ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ติดแก๊ส ดีไหม แตกต่างอย่างไร?

icon 11 พ.ค. 58 icon 18,545
ติดแก๊ส ดีไหม แตกต่างอย่างไร?

ติดแก๊ส ดีไหม แตกต่างอย่างไร?
พลังงานทุกอย่างบนโลกนี้ย่อมมีวันหมดสิ้น ทั้งน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน โดยพลังงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ หรือแม้แต่ในระบบการขนส่ง ในรูปแบบแก๊สทั้งแบบ NGV/CNG หรือ LPG ที่ได้มาหลังจากผ่านขบวนการต่างๆ จนได้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อใช้เผาไหม้ในเครื่องยนต์

ในภาพเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล 91 
เป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เพื่อการขนส่งนับวันจะยิ่งลดน้อยลง และยิ่งมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ใช้รถยนต์ส่วนใหญ่มักจะพบปัญหาค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำมันสำหรับรถยนต์ที่สูงลิบลิ่ว จนบางคนจำเป็นต้องหาทางออกเพื่อลดค่าใช้จ่าย ด้วยการหาพลังงานที่สามารถใช้ทดแทนน้ำมันได้ และสิ่งที่ทดแทนได้ดีที่สุดเทียบเท่าหรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำก็คือ "ก๊าซหุงต้มและก๊าซธรรมชาติ"

"ก๊าซ" หรือที่เรียกกันติดปากว่า "แก๊ส" (GAS) ไม่ใช่เรื่องใหม่ของการใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน ในต่างประเทศรถยนต์ที่ใช้ระบบแก๊สนั้นมีมานานกว่า 80 ปีแล้ว โดยประเทศอิตาลีเป็นประเทศแรกๆ ไม่เว้นแม้ในประเทศล้ำสมัยอย่างญี่ปุ่น

รถแท็กซี่รุ่นเก่า - ภาพจาก www.portal.rotfaithai.com
ประเทศไทยในอดีตผู้คนรู้จักและคุ้นเคยจากการได้นั่งรถแท็กซี่หรือรถตุ๊กตุ๊ก ซึ่งส่วนมากใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงหลักสลับกับน้ำมันหรือใช้ทั้ง 2 ระบบ ส่วนบางคันก็ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงหลักเพียงอย่างเดียว โดยถอดระบบจ่ายน้ำมันทิ้งไปเลยก็มี แต่สมัยก่อนนั้นผู้ที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล มักไม่คุ้นเคยและกลัวในเรื่องความอันตราย ไม่ปลอดภัย มีกลิ่นเหม็น ซึ่งในสมัยก่อนทุกอย่างที่ว่ามาอาจจะเป็นจริงแทบทุกประการ! เพราะเทคโนโลยีในการผลิตและติดตั้งระบบแก๊สในรถยนต์นั้นยังไม่สูงมากนัก ประกอบกับรถยนต์สาธารณะมักใช้อุปกรณ์แก๊สใช้งานแล้วจากประเทศญี่ปุ่นเป็นหลักเพื่อลดต้นทุน ส่วนบริษัททำอุปกรณ์แก๊สก็อาจจะผลิตไป ทดลองไป ใช้ไป กว่าจะได้ความเหมาะสมก็ใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน แต่เมื่อถึงยุคปัจจุบันกระบวนการผลิต ระบบการติดตั้ง และการบริการดีขึ้นจากอดีตเป็นอย่างมาก ทั้งปลอดภัย ประหยัด ได้มาตรฐานสูงสุดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ส่วนหนึ่งของภาพยนตร์โฆษณาน้ำมันไร้สารตะกั่วเมื่อปี 2539
ในอดีตเครื่องยนต์ถูกผลิตขึ้นมาให้ใช้น้ำมันที่มีออกเทนสูงและมีสารตะกั่วผสม สารตะกั่วเป็นตัวช่วยหล่อเลี้ยวบ่าวาล์วไม่ให้สึกหรอจากความร้อนของการเผาไหม้ในกระบอกสูบ แต่ในขณะเดียวกันสารตะกั่วก็ก่อให้เกิดผลร้ายตามมาต่อระบบทางเดินหายใจ ผู้ผลิตรถยนต์ต่างก็เริ่มตื่นตัวและหันมาคิดค้นวัสดุที่สามารถทนต่อความร้อนสูงเพื่อใช้ทำบ่าวาล์วแทน ดังนั้นเครื่องยนต์ยุคใหม่ๆ จึงไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันผสมสารตะกั่วอีกต่อไป รวมถึงรถรุ่นใหม่ๆ ที่ติดตั้งระบบแก๊สจึงไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเลี้ยงบ่าวาล์วด้วยเช่นกัน

