ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รู้ไว้ก่อน ขับลุยน้ำ

icon 23 ธ.ค. 58 icon 19,948
รู้ไว้ก่อน ขับลุยน้ำ
   

รู้ไว้ก่อน ขับลุยน้ำ

เวลาฝนตก หลายคนอาจจะชอบเพราะอย่างน้อยก็ไม่ร้อน แต่สำหรับผู้ใช้รถการขับรถท่ามกลางสายฝนหรือบนพื้นที่น้ำท่วมขังไม่ใช่เรื่องน่าสนุก ยิ่งเป็นรถเก่ายิ่งต้องระวังกับปัญหาเครื่องยนต์ดับ หรือแม้แต่กับรถใหม่ก็ตาม การลุยน้ำท่วมที่มีระดับสูงบางครั้งก็เป็นเรื่องน่ากังวลโดยเฉพาะมือใหม่หรือผู้ที่ไม่มีความรู้ในการรับมือ เวลาจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำ เราจะรับมือยังไง ทีมงานเช็คราคา.คอมมีคำตอบมาให้ครับ

เทคนิคการขับรถลุยน้ำ

อย่างแรกการขับรถในช่วงฝนตกหนักหรือหลังฝนหยุด เป็นไปได้ว่าอาจมีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ดังนั้นการขับรถในช่วงนี้จึงต้องระวังเป็นพิเศษ ทั้งถนนลื่นและน้ำท่วม อย่างแรกที่ควรทำคือ เลือกเส้นทางที่ปลอดน้ำท่วมขังหนักไว้ก่อน บางครั้งอาจต้องยอมขับอ้อมเป็นระยะทางไกลขึ้นเพื่อเลี่ยงการลุยน้ำ การขับบนถนนที่เห็นพื้นผิวได้ชัดเจนย่อมดีกว่าขับแบบมองไม่เห็นพื้นถนน เพราะเรายังสามารถเลี่ยง หลบ หลีก หลุม หรือ สารพัดจุดอันตรายได้ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ เราก็มีวิธีการรับมือมาฝากครับ

1. ประเมินก่อนว่าน้ำท่วมสูงแค่ไหน

การลงไปวัดระดับระดับน้ำเอง คงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ แต่เราสามารถสังเกตง่ายๆ จากรถคันข้างหน้า หรือบริเวณใกล้เคียง โดยสังเกตจากรถประเภทเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นรถเก๋งก็ให้ดูจากล้อรถเก๋งด้วยกัน ว่าจมน้ำไปแค่ไหน ถ้าอยู่ในระดับที่ไปไหวไม่เกินครึ่งล้อก็อาจพอลุยต่อได้ และถ้าให้ดีกว่านั้น พยายามมองคันข้างหน้าไกลๆ ว่าระดับน้ำมีแนวโน้มท่วมเยอะขึ้นไหม โดยสังเกตเทียบได้จากล้อรถเช่นกัน หรือถ้าไม่มีรถให้เปรียบเทียบก็อาจมองแนวขอบฟุตบาทแทน

2. ใช้ความเร็วต่ำสม่ำเสมอ

เพื่อไม่ให้เกิดคลื่นน้ำกระฉอกตีกลับหรือกระเด็นสูงเข้าห้องเครื่องยนต์ สำหรับรถเกียร์ธรรมดาอาจใช้เกียร์ 1-2 ส่วนเกียร์อัตโนมัติควรใช้เกียร์ L หรือใกล้เคียง ขณะขับพยายามใช้ความเร็วต่ำสุดและคงที่ รอบเครื่องยนต์ไม่ควรเกิน 1,500 รอบ/นาที

3. ต้องไม่เปิดแอร์

การเปิดแอร์อาจจะทำให้น้ำใต้ห้องเครื่องยนต์ถูกพัดกระจายขึ้นมาได้ จนทำให้พัดลมระบายความร้อนไม่ทำงาน และเครื่องยนต์ร้อนขึ้นเรื่อยๆ

4. เหยียบเบรกหรือคลัตช์

นับเป็นเรื่องที่หลายคนมองข้าม หลังลุยน้ำท่วมเสร็จใหม่ๆ และมักทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะเบรกไม่อยู่และคลัตช์ลื่น การย้ำเบรกหลังลุยน้ำท่วมหมาดๆ ก็เพื่อไล่ความชื้นในกลไกของระบบเบรก ทำให้เบรกกลับมามีประสิทธิภาพใกล้เคียงเดิม
 

5. ไม่ดับเครื่องยนต์ทันทีหลังลุยน้ำ

ควรจอดเดินเบาไว้สักครู่ และอาจเหยียบคันเร่งเบาๆ เป็นจังหวะ เพื่อไล่น้ำที่อาจค้างอยู่ในหม้อพักไอเสียออกให้หมด และเป็นการสร้างความร้อนให้สะสมมากพอไล่ความชื้นตามจุดต่างๆ ในห้องเครื่องยนต์

นอกจากนี้การขับรถลุยน้ำ ควรคำนึงด้วยว่ารถของเราเป็นรถประเภทไหนด้วยนะครับ เพราะว่ารถแต่ละประเภทมีความสูงที่แตกต่างกัน สำหรับรถเก๋งทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วมที่สูงกว่า 25 ซม. ส่วนรถกระบะทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วมที่สูงกว่า 40 ซม. และรถขับเคลื่อน 4 ล้อ (4WD) ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วมที่สูงกว่า 50 ซม. 
ถึงแม้ว่ารถเราจะมีความสูงที่พอจะขับรถลุยน้ำได้ แต่ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำให้ได้มากที่สุดจะดีกว่าครับ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบต่างๆ ของรถยนต์เสียหายครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)