ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เปลี่ยนหัวเทียนแบบไหนดี?

icon 14 มิ.ย. 59 icon 80,438
เปลี่ยนหัวเทียนแบบไหนดี?

เปลี่ยนหัวเทียนแบบไหนดี? 

หัวเทียน (Spark Plug) เป็นอุปกรณ์จุดประกายไฟภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนหรือเบนซิน ซึ่งจะมีตามจำนวนของลูกสูบในเครื่องยนต์นั้น หรือมีประจำทุกสูบ เช่น 4 สูบก็มี 4 อัน, 8 สูบ ก็มี 8 อัน แต่ในเครื่องยนต์บางรุ่นอาจมีหัวเทียน 2 หัวต่อ 1 สูบ แล้วแต่ผู้ผลิตจะออกแบบมา และมักเรียกว่า "Twin spark" 

เครื่องยนต์ Toyota 3T-GTE Twin Spark 
ภาพจาก www.toycrazy.net

เครื่องยนต์ Alfa romeo Twin Spark 4 สูบ 8 หัวเทียน
ภาพจาก www.squadra916.com

เครื่องยนต์ Toyota 4A-GE 4 สูบก็มี 4 หัวเทียน 
าพจาก www.aeracingclub.net

เครื่องยนต์ Honda Civic Turbo 4 สูบ มี 4 หัวเทียน
หัวเทียนเป็นชิ้นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมากในกระบวนการทำงานของเครื่องยนต์ ติดตั้งบริเวณฝาสูบและยื่นเข้าไปในส่วนของห้องเผาไหม้ ทำหน้าที่เป็นตัวจุดระเบิดโดยอาศัยการกระโดดข้ามของประกายไฟฟ้าจากแกนกลางไปยังเขี้ยวหัวเทียน ดังนั้นสมรรถนะจะดีหรือแย่ก็ขึ้นกับสภาพและอายุการใช้งานของหัวเทียนเป็นสำคัญ โดยควรเปลี่ยนทุกๆ 1 แสนกิโลเมตร สำหรับแบบ iridium ส่วนแบบธรรมดาราวๆ 8,000 - 20,000 กิโลเมตร เดี๋ยวเรามาทำความรู้จักกับหัวเทียนไปพร้อมๆ กับการเลือกใช้หัวเทียนอันใหม่เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนกันครับ

ภาพจาก www.ngk.de

ภาพจาก dataengine.wikispaces.com

ประเภทของหัวเทียน

หัวเทียนแบ่งรูปแบบตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 3 แบบคือ
1. หัวเทียนเย็น - หัวเทียนที่มีขนาดของฉนวนที่สั้น ระบายความร้อนได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความร้อนสะสมน้อย สามารถช่วยลดปัญหาและความเสี่ยงของการชิงจุดระเบิดก่อน เหมาะกับการใช้งานที่ใช้ความเร็วหรือวิ่งระยะทางยาวๆ เป็นเวลานาน ความร้อนจะสะสมไม่มากระบายได้เร็ว แต่มีข้อเสียคือ เกิดเขม่าที่หัวเทียนง่าย ทำให้จุดระเบิดได้ไม่เต็มที่ และอาจทำให้เกิดการลัดวงจรของกระแสไฟหรือชิงจุดระเบิดล่วงหน้าได้ และไม่เหมาะกับรถที่ใช้ความเร็วต่ำ
2. หัวเทียนมาตรฐาน - หัวเทียนที่มีความร้อนปานกลางหรือที่ใช้ในรถยนต์ทั่วไป การระบายความร้อนระดับปานกลาง และมักเป็นหัวเทียนที่มากับรถ ติดตั้งมาให้จากโรงงาน เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้ความเร็วปานกลาง 
3. หัวเทียนร้อน - หัวเทียนแบบนี้มีขนาดของฉนวนที่ยาว (ระยะทางระบายความร้อนจากเขี้ยวหัวเทียนถึงฝาสูบยาว) ระบายความร้อนออกไปได้ช้า และจะสะสมอยู่ในตัวหัวเทียนได้มาก เหมาะสำหรับสภาพการขับขี่ในเมืองหรือการขับขี่ที่ใช้ความเร็วไม่มากและเครื่องยนต์ที่ใช้งานระยะสั้นๆ 
นอกจากนี้ยังต้องดูค่าความร้อน (ตัวเลข) ของเทียนให้ถูกต้องด้วยว่า ระดับใดจึงจะเหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่ใช้งานอยู่ เช่น หัวเทียนเบอร์ 6-7 มีค่าความร้อนปลางกลางนับเป็นค่ามาตรฐาน ซึ่งค่าความร้อนของแต่ละผู้ผลิตอาจไม่เหมือนกันควรดูรายละเอียดจากคู่มือรถยนต์หรือสอบถามร้านค่าที่ซื้อดีกว่าครับ

ภาพจาก www.gamerth.com - ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ภาพจาก www.euromotoelectrics.com
คลิกภาพเพื่อขยาย

รูปแบบของหัวเทียน

หัวเทียนมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตที่จะคิดค้นความสมารถในการจุดประกายไฟหรือจุดระเบิดว่าแบบไหนเหมาะสมกับเครื่องยนต์ลักษณะใด ซึ่งในท้องตลาดจะมีรูปแบบหัวเทียนดังนี้
1. หัวเทียนแบบเขี้ยว คือ หัวเทียนที่มีส่วนเขี้ยวยื่นออกมา เพื่อให้กระแสไฟกระโดดข้ามจากแกนกลางไปยังเขี้ยว ทำให้เกิดการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ 


