ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เปลี่ยนยางอะไหล่ง่ายนิดเดียว

icon 4 ม.ค. 60 icon 50,224
เปลี่ยนยางอะไหล่ง่ายนิดเดียว

เปลี่ยนยางอะไหล่ง่ายนิดเดียว

หากคุณขับรถยนต์มาแล้วเกิดเหตุการณ์ยางแตก, ยางระเบิด หรือว่ายางแบน จะทำอย่างไรและการเปลี่ยนยางอะไหล่หรือใช้อุปกรณ์ยุ่งยากแค่ไหน รวมถึงการควบคุมรถเนื่องจากยางระเบิดขณะขับต้องทำอย่างไร เรามีคำตอบครับ

สาเหตุหลักที่ทำให้อาจเกิดยางระเบิดขณะวิ่ง


โดยปกติยางรถยนต์จะมีความทนทานสูงตามอายุการใช้งาน ซึ่งอยู่ระหว่าง 3 - 5 ปี แล้วแต่รุ่นและการผลิตกำหนด แต่ก็ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เช่น สภาพดอกยางสึกหรอมาก ยางมีรอยฉีกขาดที่อาจเกิดจากการใช้งานในถนนที่มีก้อนกรวด, หินที่แหลมคม หรือการใช้งานที่หนักเกินไปอย่างเช่น บรรทุกเกินน้ำหนักที่ยางรับได้ การเติมลมยางไม่เหมาะสมกับการใช้งาน สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ยางระเบิดและส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมทิศทางของรถได้ จนอาจเกิดอุบัติเหตุ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ยางอ่อน, แบน, รั่ว อาจมาจากการขับเหยียบสิ่งมีคม, ตะปู, จุ๊บลมยางรั่วซึม เป็นต้น

ขอบคุณภาพจาก acurazine.com
หากเกิดเหตุการณ์ยางระเบิดขณะวิ่ง ควรทำอย่างไร มาดูกันครับ
1. ตั้งสติ! และจับพวงมาลัยให้มั่นพร้อมกับค่อยๆ ควบคุมทิศทางรถให้ไปช่องทางที่โล่งรถน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. ลดความเร็ว... ในการลดความเร็วมีหลายวิธีด้วยกัน
- กรณีเกียร์อัตโนมัติ อันดับแรกปล่อยคันเร่งให้เครื่องยนต์ช่วยหน่วงความเร็วหรือ Engine Break เพื่อให้การลดระดับความนุ่มนวลมากที่สุด ค่อยๆ แตะเบรกอย่างช้าๆ ห้ามกระทืบหรือเบรกแรงๆ เด็ดขาด เพราะยางล้อที่แบนอยู่ทำให้รถเสียหลักได้ง่ายขึ้น 
- กรณีเกียร์ธรรมดา ห้ามปลดเกียร์ว่าง ให้ค้างเกียร์เอาไว้ก่อนและปล่อยคันเร่งให้เครื่องยนต์ช่วยชะลอลดความเร็วลง พร้อมๆ กับค่อยแตะเบรกช้าๆ เพื่อให้ควบคุมทิศทางของรถได้ และเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ตามความเร็วที่ลดลง 
3. หาจุดจอดที่ปลอดภัยเพื่อเตรียมสู่ขั้นตอนการที่หลายคนกลัว ไม่เคย หรือ ทำไม่เป็น นั่นคือ เปลี่ยนยาง!

เปลี่ยนยาง ง่ายนิดเดียว 


ขอบคุณภาพจาก www.carmudi.com.bd

ขอบคุณภาพจาก accessories.ford.com
รถยนต์ทั่วไปจะมีชุดยางอะไหล่และเครื่องมือในการเปลี่ยนยางติดไว้ตั้งแต่ออกจากโรงงาน ซึ่งต้องหมั่นเช็คแรงดันลมยางอะไหล่ด้วยอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ให้พร้อมใช้งานเสมอ ส่วนรถยนต์รุ่นใหม่ๆ บางรุ่นอาจใช้เป็นชุดกระป๋องเติมลมยางแบบอุดรูรั่วในตัว โดยใช้เติมเข้าไปแทนลมปกติ ซึ่งภายในจะมีน้ำยาที่เข้าไปช่วยอุดรูรั่วให้สามารถขับไปต่อได้ในระยะทางใกล้ๆ เพื่อหาร้านปะยาง แต่ข้อเสียของรถยนต์ที่ใช้ชุดน้ำยาเติมกันรั่วนี่คือ หากยางที่รั่วหรือมีรอยฉีกขาดมากๆ จะไม่สามารถใช้การได้ ต้องเปลี่ยนมาใช้ยางอะไหล่   

เข้าเรื่องขั้นตอนเปลี่ยนยางเลยดีกว่าครับ การเปลี่ยนยางควรเตรียมอุปกรณ์ในการถอดให้ครบถ้วน ได้แก่ แม่แรงยกรถ, กากบาทขันล้อหรือที่ขันล้อรูปตัวแอล, ยางอะไหล่ และป้ายเตือนฉุกเฉินใช้วางด้านหลังรถขณะทำการเปลี่ยนยาง
1. คลายน็อตล้อก่อนขึ้นแม่แรง

