, เจนเนอรัล มอเตอร์ส, เดมเลอร์ เอจี, ซูซูกิ, ดูคาติ, เอ็ม เอ เอ็น, แซดเอฟ, เจนเนอรัล อิเลคทริค, เอ็กเกรโค, ซีเมนส์ และค่ายรถยนต์อื่นๆ จากประเทศจีน อาทิ จีลี่ และ เอฟเอดับเบิลยู
นอกจากนี้ เชลล์ได้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม ตั้งแต่กังหันลม อุปกรณ์การทำเหมืองและเครื่องจักรกลสำหรับการผลิต โดยในภาคน้ำมันหล่อลื่นสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม เชลล์ครองตลาดในประเทศฟิลิปปินส์ (29%) ไทย (24%) มาเลเซีย (20%) สหราชอาณาจักร (18%) ส่วนในตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เชลล์เป็นผู้นำในตลาดมาเลเซีย (31%) แคนนาดา (20%) และสหรัฐอเมริกา (18%) น้ำมันหล่อลื่นเชลล์ได้สร้างสถิติในการลดค่าใช้จ่ายกว่าหลายร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากการบริการทางเทคนิคเพิ่มเติมที่เชลล์มีให้ ซึ่งการบริการดังกล่าวช่วยให้ลูกค้าสามารถ "เลือก", "ใช้", "รักษา" และ "ดูแล" การใช้น้ำมันหล่อลื่นอย่างเหมาะสมในอุปกรณ์ต่างๆ ของลูกค้า โดยการบริการล่าสุดที่เชลล์มีให้คือ "การบริการผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistant)" ซึ่งเป็นการบริการแบบครบวงจรที่ขับเคลื่อนโดยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันหล่อลื่น รวมถึงการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องทั้งหมด