ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ฟิล์มกรองแสงแบบไหนดี?

icon 24 ก.ย. 58 icon 13,811
ฟิล์มกรองแสงแบบไหนดี?

ฟิล์มกรองแสงแบบไหนดี? 

ฟิล์มกรองแสงมีประโยชน์หลายด้าน ทั้งป้องกันแสงแดดที่มีรังสี UV เข้าห้องโดยสารและชิ้นส่วนหรือสิ่งของภายในรถ เพื่อรักษาและยืดอายุการใช้งานของวัสดุภายในรถได้มากขึ้น และช่วยลดอุณหภูมิภายในรถขณะจอดกลางแดด ส่งผลให้ระบบปรับอากาศทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
การจะเลือกฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ จะเลือกอย่างไรให้เหมาะกับรถเรานั้น ก่อนอื่นเรามารู้จักตัวฟิล์มกันคร่าวๆ ก่อนครับ

ฟิล์มกรองแสงนั้น เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีคุณสมบัติลดความร้อน ลดรังสียูวีหรืออัลตร้าไวโอเลต รังสีอินฟราเรด และช่วยลดความร้อนจากแสงแดดที่จะเข้ามาภายในห้องโดยสารรถยนต์ ฟิล์มกรองแสง แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ ดังนี้
1. แบบไม่มีส่วนผสมของสารป้องกันรังสีที่มาจากแสงแดด ฟิล์มชนิดนี้จะมีคุณสมบัติเฉพาะในส่วนของการกรองแสงจากดวงอาทิตย์ให้อ่อนลงเมื่อส่องผ่านกระจกเข้ามาภายในตัวรถเท่านั้น ฟิล์มประเภทนี้จะลดความเข้มของแสงได้เพียงอย่างเดียว แต่จะไม่สามารถกรองหรือลดอันตรายและความเข้มของรังสีต่างๆ ที่แฝงมากับแสงแดดได้ ฟิล์มแบบนี้จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก และฟิล์มแบบนี้ก็กันความร้อนได้ไม่เกิน 50% มักมีราคาถูกประมาณ 800-1,500 บาท/คัน และอายุการใช้งานสั้นประมาณ 3-5 ปี
2. แบบที่มีส่วนผสมของสารป้องกันรังสีที่มาจากแสงแดด ฟิล์มประเภทนี้ ตัวเนื้อฟิล์มจะเพิ่มวัสดุพิเศษซ้อนเข้าไปเพื่อเป็นตัวป้องกันรังสีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อทั้งผู้โดยสาร และชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ถูกแสงแดด ซึ่งฟิล์มประเภทนี้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ได้อีก 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

2.1 ฟิล์มปรอท, ฟิล์มเคลือบโลหะ และฟิล์มลดความร้อน คุณภาพการลดความร้อน 35-90% ตัวเนื้อฟิล์มจะเป็นสีสะท้อนแสงคล้ายกระจกเงา ค่อนข้างอันตรายสำหรับรถที่ขับตามหลังในเวลากลางวัน เพราะจะมองลอดผ่านกระจกไม่ได้เลย แต่ฟิล์มชนิดนี้เมื่อเอามือป้องที่กระจกจะสามารถมองผ่านเห็นด้านในได้ หรือหากเปิดไฟในรถเวลากลางคืนจะสามารถเห็นได้จากภายนอก ราคา 2,000-5,000 บาท/คัน อายุการใช้งานประมาณ 3-7 ปี

2.2 ฟิล์มอินฟราเรด (Infrared Film) เป็นฟิล์มชนิดที่เคลือบสารพิเศษในการไปตัดรังสีอินฟราเรด ซึ่งเป็นฟิล์มที่กันความร้อนได้ค่อนข้างดีที่สุด และมีราคาที่สูงมาก แต่ในปัจจุบันเริ่มมีหลายบริษัทผู้ผลิตฟิล์มจำหน่ายมากขึ้น ทำให้ราคาเริ่มปรับลดลง

2.3 ฟิล์มนิรภัย มีความหนาตั้งแต่ 4 MIL ขึ้นไป (1 MIL = 1/1,000 นิ้ว) มีทั้งชนิดลดความร้อน และไม่ลดความร้อน คุณสมบัติคือ จะช่วยยึดเกาะแผ่นกระจกให้คงรูปเดิมมากที่สุดเมื่อกระจกถูกแรงกระแทก และแตกเป็นเม็ดละเอียด และเนื้อฟิล์มก็ยังช่วยซับแรงได้อีกชั้นหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในงานอาคารสูงเพื่อยึดกระจกไว้เวลากระจกแตก แต่ปัจจุบันก็เริ่มนำมาใช้ในรถยนต์มากขึ้น

2.4 ฟิล์มใสประเภทนาโน ฟิล์มประเภทนี้ แสงส่องผ่านได้มากกว่า 60% และไม่มีเงา แต่ลดความร้อนได้สูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ผลิตและนำมาเคลือบฟิล์ม และมีราคาค่อนข้างสูง

ติดฟิล์มกี่เปอร์เซ็นต์ดี?

คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตสำหรับผู้จะติดฟิล์มกรองแสงสำหรับรถยนต์ แต่ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนครับว่า ความเข้มของฟิล์มที่เรียกกันติดปากว่าเปอร์เซ็นต์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร

เปอร์เซ็นต์ที่แสงผ่านได้
เปอร์เซ็นต์ที่ใช้เรียกกันนั้น จริงๆ ก็คือ เปอร์เซ็นต์ที่แสงสามารถส่องผ่านเข้ามาได้ คำว่า 40, 60 ,80  เป็นภาษาโดยทั่วไปที่มักใช้เรียกตามระดับความเข้มของฟิล์ม โดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการวัด และฟิล์มแต่ละยี่ห้อก็จะมีค่ากำหนดที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทฯ จะออกแบบมา ซึ่งพออธิบายได้ง่ายๆ ดังนี้ 
  • ฟิล์ม 40%  บางยี่ห้ออาจหมายถึงฟิล์มใส ที่มีค่าของแสงส่องผ่านได้ประมาณ 35% ขึ้นไป เช่น ตัวเลขที่ระบุบนเนื้อฟิล์มเช่น APL35N, POP35N, APL45NX, L80BL ฯลฯ 
  • ฟิล์ม 60%  หมายถึง ฟิล์มเข้มที่มีค่าของแสงส่องผ่านได้ประมาณ  20%  เช่น ANL20N, ARL20C, ARL20BX, L20N, POP20N ฯลฯ 
  • ฟิล์ม 80%  หมายถึง ฟิล์มเข้มที่สุดที่มีค่าของแสงส่องผ่านได้ประมาณ  5%  เช่น  ARL05C, ANL05N, POP05C, L05 Digital CTX  ฯลฯ 
ทั้งนี้ในบางยี่ห้ออาจมีค่าของแสงผ่านได้ตามตัวเลขที่ใช้เรียกเลยก็เป็นได้ครับ 

ติดฟิล์มทึบจะโดนจับหรือไม่


กฎหมายจราจรโดยรวมนั้นสรุปใจความได้ว่า ห้ามรถยนต์ทุกชนิดติดตั้งวัสดุทึบแสงที่บริเวณกระจกบังลมหน้าเต็มบาน และอนุญาตให้ติดตั้งได้เฉพาะ 1 ใน 4 ของขอบด้านบนกระจกบังลมหน้า และในส่วนที่ติดตั้งนั้นต้องมีความเข้มไม่เกิน 40% และในส่วนของกระจกบานอื่นรอบคันไม่อนุญาตให้ติดทึบเกิน 60% หรือทึบจนรถยนต์คันที่ขับตามด้านหลังไม่สามารถมองเห็นผ่านกระจกหลังทะลุกระจกบานหน้าของรถยนต์คันที่นำหน้าได้ จุดประสงค์ก็เพื่อความปลอดภัยเมื่อรถคันหลังขับตามมาจะสามารถมองเห็นผ่านไปยังด้านหน้าระยะไกลๆ ได้ดี ด้วยการมองลอดผ่านกระจกของรถที่อยู่หน้าตนเองได้ ทำให้มองเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้า ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย

แต่สำหรับประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อนและแสงแดดมีความเข้มสูง อีกทั้งยังรังสีต่างๆ ที่มากับแสงแดดยังเป็นอันตรายต่อผิวหนัง ดังนั้นทางกองบังคับการตำรวจจราจรจึงได้ผ่อนผันให้สามารถติดฟิล์มที่มีความเข้มมากขึ้นได้ แต่การผ่อนผันนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าสามารถจะติดตั้งฟิล์มได้ทึบทั้งคัน! เนื่องจากยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งในเรื่องของอาชญากรรม และวิสัยทัศน์ของผู้ขับขี่และผู้ขับตามหลัง แต่ก็ยังมีเจ้าของรถยนต์บางคนติดตั้งฟิล์มเข้มจัด จนมองได้ยาก และเสี่ยงต่ออาชญากรรมอีกด้วย อ่านเกี่ยวกับการบังคับใช้ฟิล์มกรองแสงเพิ่มเติมได้ที่นี่
สำหรับการเลือกฟิล์มรถยนต์นั้นมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น งบประมาณ คุณภาพ ความจำเป็นในการเลือกความเข้มของฟิล์มส่วนยี่ห้อผู้ผลิตนั้นส่วนใหญ่มักเป็นแบรนด์นำเข้าจากต่างประเทศที่มีคุณภาพสูงๆ (เมื่อติดตั้งร้านตัวแทนจำหน่ายที่ได้มาตรฐาน) ดังนั้นควรเลือกฟิล์มที่เหมาะสม เพียงพอกับตัวรถยนต์และลักษณะการใช้งานนะครับ หากเลือกความเข้มมากเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาเมื่อต้องขับรถในเวลากลางคืนได้ แต่หากใช้รถส่วนใหญ่ในเวลากลางวัน ก็ควรเลือกที่มีความเข้มมากสักหน่อย และเลือกรุ่น/ยี่ห้อที่ป้องกันรังสีฯ ได้มากที่สุดครับ ส่วนเรื่องราคานั้นก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคนเลยครับ


แท็กที่เกี่ยวข้อง
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)