หัวเทียนแบบ 4 เขี้ยว
2. หัวเทียนไม่มีเขี้ยว คือ ไม่มีส่วนที่ยื่นออกมาเป็นเขี้ยวนั่นเอง อาศัยการกระโดดข้ามของกระแสไฟฟ้าจากแกนกลางไปบริเวณรอบๆ ข้างหัวเทียนเอง ซึ่งมีข้อดีคือ ทนทานต่อความร้อน ให้ประกายไฟต่อเนื่อง แต่อาจไม่เหมาะกับการใช้งานความเร็วต่ำๆ 

ภาพจาก www.brisksparkplugs.com.au
3. หัวเทียน Iridium คือ หัวเทียนที่ใช้โลหะแพลทืนัมเป็นแกนกลาง สามารถทนความร้อนได้สูงกว่า ราวๆ 2,500 องศาเซลเซียส ส่วนหัวเทียนแกนนิเกิลทนความร้อนได้เพียง 1,500 องศาเซลเซียส อายุการใช้งาน 1 แสนกิโลเมตร

หัวเทียนแกนเพลทินัม

ภาพจาก denso-sparkplug.lnwshop.com

ควรเปลี่ยนหัวเทียนเมื่อไหร่?

หัวเทียนมีอายุการใช้งานตามแต่ประเภทของวัสดุที่ใช้ เช่น แบบธรรมดาหรือที่เป็นแกนนิเกิลควรเปลี่ยนทุกๆ 8,000 - 20,000 กิโลเมตร ส่วนหัวเทียนที่ใช้แกนเพลทตินัม หรือ อิริเดียม ควรเปลี่ยนทุกๆ 100,000 กิโลเมตร และหากเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกอย่างแก๊ส LPG/CNG ควรเปลี่ยนก่อนถึงระยะจริงอย่างน้อย 20,000 กิโลเมตร

ภาพจาก lisaandroger.com
หากถึงกำหนดหรือระยะที่ควรเปลี่ยนบางครั้งอาจมีอาการที่รู้สึกได้ เช่น สตาร์ตยาก เครื่องยนต์เดินเบาสะดุด ไม่เรียบ เร่งสะดุด ไม่มีกำลัง กินน้ำมัน และอาจมีเสียง หรือมีอาการ "น็อค" เครื่องยนต์ เป็นต้น

ภาพจาก denso-sparkplug.lnwshop.com

เลือกแบบไหนดี?

การเลือกเปลี่ยนหัวเทียนในรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไปให้เปลี่ยน รุ่น แบบ และสเปค ตามคู่มือรถยนต์แต่ละรุ่นกำหนดไว้ หากเป็นรถยนต์ที่ใช้งานหนักบ่อย ขับทางไกลเป็นประจำ และใช้ความเร็วสูงๆ แช่ยาว อาจต้องเปลี่ยนสเปคของหัวเทียนหรือเบอร์ให้เหมาะสมมากขึ้น เช่น ใช้แบบอิริเดียม เพื่อความทนทานมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมักถูกติดตั้งมาจากโรงงานผลิตรถยนต์แล้ว

ภาพจาก www.matthewsvolvosite.com
รถยนต์ที่ใช้งานหนักมากหรือใช้ความเร็วสูงมาก เช่น เครื่องยนต์ที่ถูกโมดิฟายหรือเครื่องยนต์ติดตั้งเทอร์โบ ควรเลือกใช้หัวเทียนที่ตายความร้อนได้เร็ว หรือหัวเทียนเย็น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ความเร็วสูง รอบสูง และมีความสะสมมากๆ  
การใช้หัวเทียนไม่ตรงกับลักษณะใช้งาน อาจส่งผลกระทบกับเครื่องยนต์โดยตรง เช่น ใช้งานในเมืองทั่วไปความเร็วต่ำๆ แต่ใช้หัวเทียนเย็น อาจทำให้เครื่องยนต์ไม่เรียบ เดินไม่นิ่ง เพราะอุณหภูมิไม่ถึงจุดที่ใช้งาน หรือรถยนต์ติดตั้งเทอร์โบ ไม่ควรใช้หัวเทียนร้อน เพราะจะยิ่งสะสมความร้อนมากส่งผลให้ชิ้นส่วนต่างๆ ภายในห้องเผาไหม้และหัวเทียนเสียหายได้
  
ภาพจาก www.superstreetonline.com
การเปลี่ยนหัวเทียนเมื่อถึงระยะนับว่าเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยลดอัตราการกินน้ำมัน ลดมลพิษจากการเผาไหม้ที่สะอาดหมดจด และนอกจากนี้ อาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันอีกมากมาย เช่น สายหัวเทียน คอยล์จุดระเบิด กำลังไฟจากแบตเตอรี่ ซึ่งล้วนมีผลในการทำงานหัวเทียนและระบบการจุดระเบิดในเครื่องยนต์ให้สมบูรณ์ ควรหมั่นคอยดูแลและรักษาให้มีสภาพพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถยนต์ หัวเทียน เปลี่ยนหัวเทียน
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)