มิกเซอร์แบบต่างๆ
ส่วนรถยนต์ที่ถูกดัดแปลงมาใช้ระบบแก๊สที่ยังไม่มีระบบหัวฉีดที่แม่นยำเหมือนในปัจจุบัน และยังใช้ระบบดูด (MIXER) ที่เอาอแดปเตอร์ครอบลงไปบนฝาคาร์บูเรเตอร์ หรือถ้าเป็นรถยนต์สมัยใหม่ก็จะติดตรงทางเข้าก่อนถึงลิ้นปีกผีเสื้อ เพื่อให้เครื่องยนต์ดูดอากาศเข้าไปและปล่อยไอของแก๊สที่จะออกมาทางรูเล็กๆ รอบๆ ตัว MIXER ให้เข้าไปคลุกเคล้ากันเองตามยถากรรม 

แต่ไม่ใช่แค่นั้น ในเมื่อเครื่องยนต์รุ่นเก่ายังไม่ได้ใช้ชิ้นส่วนบ่าวาล์วที่แข็งแรงเหมือนปัจจุบัน รถที่ใช้แก๊สก็จำเป็นต้องมี "น้ำมันเครื่อง" หรือ "Auto lube" ต่อท่อเข้าไปผ่าน "MIXER" ไปร่วมผสมด้วย ทำให้มีการเผาไหม้ไม่หมด มีกลิ่นเหม็นและถ้าใส่มากเกินไปควันจะขาวออกปลายท่อ (คล้ายเครื่องหลวม) จากการเผาไหม้น้ำมันหล่อลื่นที่ไม่หมด ผลจากการใช้น้ำมันหล่อเลี้ยงบ่าวาล์วและระบบ MIXER ทำให้ส่วนผสมเชื้อเพลิงและอากาศไม่สมบูรณ์ เกิดมลพิษตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

แต่ระบบแก๊สรถยนต์ในปัจจุบันถูกพัฒนาไปไกลมาก ด้วยระบบหัวฉีดและกล่องควบคุมการฉีดที่พ่วงสัญญาณจากกล่องของเครื่องยนต์หลักๆ ทำให้ได้ความแม่นยำสูงและประหยัดเทียบเท่าการฉีดของน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงงาน และประกอบกับเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่เป็นระบบหัวฉีด หรือที่ผลิตช่วงประมาณปี 1990 ขึ้นไป ชิ้นส่วนเครื่องยนต์โดยเฉพาะบ่าวาวล์วจะใช้วัสดุที่แข็งแรงเป็นพิเศษทนความร้อนสูงๆ ได้สบายๆ ที่สำคัญถูกยกเลิกการผสมสารตะกั่วในน้ำมันเชื้อเพลิงไปแล้วเนื่องจากก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นเรื่องรถใช้แก๊สแล้วบ่าวาล์วสึกหรอมากผิดปกตินั้นนับว่า "น้อยลงหรือเกือบเท่า" รถยนต์ที่ใช้น้ำมันปกติ
ถ้าหากอยากทราบว่าใช้แก๊สแล้วเครื่องยนต์จะพังหรือไม่ลองนั่งแท็กซี่แล้วถามคนขับดูเราจะได้ข้อมูลที่ใช้งานจริง เพราะแท็กซี่ส่วนใหญ่วิ่งเกินสามแสนกิโลเมตรในเวลาเพียงไม่ถึง 3 ปี โดยที่ใช้เครื่องยนต์เดิมติดรถมา มีเพียงการตั้งระยะห่างของวาล์วเท่านั้น (เมื่อได้รับการบำรุงรักษาตามระยะอย่างถูกต้อง)
ข้อแตกต่างของ NGV/CNG และ LPG 

ก๊าซ NGV ซึ่งสากลเรียกว่า Compressed Natural Gas (CNG) หรือ ก๊าซธรรมชาติอัด มีสถานะเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศ เกิดขึ้นจากการนำก๊าซธรรมชาติ (ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน) มาอัดจนมีความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว ดังนั้นจึงต้องสร้างถังที่มีความทนทานสูงมากมีความหนาของขอบถังมาก ส่งผลให้บรรจุเนื้อก๊าซได้น้อยกว่าและน้ำหนักถังมากกว่าถังของ LPG และ NGV มีค่าออกเทนสูงถึง 120 RON

