ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ดีเซลควันดำ เกิดจากอะไร?

icon 15 ม.ค. 62 icon 173,050
ดีเซลควันดำ เกิดจากอะไร?

ดีเซลควันดำ เกิดจากอะไร?

เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันใช้ในรถยนต์ทั่วไป ทั้งเก๋งขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ รวมถึงรถยนต์ไฮบริด โดยเฉพาะรถกระบะส่วนมากจะใช้กันอย่างแพร่หลาย ยิ่งมีระบบอัดอากาศอย่างเทอร์โบ ยิ่งทำให้กำลังสูง และให้อัตราสิ้นเปลืองต่ำ เครื่องยนต์ดีเซลมักมีข้อด้อยในเรื่องของ "ควัน" จากระบบไอเสียเมื่อใช้งานไปนานๆ อาจมีควันดำออกมาในขณะเร่งเครื่องหรือแม้กระทั่งรถรุ่นใหม่ๆ ก็อาจมีโอกาสเกิดควันดำได้ ส่วนสาเหตุนั้นเกิดได้จากอะไรบ้างมาดูกันครับ
ระบบกรองอากาศอุดตัน

สาเหตุ : มักเกิดจากการที่ไส้กรองอากาศเริ่มเสื่อมสภาพจากการที่ดูดฝุ่นละอองเข้าไปสะสมจนเกิดการไหลของอากาศไม่สะดวก ทำให้ระบบควบคุมการฉีดน้ำมันและอากาศแปรปวน สั่งจ่ายน้ำมันมากเกินไป จนเกิดการเผาไหม้ไม่หมด และตกค้างภายในกระบอกสูบจนถูกคายปะปนออกมากับไอเสีย ควันลักษณะนี้จะมีสีน้ำเงินเข้มๆ อมดำ หรือถ้ามองตาเปล่าคือ ควันดำนั่นเอง
วิธีแก้ไข : หมั่นตรวจเช็คไส้กรองอากาศตามระยะทาง หรือทำความสะอาดเมื่อใช้ในเส้นทางที่มีฝุ่นละอองมากๆ 
ระบบจ่ายน้ำมันอุดตัน

ภาพจาก au.bosch-automotive.com
สาเหตุ : เกิดจากระบบการไหลเวียนของท่อทางเดินน้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ รวมถึงระบบไส้กรองที่ไหลไม่สะดวก เกิดการอุดตันจนทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายไม่สม่ำเสมอหรือผิดพลาด และอาจเกิดจากระบบหัวฉีดที่ตันหรือจ่ายน้ำมันมากเกินไป, การเปิด/ปิดของเข็มหัวฉีดไม่ถูกต้อง ก็ส่งผลให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์และเกิดควันดำได้ และอีกสาเหตุหนึ่งที่นักแต่งซิ่งรถกระบะทั้งหลายนิยมกันมากนั่นคือ การดันราง* ซึ่งควันในลักษณะนี้จะดำมากๆ 
(*การใส่ชุดอุปกรณ์เพื่อควบคุมหรือกักแรงดันน้ำมันดีเซลในรางหัวฉีด (คอมมอนแรล) ให้มีแรงดันสูงๆ ให้จ่ายน้ำมันได้คราวละมากๆ ต่อการยกของเข็มหัวฉีดหรือไหลออกผ่านรูของหัวฉีดแต่ละครั้ง จนอาจเกิดการจ่ายน้ำมันที่หนาเกินไปจนเผาไหม้ไม่หมด) 

ภาพจาก 
www.darwendiesels.com
วิธีแก้ไข : หมั่นตรวจเช็คตามระยะทางอย่างเคร่งครัด เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามระยะ หากรถที่ใช้งานมากกว่า 1 แสนกิโลเมตรขึ้นไปก็ควรนำเข้าทดสอบระบบหัวฉีด (เทสต์หัวฉีด) เพื่อดูอัตราการไหลและความผิดปกติของหัวฉีดในแต่ละสูบ สุดท้ายคือ หากไม่จำเป็นต้องขับเร็วหรือ "ซิ่ง" ควรหลีกเลี่ยงการปรับแต่งเครื่องยนต์ที่อาจส่งผลในเรื่องระบบจ่ายน้ำมันที่ไม่สมบูรณ์
เครื่องหลวม

