ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ล้างแอร์รถยนต์ แบบไหนดี?

icon 4 เม.ย. 60 icon 245,379
ล้างแอร์รถยนต์ แบบไหนดี?

ล้างแอร์รถยนต์ แบบไหนดี?
ระบบปรับอากาศ หรือ แอร์ในรถยนต์ มีส่วนสำคัญในการช่วยรักษาอุณหภูมิภายในรถให้เป็นไปตามความต้องการของผู้โดยสารเพื่อความสะดวกสบาย แต่ในขณะเดียวกันระบบการหมุนเวียนของอากาศภายในห้องผู้โดยสารนั้น ระบบแอร์จะใช้หลักการทำงานโดยการดูดอากาศจากบริเวณช่องวางขาผู้โดยสารตอนหน้าด้วย Blower (พัดลมแอร์) และนำอากาศนั้นส่งผ่านชุดทำความเย็นที่เรียกว่าแผงคอยล์เย็น หรือ Evaporator ซึ่งในรถบางรุ่นจะมีไส้กรองอากาศ ก่อนจะผ่านคอยล์เย็น แต่บางรุ่นอาจไม่มีมาให้ และในรถยุโรปบางรุ่นมีช่องดักอากาศภายนอกให้เข้ามาหมุนเวียนในรถด้วย ถึงแม้จะมีหรือไม่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงความสกปรกที่เกาะติดตรงจุดนี้ได้


สาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดความสกปรกในระบบแอร์ คือ
  • ฝุ่นที่เข้ามาในรถจากการเปิดประตู กระจก ฝุ่นจากรองเท้า สิ่งของต่างๆ ที่อยู่ในรถ
  • เครื่องน้ำหอมทุกชนิด ไม่ว่าจะหอมแค่ไหน เมื่อกลิ่นระเหยแล้วย่อมถูกพัดลมดูดกลับเข้าไปในระบบแอร์อยู่ดี และน้ำหอมมักมีส่วนผสมของสิ่งต่างๆ ที่ไม่ได้ทำจากธรรมชาติ จึงทำให้เมื่อจับตัวกับฝุ่นที่ติดค้างในคอยล์เย็นอยู่แล้ว ให้กลายเป็นเมือกเหนียวๆ เกาะที่ตู้แอร์ และยิ่งจับสิ่งสกปรกให้มากขึ้นไปอีก และมีกลิ่นเหม็นอับตามมา
  • อุปกรณ์ภายในรถที่มีกลิ่นแรง เช่น ผ้ายางปูพื้นที่มักมีกลิ่นยางอ่อนติดมาด้วย, กลิ่นของเบาะหนัง-กาวที่ใช้ในการประกอบชิ้นส่วนภายในรถยนต์ต่างๆ, การล้างทำความสะอาดภายในโดยฝช้น้ำยากลิ่นต่างๆ เคลือบเบาะ พรมและผ้ายางปูพื้น แม้กระทั่งกลิ่นของอาหารที่นำเข้ามาในรถ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นอับด้วย


ด้วยเหตุนี้เองการทำความสะอาดหรือล้างระบบปรับอากาศจึงสำคัญมาก เพราะสิ่งสกปรกต่างๆ ที่ไปอุดตันที่แผงคอยล์เย็นจะก่อให้เกิดความอับชื่น กลิ่นไม่พึงประสงค์ รวมถึงเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคอย่างดีอีกด้วย
วิธีการล้างแอร์
การล้างแอร์ในปัจจุบัน มี 2 วิธีใหญ่ๆ คือ ล้างแบบถอดตู้แอร์และทุกชิ้นส่วนออกมากองข้างนอกรถ แล้วล้างทำความสะอาด และอีกวิธีที่กำลังนิยมกันมากนั่นคือ การล้างแบบไม่ต้องถอดตู้แอร์ โดยใช้เครื่องมือพิเศษต่างๆ 
1. แบบถอดตู้แอร์ออกมาล้างข้างนอก
การล้างระบบแอร์ที่ดีที่สุดคือ การถอดหรือรื้อตู้แอร์ Evaporator (แผงคอยล์เย็น) และ condenser (แผงคอยล์ร้อน) ออกมาทำความสะอาดด้านนอก ซึ่งจะสามารถล้างสิ่งสกปรกตามซอกมุมต่างๆ ได้ดีที่สุด รวมถึงทำความสะอาดท่อลมเป่าแอร์เข้าสู่ห้องโดยสารได้เกือบทุกจุด
แต่มีข้อเสียคือ ต้องทำการแวคคั่มและเติมน้ำยาแอร์ใหม่ เพราะตอนถอดก็ต้องปล่อยน้ำยาทิ้งให้หมด, การรื้อหรือถอดประกอบต้องเป็นช่างที่ชำนาญงานมากๆ ในรถแต่ละรุ่น เพราะอาจเกิดการเสียหายของอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการประกอบกลับมักจะไม่เหมือนเดิมร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างตอนออกจากโรงงานอีกด้วย ทำให้ใช้งานไปนานๆ อาจมีเสียงดังเกิดขึ้นบริเวณคอนโซลได้ และการถอดชิ้นส่วนของระบบแอร์ก็รวมถึงการถอดท่อทางเดินต่างๆ ในระบบด้วย ซึ่งอาจทำให้ชิ้นส่วนเกิดการเสียหายจากการประกอบที่ไม่ชำนาญพอ ใช้เวลาในการล้างกว่าครึ่งวัน รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบริการค่อนข้างสูงประมาณ 1,000-3,000 บาทต่อครั้ง แล้วแต่รุ่นรถและความยากง่ายของการถอด


