ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

3 คำแนะนำ ดูแลรถยนต์คู่ใจ

icon 19 มิ.ย. 60 icon 9,966
3 คำแนะนำ ดูแลรถยนต์คู่ใจ

3 คำแนะนำ ดูแลรถยนต์คู่ใจ

รถยนต์เป็นหนึ่งในการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในชีวิต คงไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงนักในปัจจุบัน แน่นอนว่าเมื่อตัดสินใจลงทุนซื้อคู่หูที่รู้ใจสักคัน ที่จะร่วมเดินทางกับเราไปทุกที่ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดหรือวันทำงานแล้ว ย่อมต้องดูแลเพื่อนยากคันนี้อย่างเต็มความสามารถ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ คือ ความเปลี่ยนแปลงของสภาพรถตามกาลเวลา และอาจเห็นได้ชัดโดยเฉพาะในรถยนต์ที่วิ่งไปแล้วเกิน 100,000 กิโลเมตร
แน่นอนว่ารถยนต์ที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หรือขับขี่เกิน 100,000 กิโลเมตร ย่อมมีความเปลี่ยนแปลงและต้องการบำรุงรักษามากเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลส่วนที่สึกหรออันเกิดขึ้นตามกาลเวลา หรือการระมัดระวังใช้งานรถยนต์อย่างทะนุถนอม อ่านถึงตรงนี้ หลายท่านคงกังวลว่าการดูแลรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานยาวนานจะเป็นเรื่องยากที่ต้องฝากฝังให้ศูนย์บริการดูแลเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าเราสามารถดูแลรักษารถยนต์เลขไมล์สูงคู่ใจเองได้ง่ายๆ  ด้วยคำแนะนำ 3 ข้อ

1. หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของรถคู่ใจ

รถยนต์ก็เหมือนกับสิ่งของทั่วไป ที่เมื่อใช้ไปแล้วย่อมเกิดการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา แต่บางครั้งการเสื่อมสภาพอาจจะไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน และอาจมาแค่ในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ต้องสังเกตอย่างใกล้ชิดจึงจะรู้สึกได้ สัญญาณเตือนส่วนใหญ่ที่สังเกตได้ของรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 100,000 กิโลเมตร ได้แก่ เสียงดังที่เกิดขึ้นในขณะเหยียบเบรก ปัญหาเรื่องการควบคุมทิศทางรถ การที่เครื่องยนต์ใช้เวลาสตาร์ทหลังบิดกุญแจนานขึ้นกว่าปกติ ไฟสัญญาณต่างๆ ที่ขึ้นแสดงบนหน้าปัดรถยนต์ หากพบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ควรนำรถยนต์เข้ารับบริการตรวจเช็คและซ่อมแซมทันที เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัย
 

2. ศึกษาคู่มือประจำรถให้เข้าใจ ดูแลได้ตรงจุด

คู่มือประจำรถและคู่มือการบำรุงรักษารถยนต์ คือหนังสือคู่มือเบื้องต้นที่ผลิตโดยผู้ผลิตรถยนต์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้งานรถยนต์ ดังนั้นการทำความรู้จักรถยนต์ที่ดีที่สุด นับเป็นคลังความรู้ชั้นดีที่ระบุรายละเอียดทั้งหมดของรถยนต์ไว้ รวมถึงการดูแลรักษา และระยะเวลาที่สมควรในการนำรถไปตรวจสภาพ โดยเฉพาะในรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน อาจหมดระยะที่สามารถนำรถยนต์เข้าไปรับบริการในศูนย์โดยไม่เสียค่าบริการแล้ว คู่มือประจำรถจะทำหน้าที่เป็นแนวทางในการดูแลรักษาชิ้นส่วนต่างๆ อย่างละเอียด สามารถใช้อ้างอิงประกอบการดูแลรักษารถยนต์ด้วยตัวเองได้ นอกจากต้องศึกษาให้ละเอียดแล้ว ยังควรเปลี่ยนอะไหล่และน้ำมันเครื่องตามอายุการใช้งาน และกำหนดที่ระบุไว้ในคู่มือประจำรถ
 

3. เลือกใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะกับอายุการใช้งานของรถ

รถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมายาวนาน มีแนวโน้มที่จะเจอกับปัญหาต่างๆ จึงควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ ซึ่งมียี่ห้อน้ำมันเครื่องชั้นนำทำออกมาให้เลือกมากมาย เช่น เชลล์ ที่มีรุ่น เฮลิกส์ ไฮไมล์เลจ หรือ วาโวลีน แม็กซ์ไลฟ์ ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับรถยนต์ที่ใช้งานมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสึกหรอของเครื่องยนต์ การรั่วซึมของน้ำมันเครื่อง หรือคราบสกปรกสะสมภายในเครื่องยนต์ ด้าน เชลล์ เฮลิกส์ ไฮไมล์เลจ มีให้เลือกใช้งานทั้งสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล 

เพียงปฏิบัติตามสามคำแนะนำข้างต้น ในการดูแลรถยนต์คู่ใจที่ใช้งานมายาวนาน ก็สามารถยืดอายุการใช้งานของรถให้ขับขี่ปลอดภัย มั่นใจในทุกสถานการณ์  
แท็กที่เกี่ยวข้อง เชลล์ น้ำมันเครื่อง การดูแลรถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)