ลงทะเบียนแก้หนี้ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้" เงื่อนไข รายละเอียดเป็นอย่างไร เช็กได้ที่นี่!!

ข่าว icon 27 ก.ย. 65 icon 1,371
กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมจัดงาน "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน" เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยมีเจ้าหนี้เข้าร่วมกว่า 60 ราย
 
วัตถุประสงค์ : เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังไม่กลับมาเต็มที่ และอาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
 
รูปแบบการจัดงาน : 
  • ระยะที่ 1 : "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์" จัดให้ลูกหนี้เข้าร่วมลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 65 เวลา 14.00 น. - 30 พ.ย. 65 >>ลงทะเบียนแก้หนี้ออนไลน์
  • ระยะที่ 2 : "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร" จัดงานในช่วงเดือน พ.ย. 65 - ม.ค. 66 โดยมีเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมได้แก่ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีการสัญจรในจังหวัด กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ หาดใหญ่ และ ชลบุรี ลูกหนี้สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 65 เวลา 15.00 น. >>ลงทะเบียนแก้หนี้สัญจร
ระยะเวลาที่เปิดให้ลงทะเบียน : ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 65 - 30 พ.ย. 65
 
ลูกหนี้ที่เข้าร่วมได้ : ลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ จากผลกระทบที่รายได้ยังไม่กลับมา เพราะสถานการณ์โควิด หรือค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
 
เจ้าหนี้ และประเภทหนี้ที่เข้าร่วม : สถาบันการเงิน/ผู้ให้บริการทางการเงิน ภาคเอกชนและภาครัฐ (SFIs) กว่า 60 แห่ง ครอบคลุม หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ จำนำทะเบียนรถ ที่อยู่อาศัย นาโนไฟแนนซ์ สินเชื่อการเกษตร สินเชื่อธุรกิจ หนี้ค่าประกันชดเชย บสย. หนี้ที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) และสินเชื่อของผู้ให้บริการทางการเงินภาครัฐ >>ตรวจสอบเจ้าหนี้และประเภทหนี้ที่เข้าร่วมมหกรรม
 
ขั้นตอน และเงื่อนไขการแก้หนี้ : หลังจากลูกหนี้ลงทะเบียนในช่วงวันที่ 26 ก.ย. – 30 พ.ย. 65 แล้ว เจ้าหนี้จะติดต่อกลับภายใน 18 วัน โดยเจ้าหนี้จะพิจารณาตามสถานะหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้
ข้อควรปฏิบัติ : 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการคำแนะนำ : 
  • ติดต่อที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. โทร. 1213 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.
  • Chatbot หมอหนี้ (Line @doctordebt)
  • ติดต่อ E-mail: debtfair@bot.or.th
"คำเตือน"
  • ลูกหนี้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ควรลงทะเบียนด้วยตนเอง โดยใช้ลิงก์นี้เท่านั้น www.bot.or.th/debtfair
  • ไม่มีค่าดำเนินการใด ๆ ในการเข้าร่วมมหกรรม ฯ ทั้งสิ้น เช่น ค่าลงทะเบียน ค่าค้ำประกัน ค่าปลดล็อก SMS
  • เจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่มีการติดต่อโดยตรงไปที่ลูกหนี้ทุกกรณี และไม่มีการทำธุรกรรมโดยตรงกับประชาชน
  • หากมีเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนจากเจ้าหนี้ ติดต่อท่าน แนะนำให้สอบถาม "เลขที่คำขอ" กับเจ้าหน้าที่ที่ติดต่อมา เพื่อตรวจสอบว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริง ก่อนให้ข้อมูลส่วนตัว
  • หากสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร.1213
ดูข่าว/อีเว้นท์การเงินอื่นๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงการคลัง ​​ธนาคารแห่งประเทศไทย มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ข่าวการเงิน 2565

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)