รู้เท่าทัน ... ประกันชีวิต

ข่าว icon 2 ธ.ค. 58 icon 3,773
รู้เท่าทัน ... ประกันชีวิต


"ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพสักคำ" วลีเด็ดของการโฆษณาเชิญชวนของบริษัทประกันชีวิต ในแคมเปญของผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราการแข่งขันที่สูงมากในปัจจุบัน แต่ถึงอย่างไร ตลอดเวลาที่ผ่านมาก็มีคำถาม และการร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นนี้อยู่เป็นระยะ... และล่าสุดที่กลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้
สมัครง่าย จ่ายเคลมยาก?
เมื่อปลายเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ก็ได้มีการเปิดประเด็นในโลกโซเชียลอีกครั้ง พาดพิงถึงบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ประมาณว่ามีการบอกล้างสัญญาประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุที่เสียชีวิตไป แต่กลับมีปัญหาสิทธิประโยชน์ ไม่เป็นไปตามที่มีการโฆษณาเอาไว้ และหลังจากนั้นทางบริษัทประกันฯ ก็ได้มีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ว่าเป็นการทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพ และได้ทำประกันก่อนเสียชีวิตเพียง 3 เดือน โดยกรอกใบสมัครระบุว่า "ไม่มีโรคประจำตัว" ซึ่งเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตลง ผู้รับผลประโยชน์ก็มาขอเคลมสินไหม แต่ทางบริษัทฯ ไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมได้ เนื่องจากผู้เอาประกันผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ "ทางบริษัทฯ ตรวจสอบแล้วว่าลูกค้ารายนั้นไม่ได้เปิดเผยความจริงอันเป็นสาระสำคัญต่อการพิจารณารับประกันภัย ซึ่งถ้าหากทางบริษัทฯ ทราบก็จะไม่เข้าทำสัญญาประกันชีวิต บริษัทฯ จึงได้ใช้สิทธิ์บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว" 
จากกรณีนี้ก็ถือว่าเป็นเคสศึกษาของผู้ที่ต้องการทำประกันชีวิตจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์อะไรก็ตามแต่ เช่น เพื่อคุ้มครองชีวิต หรือแม้กระทั่งเพื่อใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี เป็นต้น จะต้องมีการแถลงความจริง ถ้าหากมีโรคประจำตัวก็ควรแถลงไปตามจริง ส่วนการจะพิจารณารับประกันหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันชีวิตเท่านั้น
รู้เท่าทัน ก่อนทำสัญญา
และถึงแม้ว่าทาง คปภ. มีระเบียบเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนเอาไว้อย่างชัดเจนว่า สำหรับการโฆษณาเสนอขายประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต ประกันวินาศภัยนั้น ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาต้องไม่เป็นเท็จหรือเกินความจริง เข้าใจง่าย ไม่กำกวม ทั้งข้อความที่ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือการจ่ายผลประโยชน์ ซึ่งในมุมนี้รวมถึงการโฆษณาที่ระบุว่า "ไม่ต้องตรวจสุขภาพ" ด้วย 
แต่ถึงอย่างนั้น สิ่งที่สำคัญที่จะแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาวก็คือ การสร้างองค์ความรู้ให้เกิดกับประชาชน โดยเฉพาะในแง่มุมของกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิด และเท่าทันกับกลยุทธ์และกลเม็ดต่างๆ ของบริษัทประกันชีวิต โดยกำหนดกฎหมายตามมาตรา 865 และ มาตรา 893 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจากกฎหมายตรงนี้เป็นการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ถึงแม้ไม่ถามเรื่องสุขภาพก็ต้องตอบเรื่องสุขภาพอยู่ดี เพื่อป้องกันมิให้บริษัทประกันใช้เป็นข้ออ้างในการไม่จ่ายเงินสินไหม จากเหตุที่ผู้เอาประกันปกปิดไม่แจ้งนั่นเอง
และที่สำคัญที่สุดก่อนการทำสัญญาประกัน ผู้บริโภคจะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบด้าน นอกจากนั้นควรใช้ความระมัดระวังแจ้งข้อมูลให้ครบถ้วน ดังเช่นข้อความที่จะได้ยินได้ชมในตอนท้ายของการโฆษณาประกันชีวิตทุกครั้งที่ว่า "ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง" เพื่อให้การทำประกันชีวิต เป็นการรับประกันถึงวันข้างหน้าที่มั่นคงและปลอดภัยอย่างแท้จริง
ขอขอบคุณข้อมูล: นสพ. new 108 ฉบับวันพุธที่ 2 ธ.ค. 2558

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)