7 พฤติกรรมใหม่ที่เปลี่ยนให้คุณมีเงินออม

ข่าว icon 8 ธ.ค. 58 icon 6,122
7 พฤติกรรมใหม่ที่เปลี่ยนให้คุณมีเงินออม


เคยตั้งคำถามกับตัวเองมั้ยว่า... เงินเดือนก็เพิ่มขึ้นทุกปี ได้โบนัสทุกปี แต่ทำไมยังไม่มีเงินเก็บกับเขาสักที? อาจจะเป็นเพราะเมื่อได้เงินมาแล้ว เราชอบเอาไปใช้จ่ายทันทีหรือบางคนคิดว่ามันคือรางวัลของการทำงานมาทั้งปี พฤติกรรมแบบนี้จึงเป็นสาเหตุให้หลายๆ คนมีปัญหาเรื่องเงินไม่พอใช้ ซึ่งในความจริงนั้นเราทุกคนสามารถมีเงินเก็บ เพียงแค่รู้จักเปลี่ยน! วันนี้ K - Expert มี 7 พฤติกรรมที่เราควรเปลี่ยนให้มีเงินออมมากขึ้นมาแนะนำกันค่ะ
1. เริ่มต้นจากสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ทันที
เหรียญ 1 บาท 5 บาท หรือ 10 บาท อย่าคิดว่าไม่มีค่า เพราะนี่คือสิ่งง่ายๆ ที่เราทุกคนทำได้ เพียงแค่หากระเป๋าหรือถุงเล็กๆ หรือกระปุกออมสินมาเอาไว้ใส่เศษเหรียญเหล่านั้น รู้จักเก็บเล็กผสมน้อย ไม่นานก็จะกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ที่มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น
2. กำหนดจำนวนเงินในกระเป๋า
ลองคำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน ว่าต้องใช้อะไรบ้างที่จำเป็น แล้วคำนวณออกมาเป็นรายเดือน ว่าทั้งเดือนเป็นจำนวนเงินเท่าไร แล้วกดเงินออกมาทีเดียว หรือถ้าใครไม่อยากพกเงินสดไว้เยอะๆ ก็อาจจะคำนวณไว้แค่ 1 - 2 สัปดาห์ก็ได้ วิธีนี้จะช่วยให้เราจำกัดจำนวนเงินในการใช้จ่ายมากขึ้น และทำให้เราเลือกใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ตามงบประมาณที่เรามี
3. เก็บเงินแยกไว้ให้ชัดเจน
นอกจากจะแบ่งเงินออมและเงินสำหรับไว้สำหรับใช้จ่ายแล้ว ในส่วนของเงินออมที่เก็บไว้นั้นก็ควรแยกออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ไม่ใช้เลย อาจจะเก็บไว้ในรูปแบบของเงินฝากประจำเท่าๆ กันทุกเดือน และส่วนที่เก็บไว้สำรองใช้ยามฉุกเฉิน เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ซึ่งเงินส่วนที่สองนี้ควรมีอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 - 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน และควรเก็บในบัญชีที่มีสภาพคล่องพอสมควร
4. อย่าซื้อของตามใจชอบ
ควรจะแยกแยะ 'ความจำเป็น' และ 'ความอยาก' ออกจากกัน ประเภทที่เห็นอะไรก็อยากได้ อยากซื้อนั้นเลิกไปได้เลย เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ แม้ว่าจะผ่อน 0% แต่ถ้าหากว่าเราไม่ซื้อ เราก็ไม่ต้องจ่ายเงินและไม่เป็นหนี้อีกด้วย ฉะนั้นก่อนตัดสินใจซื้ออะไรต้องถามตัวเองก่อนเสมอว่า "เรามีความจำเป็นต้องใช้ของสิ่งนั้นมากน้อยแค่ไหน?"
5. ไม่ซื้อของที่มีอยู่แล้วซ้ำอีก
บ่อยครั้งที่เราชอบซื้อของแบบเดิมกลับมา ทั้งที่เคยซื้อของสิ่งนั้นไปแล้ว ดังนั้นเราควรสำรวจสิ่งของที่มีอยู่เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และยังเป็นการช่วยลดรายจ่ายของเราได้อีกด้วย
6. ปาร์ตี้สังสรรค์อย่างพอดี
การทานอาหารนอกบ้านโดยเฉพาะมื้อเย็น หรือวันหยุดนั้นมักจะใช้เงินมากกว่าปกติ ลองเปลี่ยนมาทำอาหารทานเองที่บ้านดู นอกจากจะช่วยประหยัดแล้วยังเป็นการใช้เวลากับคนในครอบครัว จะได้อิ่มทั้งกาย อิ่มทั้งใจไปพร้อมๆ กัน
7. ทุกครั้งที่ใช้บัตรเครดิตต้องระวังอยู่เสมอ
ไม่ควรใช้บัตรเครดิตเกินแผนการเงินที่วางไว้ในตอนแรกและควรใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็น เป็นการใช้ประโยชน์ในแง่ของความสะดวกสบายและลดความเสี่ยงในการถือเงินสดจำนวนมากๆ และจ่ายชำระยอดหนี้บัตรเครดิตเต็มจำนวนทุกครั้ง ไม่ควรจ่ายขั้นต่ำหรือทยอยจ่ายเพราะจะทำให้เกิดหนี้สิน 
ขอขอบคุณ : K - Expert ธนาคารกสิกรไทย

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)