กสิกรไทยย้ำระวังมิจฉาชีพหลอกโอนเงินจากแอปฯ

ข่าว icon 10 มิ.ย. 65 icon 1,877
​ธนาคารกสิกรไทย รณรงค์ต่อเนื่องแคมเปญ #ใช้สติป้องกันสตางค์ ให้ระวังมุกใหม่แก๊งมิจฉาชีพหลอกล่อลูกค้าให้โอนเงินด้วยการสแกน QR Code ผ่านแอปฯ ของธนาคารต่างๆ หรือล้วงข้อมูลในสมาร์ทโฟน โดยใช้ 3  กลโกง คือ "หลอกให้รับเงินคืนโดยสแกน QR Code – หลอกให้ใช้สินเชื่อเพื่อแลกรับเงินสดคืน – หลอกให้ติดตั้งแอปฯ" ย้ำตั้งสติ ไม่เชื่อ ไม่กด ไม่โหลดแอปฯ ไม่สแกน QR เพื่อรับเงิน เพราะการสแกน QR Code ใช้ได้สำหรับจ่ายเงินเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อรับเงินคืน และไม่คลิกลิงก์หรือติดตั้งแอปฯ แปลกๆ เพราะเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพล้วงข้อมูลส่วนตัวที่มีอยู่ในสมาร์ทโฟนได้
 
ดร. พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารได้รณรงค์ผ่านแคมเปญ "#ใช้สติป้องกันสตางค์" อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ข้อมูลที่เท่าทันกับมิจฉาชีพที่พัฒนาหาวิธีหลอกลวงเหยื่อ โดยปัจจุบันภัยไซเบอร์ขยายวงเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว โดยเฉพาะภัยคุกคามในภาคการเงินที่สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายให้กับลูกค้าธนาคารต่างๆ  ล่าสุด ได้พบการหลอกลวงให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านสมาร์ทโฟน โดยคนร้ายจะแจ้งให้เหยื่อสแกน QR Code เพื่อรับเงิน ซึ่งโดยปกติแล้ว การสแกน QR Code ด้วยแอปฯ จะทำได้สำหรับการจ่ายเงินเท่านั้น ไม่สามารถรับเงินได้ด้วยการสแกน QR Code หรือหลอกให้คลิกลิงก์หรือติดตั้งแอปฯ ที่แฝงมัลแวร์ลงบนสมาร์ทโฟน ซึ่งทำให้สามารถล้วงข้อมูลสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัญชีธนาคาร ข้อมูลยืนยันตัวตน  เป็นต้น

จึงขอแจ้งเตือนให้ลูกค้าและประชาชน ระวังกลโกงใหม่จากมิจฉาชีพที่จะหลอกโอนเงินจากแอปฯ เงินออกจากบัญชีจนหมดและอาจเป็นหนี้เพิ่ม โดยมีมิจฉาชีพ 3 รูปแบบใหม่ที่ต้องระวัง ได้แก่
 
  1. ​​หลอกว่า ได้รับเงินคืน โดยส่ง QR Code ให้สแกน มิจฉาชีพจะปลอมเป็นร้านค้าติดต่อมา โดยอ้างว่าสินค้าหมดและจะคืนเงินให้ โดยให้เหยื่อสแกน QR Code เพื่อรับเงินคืน หรือแจ้งว่า ได้รับรางวัลหรือเงินช่วยเหลือโดยให้สแกน QR Code เพื่อรับเงินรางวัล ขอแจ้งเตือนว่า โดยปกติจะไม่สามารถสแกน QR Code เพื่อรับเงินผ่านแอปฯ (มีแต่สแกน QR Code เพื่อจ่ายเงินเท่านั้น) และทุกครั้งที่สแกน QR Code เพื่อจ่ายเงิน ต้องสังเกตเลขที่บัญชีต้นทาง ปลายทาง จำนวนเงิน ก่อนกดยืนยันการโอนเสมอ
     
  2. หลอกเหยื่อที่ต้องการใช้เงินสดด่วน ให้ใช้สินเชื่อที่มีอยู่จ่ายค่าสินค้าหรือบริการแทนไปก่อน แล้วจะจ่ายคืนให้เป็นเงินสด มิจฉาชีพจะบอกให้เหยื่อใช้สินเชื่อที่มีอยู่ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการให้แทน โดยมีการตกลงว่าจะจ่ายคืนให้เป็นเงินสด แต่สุดท้ายเหยื่อไม่ได้ทั้งเงินคืนแถมเป็นหนี้ธนาคาร ขอแจ้งเตือนว่า สินเชื่อบุคคลบางประเภทไม่สามารถนำวงเงินไปเบิกถอนเป็นเงินสดได้ ควรตรวจสอบเงื่อนไขตามที่ตกลงไว้กับธนาคารโดยตรง
     
  3. หลอกให้คลิกลิงก์หรือติดตั้งแอปฯ แปลก ๆ ด้วยการที่มิจฉาชีพได้ข่มขู่ หลอกให้เหยื่อกลัว โดยแจ้งว่าเหยื่อเข้าไปพัวพันคดี หรือมีอันตราย จำเป็นต้องติดตั้งแอปฯ บนสมาร์ทโฟนเพื่อใช้ตรวจสอบ มีการส่ง Link หรือ QR Code หรือให้ดาวน์โหลดแอปฯ พร้อมหลอกให้บอกรหัส หรือตัวเลข ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในสมาร์ทโฟนได้ทั้งหมด ขอแจ้งเตือนว่า หากไม่เคยติดต่อหน่วยงานที่คนร้ายแอบอ้าง ให้ตัดบทสนทนาทันที อย่าไว้ใจหรือเชื่อคำพูดที่ลวงให้กระทำการใดๆ แม้เป็นคนรู้จัก รวมทั้งเช็กหน่วยงานที่ถูกแอบอ้างเพื่อตรวจสอบข้อมูล 
ขอให้โปรดระวัง "ตั้งสติ ไม่เชื่อ ไม่กด ไม่โหลดแอป ไม่สแกน QR เพื่อรับเงิน" สามารถแจ้งเหตุได้ผ่านช่องทางแจ้งความออนไลน์ https://thaipoliceonline.com  หรือติดต่อ K-Contact Center 02-888-8888
ดูข่าว/อีเว้นท์การเงินอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ธนาคารกสิกรไทย มิจฉาชีพ กลโกงการเงิน ธุรกรรมออนไลน์ โจรออนไลน์ หลอกโอนเงินจากแอปฯ

ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)