Evaporator (แผงคอยล์เย็น)

condenser (แผงคอยล์ร้อน)
2. การล้างแบบไม่ถอดตู้แอร์
วิธีการล้างแบบไม่ถอดตู้แอร์เป็นวิธีที่ง่าย ประหยัด และไม่ต้องกลัวเรื่องการประกอบคอนโซลหลังจากรื้อตู้แอร์ แม้วิธีนี้จะได้ผลไม่ 100% แต่ก็อยู่ในระดับที่รับได้นั่นคือประมาณ 70-80% ซึ่งเพียงพอที่จะใช้งานได้อีกสักระยะ 1-2 ปี หรือ 20,000 กม. จากนั้นก็ทำความสะอาดในครั้งต่อไป ซึ่งวิธีล้างแบบนี้มักใช้เครื่องมือพิเศษสำหรับล้างแอร์โดยเฉพาะ เรียกว่าเครื่องล้างตู้แอร์ โดยจะมีเครื่องสร้างแรงดันน้ำยาล้างแอร์, ถังเติมน้ำยาล้าง, น้ำร้อนในอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อสลายคราบสกปรกที่เป็นเมือกเหนียวๆ, ท่อดูดน้ำทิ้ง, ท่อเป่าลมแป้ง หรืออุปกรณ์อื่นๆ ตามแต่รุ่นของเครื่องล้างนั้นๆ ราคาการล้างวิธีนี้อยู่ที่ประมาณ 500 - 1,000 บาทแล้วแต่ร้านหรือเครื่องมือที่ให้บริการ


เราควรจะเลือกการล้างแอร์แบบไหน?
1. การถอดตู้แอร์ออกมาล้างด้านนอก ควรทำเมื่อจำเป็นต้องตรวจเช็คจุดรั่วต่างๆ ในระบบแอร์ เนื่องจากแอร์เริ่มมีปัญหา เช่น น้ำยาทำความเย็นขาด, เติมแล้วหมดไว้, เติมไม่เข้า ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีการถอดชิ้นส่วนออกมาตรวจเช็คอยู่แล้ว หรืออีกกรณีคือ การนำรถเข้าศูนย์บริการโดยตรง ในบางแห่งจะใช้วิธีการรือถอดประกอบออกมาโดยช่างผู้ชำนาญ จึงไว้ใจได้เพราะมีการรับประกันหลังงานซ่อมจากศูนย์ และอีกเหตุผลคือร้านที่ให้บริการมีความชำนาญมากๆ หรือรถรุ่นนั้นๆ สามารถถอดประกอบได้ง่าย มีชิ้นส่วนอื่นเกี่ยวข้องไม่มากนัก ก็สามารถล้างโดยวิธีนี้ได้
2. การล้างแบบไม่ถอดตู้แอร์ หรือที่เรียกกันว่าล้างแบบส่องกล้อง วิธีนี้ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และไม่ต้องกลัวระบบแอร์จะมีปัญหาหลังจากล้างเสร็จแล้ว (หากระบบไม่มีปัญหาใดๆ มาก่อน) วิธีนี้ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 2 ชั่วโมง แล้วแต่รุ่นรถ โดยมีเพียงแค่อุปกรณ์บางอย่าง และถอดชิ้นส่วนเพียงไม่กี่ชิ้นออกมา เพื่อสอดกล้องมองภาพภายในตู้แอร์ เพื่อการฉีดน้ำยาล้างเข้าไปได้ตรงจุด และสะอาดทั่วถึงมากที่สุด

อบโอโซนยิ่งช่วยให้อากาศสะอาดขึ้น
ปัจจุบันเครื่องมือในการล้างระบบแอร์ทันสมัยมากขึ้น เครื่องอบโอโซนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ควรทำคู่กันหลังจากล้างระบบแอร์เสร็จแล้ว เพื่อให้ชิ้นส่วนภายในห้องโดยสาร เช่น พรมในรถ เบาะแบบผ้า ให้สะอาดปราศจากฝุ่นได้ดียิ่งขึ้น
แต่ไม่ว่าวิธีใดก็ตาม การทำความสะอาดระบบปรับอากาศในรถยนต์นั้นก็มีความสำคัญมากๆ เพราะนั่นหมายถึงอากาศที่คุณหายใจเข้าไปทุุกวัน อากาศที่คุณคิดว่าบริสุทธิ์ บางทีก็เป็นตัวการที่ทำให้เราเป็นโรคภูมิแพ้ได้เหมือนกันนะครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้รถทุกคน และเลือกวิธีที่เหมาะสมในการล้างแอร์ให้กับรถคุณได้นะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ล้างแอร์รถยนต์ แบบไหนดี?
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)