"ก๊าซธรรมชาติ" หรือ CNG/NGV เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากการทับถมสะสมของซากสิ่งมีชีวิตตามชั้นหิน ดิน และในทะเลหลายร้อยล้านปี ซึ่งความร้อนและความกดดันของผิวโลกทำให้มีการเปลี่ยนแปลง จนซากสัตว์และซากพืชเหล่านั้นกลายเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งเรานำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด โดยทั่วไปก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตจะประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด ได้แก่ มีเทน โปรเพน บิวเทน เฮกเซน และก๊าซอื่นๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์
NGV มีสัดส่วนของคาร์บอนน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และมีคุณสมบัติเป็นก๊าซทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์มากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกจากเครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติมีปริมาณต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น NGV จึงนับเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดควันดำหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
 


ขั้นตอนการผลิตและแยกก๊าซแอลพีจี
สําหรับ LPG (Liquefied Petroleum Gas) ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซหุงต้ม ที่ใช้กันในครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงรถแท็กซี่นั้น ประกอบด้วยก๊าซโพร-เพน (Propane) เป็นส่วนใหญ่ มีสถานะหนักกว่าอากาศ โดยตัว LPG เองไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ แต่เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศจึงมีการสะสมและลุกไหม้ได้ง่าย ดังนั้น จึงมีข้อกำหนดให้เติมสารมีกลิ่น เพื่อเป็นการเตือนภัยหากเกิดการรั่วไหล LPG มีค่าออกเทนอยู่ที่ 105 RON แต่ก็นับว่ายังสูงกว่าน้ำมันเบนซินที่จำหน่ายในประเทศไทยที่มีค่าออกเทนสูงสุดเพียง 95 RON เท่านั้น
ในส่วนของค่าออกเทนนั้น NGV (Natural Gas Vehicles) มีค่าออกเทนสูงกว่า LPG คือ มีค่าออกเทนสูงถึง 120 RON จึงสามารถนํามาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้เป็นอย่างดี เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซโพร-เพน (Propane) เป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ  
LPG ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนและกิจการอุตสาหกรรม โดยบรรจุเป็นของเหลวใส่ถังที่ทนความดันเพื่อให้ขนถ่ายง่าย นอกจากนี้ยังนิยมใช้แทนน้ำมันเบนซินในรถยนต์ เนื่องจากราคาถูกกว่า และมีค่าออกเทนสูงกว่า LPG เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน หรือการแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซ มีสถานะเป็นของเหลว ต้องทำให้เป็นก๊าซก่อนนำไปใช้งาน ส่วน NGV มีสถานะเป็นก๊าซเพียงผ่านความดันก็นำไปใช้ได้เลย 

การติดไฟของก๊าซทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกัน
อุณหภูมิที่ก๊าซ NGV จะลุกติดไฟในอากาศเองได้ (เมื่อมีความเข้มข้นของเชื้อเพลิงพอ) สูงถึง 650 องศาเซลเซียส ในขณะที่ก๊าซหุงต้ม (LPG) จะติดไฟได้เองที่ 481 องศาเซลเซียส น้ำมันเบนซินที่ 275 องศาเซลเซียส และน้ำมันดีเซลที่ 250 องศาเซลเซียส 
ส่วนความเข้มข้นขั้นต่ำสุดที่จะลุกติดไฟได้เองของก๊าซ NGV จะต้องมีปริมาณสะสมถึง 5% ในขณะที่ก๊าซหุงต้ม (LPG) จะอยู่ที่ 2.0% จากคุณสมบัติข้างต้นก๊าซ NGV จึงมีโอกาสเกิดการลุกไหม้ได้ยากกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ นอกจากนี้ หากมีการรั่วไหลของก๊าซก็จะเกิดเสียงดังกว่าก๊าซ LPG เนื่องจากภายในระบบมีความดันสูง จึงเป็นสัญญาณเตือนภัยได้อย่างดี
ข้อแตกต่างระหว่าง NGV/CNG และ LPG 

อย่าเพิ่งมึนครับ! นี่เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ให้รู้จักตัวตนของแก๊สว่าแต่ละชนิดมีที่มาอย่างไร อาจไม่สำคัญมากเท่ากับติดตั้งแก๊สให้คุ้มค่าและปลอดภัย เพราะความนิยมพลังงานทางเลือก นอกเหนือจากรถยนต์ไฮบริดที่มีราคาสูงแล้ว เจ้าแก๊สนี่แหละอาจเป็นคำตอบของผู้จำกัดด้านงบประมาณ จึงต้องพึ่งแก๊สแทนการใช้น้ำมันที่อาจแพงขึ้นได้ทุกเมื่อ


แท็กที่เกี่ยวข้อง
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)