ภาพจาก www.autoguide.com
สาเหตุ : เครื่องหลวมในที่นี้หมายถึง อุปกรณ์ชิ้นส่วนภายในกระบอกสูบ เช่น แหวนลูกสูบ ปะเก็นฝาสูบ ท่อตาน้ำมันเครื่อง ยางซีลวาล์วเสื่อมสภาพ และทำให้น้ำมันหล่อลื่นไหลลงมาปะปนภายในห้องเผาไหม้ หรือในรุ่นเครื่องยนต์มีเทอร์โบอาจเกิดจากแกนเทอร์โบหลวมจนน้ำมันเครื่องไหลออกไปผสมกับไอเสียที่โข่งหลังของเทอร์โบและก่อให้เกิดเขม่าขึ้นมา ซึ่งโดยทั่วไปควันลักษณะนี้มักมีสีเทาๆ 

ภาพจาก en.wikipedia.org

ภาพจาก turbocharger.man.eu

วิธีแก้ไข : ตรวจเช็คเครื่องยนต์ตามจุดต่างๆ โดยช่างที่ชำนาญเพื่อรีบแก้ไขให้ถูกต้อง
ระบบกรองไอเสียอุดตัน (แคตตาไลติก คอนเวอร์เตอร์)

สาเหตุ : การอุดตันของชุดกรองไอเสียที่ผ่านการใช้งานมานานอาจเป็นสาเหตุทำให้เซ็นเซอร์ของชุดวัดปริมาณอากาศเกิดการผิดเพี้ยนได้ จึงทำให้การสั่งจ่ายน้ำมันจาก ECU ไม่เที่ยงตรง และเกิดควันดำออกมาได้เช่นกัน

ภาพจาก longislandcatalytic.com
วิธีแก้ไข : เปลี่ยนใหม่ โดยจะซื้อของใหม่เบิกห้างหรือถ้างบน้อยก็หาของเก่ามือสองจากเชียงกงให้ตรงรุ่นก็ย่อมได้
เขม่าค้างภายในท่อไอเสีย

ภาพจาก www.quora.com
สาเหตุ : อันนี้อาจเกิดในช่วงเริ่มสตาร์ตเครื่องยนต์ใหม่ๆ มักจะมีควันจางๆ ออกมาเป็นก้อน ซึ่งถ้าหากใช้งานไปสักพักแล้วไม่เกิดควันอีกก็แสดงว่าเป็นควันที่ตกค้างในท่อไอเสีย นับว่าไม่เป็นอันตราย
วิธีแก้ไข : ไม่จำเป็นต้องทำอะไร และไม่ควรฉีดน้ำย้อนเข้าในท่อไอเสีย
ไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นตามระยะ

ภาพจาก iselinc.com
สาเหตุ : การไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองตามระยะทาง ย่อมส่งผลเสียต่อชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์และอาจทำให้มีเขม่าจากการเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องที่หมดอายุ ซึ่งเคลือบบนผิวผนังกระบอกสูบถูกเผาไหม้ปนออกมากับไอเสียได้ 
วิธีแก้ไข : ควรบำรุงรักษาด้วยการเช็คระยะตามคู่มือที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

ภาพจาก blog.precisioncode.works
ปรับแต่งเครื่องยนต์

การปรับแต่งเครื่องยนต์ก็นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดควันดำ และก่อให้เกิดมลพิษ เพราะการปรับเครื่องยนต์ให้มีกำลังและสมรรถนะที่ดีขึ้นอาศัยหลักการ "เพิ่มการจ่ายน้ำมัน และเพิ่มอากาศ" ให้เข้าห้องเผาไหม้ให้เยอะที่สุด แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ การเผาไหม้ไม่หมด หรือน้ำมันที่เหลือจากการ "ถ่ม" น้ำมันดีเซลเข้าไปก็ถูกเผาออกมาเป็น "เขม่าหรือควันดำ" นั่นเอง ดังนั้น เครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ๆ มักมีกำลังแรงม้าสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งก็เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไป  
สาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดควันนั้น อาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่แตกต่างจากนี้ได้อีก เช่น บรรทุกน้ำหนักเกิดจนเครื่องยนต์รับภาระมากเกินไปหรือการตัดชุดกรองไอเสียทิ้ง เพื่ออยากให้อัตราเร่งดีขึ้น แต่ก่อให้เกิดมลภาวะ เป็นต้น ดังนั้น ควรดูแลบำรุงรักษารถยนต์ที่เรารักให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อลดมลภาวะ ประหยัดเชื้อเพลิง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วยครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถยนต์กระบะ ดีเซล รถปิกอัพ ควันดำ รถควันดำ ดันราง แต่งเครื่อง มลพิษ ฝุ่นละออง pm2.5
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)