ขอบคุณภาพจาก www.wikihow.com
เมื่อจอดรถในที่ปลอดภัยแล้ว ให้ตั้งเครื่องหมายหรือสิ่งของบริเวณหลังรถให้ห่างออกไปเพื่อเป็นจุดสังเกตุว่ามีรถจอดอยู่  และดึงเบรกมือหรือหาก้อนหินมาขั้นล้อกันรถไหล ในการถอดอาจจะต้องออกแรงมากหน่อยเพราะน็อตมีความแน่นจากการใช้งาน แนะนำให้ใช้มือจับกากบาทข้างหนึ่งและใช้เท้าเหยียบฝั่งตรงข้าม เพื่อให้ผ่อนแรง หรือถ้าเป็นประแจถอดแบบข้างเดียวให้ใช้เท้าค่อยๆ เหยียบ เมื่อคลายน็อตล้อได้แล้ว ให้คลายน็อตแค่พอหลวมก่อน โดยอาจไม่จำเป็นต้องไขทแยงก็ได้ แต่ยังไม่ต้องถอดน็อตออกหมดให้คาไว้ก่อน

2. ยกรถด้วยแม่แรง
ใช้แม่แรงยกรถขึ้น โดยการดูจุดที่ใส่แม่แรงตามคู่มือรถหรือจุดที่ปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดการหล่นหรือเกิดการเสียหายต่อตัวถังรถได้ (รถยนต์บางรุ่นจะมีจุดที่ผู้ผลิตระบุไว้ในคู่มือ)

จุดยกรถโดยทั่วไป 

สังเกตให้ดีจุดยึดจะมีตัวรองรับแถบของตัวถังพอดิบพอดี
ขอบคุณภาพจาก  
www.getridofthings.com   

แม่แรงรถยุโรปหน้าตาแปลกๆ
ขอบคุณภาพจาก f20.1addicts.com 
แม่แรงมีหลายแบบตามแต่ผู้ผลิตรถยนต์จะออกแบบมา เช่น แบบแท่งตรง ในรถยุโรป โดยแบบนี้จะมีรูสำหรับติดตั้งและยกรถโดยเฉพาะ 

ขอบคุณภาพจาก www.made-in-china.com
แบบธรรมดา มีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู มีแท่งเกลียวตรงกลางและใช้หมุนที่ปลายด้านหนึ่ง และจะมีแท่นยกที่มีร่องยาวๆ เพื่อรองรับของตัวถังรถ 

แม่แรงแบบต่างๆ ตามแต่ผู้ผลิตรถจะออกแบบมา
ขอบคุณภาพจาก www.ebay.co.uk
3. เปลี่ยนล้ออะไหล่-ขันน็อตให้แน่น
เมื่อยกรถขึ้นจนล้อลอยก็ถอดล้อเดิมออก และสลับเปลี่ยนยางอะไหล่ใส่แทนที่  ขันน็อตให้แน่นทุกตัวด้วยมือก่อนใช้เครื่องมือกวดน็อต และต้องไขมุมทแยง (ตามรูป) เพื่อให้กระจายความแน่นของน็อตให้เสมอทุกๆ ตัว และเสมอเท่าๆ กัน ป้องกันกระทะล้อโก่งตัว และให้ขันตามด้วยเครื่องมือหรือกากบาทขันน็อตให้พอตึงมือ (ในขณะล้อยังลอย) และตรวจเช็คความเรียบร้อยก่อนเอาแม่แรงลงให้ล้อติดพื้น แต่ยังไม่ต้องลงจนสุดนะครับ คาแม่แรงเอาไว้ก่อน และย้ำด้วยกากบาทอีกครั้งตามมุมทแยงเช่นเดิม

แบบ 4 รู

แบบ 5 รู

แบบ 6 รู

ขอบคุณภาพจาก www.mvsottawa.com
หลังจากนั้นเอาแม่แรงลงจนสุดและขันน็อตให้แน่นจนตึงมืออีก 1 - 2 รอบ เอาแม่แรงออกเป็นอันจบ!

ขอบคุณภาพจาก www.idrivesafely.com
เห็นมั้ยครับว่าการเปลี่ยนยางไม่ยาก อาจต้องออกแรงสักหน่อย แต่ก็ทำให้ขับรถต่อไปได้อย่างปลอดภัย แต่ถ้าไม่สะดวกในการเปลี่ยนเองจริงๆ ให้โทรเรียก Call Center ของยี่ห้อรถยนต์ที่เราใช้อยู่ก็ได้ครับ หรือขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่แถวๆ นั้น และอีกช่องทางที่พอช่วยได้คือ FM สวป.91 1644 มีเบอร์นี้อุ่นใจแน่นอน 
อ๊ะ ยังไม่จบ แม่แรงในปัจจุบันไม่ต้องเหนื่อยหมุนด้วยมืออีกต่อไป เพราะมีรุ่นที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า หรือจะใช้แม่แรงแบบไฮดรอลิกก็สะดวก เพียงแค่โยกๆ ก็ใช้งานได้ และอีกแบบเป็นตะเข้ ซึ่งขนาดจะใหญ่อาจพกพาลำบาก แต่ใช้ยกรถหนักมากๆ ได้อย่างสบายๆ ครับ และหาซื้อได้ทั้งของใหม่แกะกล่องหรือตามแหล่งอะไหล่รถยนต์เก่าญี่ปุ่น แต่ถ้าไม่สะดวกในการใช้แรงเปลี่ยนก็ชื่อชุดกระป๋องเติมลมฉุกเฉินเอาไว้ก็ได้ครับ  

รุ่นที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า
ขอบคุณภาพจาก 
www.binbin.net

แม่แรงแบบไฮดรอลิก
ขอบคุณภาพจาก 
www.anninvitation.com

แบบตะเข้
ขอบคุณภาพจาก 
www.aliexpress.com

ชุดน้ำยาเติมลมยางฉุกเฉิน
ขอบคุณภาพจาก 
www.fixaflat.com
แท็กที่เกี่ยวข้อง ยาง เปลี่ยนยางรถยนต์ ยางรถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)