ลุ้น IMF เพิ่มเงินหยวนร่วมเป็นสกุลเงินหลักของโลก

ข่าว icon 30 พ.ย. 58 icon 2,115
ลุ้น IMF เพิ่มเงินหยวนร่วมเป็นสกุลเงินหลักของโลก


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จะมีการพิจารณาให้สกุลเงินหยวน (CNY) หรือสกุลเงินเหรินหมินปี้ (RMB) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสกุลเงินหลักของโลก (SDR) เทียบเท่ากับเงินตราต่างประเทศที่มีความสำคัญทั้ง 4 สกุลเงิน ได้แก่ เงินเหรียญสหรัฐ เงินยูโร เงินปอนด์อังกฤษ และเงินเยนของญี่ปุ่น ซึ่งหากหยวนเข้าเป็นส่วนหนึ่งในระบบ จะถือว่าเป็นชัยชนะครั้งสำคัญทางการทูตและการเงินของจีน
SDR ถือว่าเป็นค่าเงินกลางและสินทรัพย์สำรองของ IMF โดยสกุลเงินที่เป็นส่วนหนึ่งของ SDR จะถือว่าเป็นสกุลเงินแข็ง สามารถเก็บเป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศซึ่งสอดคล้องกับสถานะทางเศรษฐกิจของจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก อีกทั้งเงินหยวนยังเป็นสกุลเงินที่ใช้ทำธุรกรรมมาเป็นอันดับ 2 แทนที่เงินยูโร ส่วนอันดับที่ 1 นั้นยังคงเป็นเงินเหรียญสหรัฐ โดยที่จีนนั้นพยายามผลักดันให้เงินหยวนมีสถานะที่ได้รับการยอมรับเทียบเท่ากับเงินสกุลหลักๆ ของโลกมาโดยตลอด และเมื่อปีที่แล้วรัฐบาลจีนยังร้องขอให้รวมเงินหยวนเข้าเป็นกลุ่มเดียวกับสกุลเงินหลัก แต่ได้รับการทัดทานจากบางประเทศ เนื่องจากจีนยังคงใช้มาตราการควบคุมค่าเงินมากเกินไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับคุณสมบัติของสกุลเงินใน SDR ที่จะต้องมีการซื้อขายอย่างเสรี ที่ผ่านมาสหรัฐฯ เป็นประเทศที่แสดงจุดยืนไม่พอใจมาตรการควบคุมค่าเงินของรัฐบาลจีนมาโดยตลอด โดยชี้ว่าจีนได้ควบคุมค่าเงินด้วยการลดค่าเงินหยวนให้ต่ำลงกว่าความเป็นจริง เพื่อเกื้อหนุนภาคการส่งออกของตัวเอง และจากรายงานล่าสุดของกระทรวงการคลังสหรัฐเมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ก็ยังระบุว่า เงินหยวนนั้นมีค่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริง

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินของ IMF และคณะกรรมการบริหารของ IMF กลับสนับสนุนให้รวมเงินหยวนเข้าสู่ตะกร้าหลัก โดยเมื่อช่วงกลางเดือน พ.ย. คริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการ IMF ยังแสดงความเห็นอย่างชัดเจนว่า ต้องการให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลหลักของโลก หลังจากพบว่าเงินหยวนมีคุณสมบัติในการซื้อขายอย่างเสรีมากพอแล้ว และเมื่อคราวที่จีนปรับลดค่าเงินอย่างกระทันหันในเดือน ส.ค. IMF ยังชมเชยว่าเป็นการตัดสินใจที่ตอบรับความเคลื่อนไหวของตลาด
ทั้งนี้ หากเงินหยวนได้รับการอนุมัติให้เป็นส่วนหนึ่งของ SDR จะมีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ก.ย. 2559 ซึ่งครั้งสุดท้ายที่มีการปรับเปลี่ยนตะกร้าเงินคือ เมื่อปี พ.ศ. 2543 เมื่อครั้งที่เงินยูโรเข้ามาแทนที่เงินดอยช์มาร์กของเยอมนี และเงินฟรังก์ของฝรั่งเศส ส่วนอัตราส่วนของ SDR ในขณะนี้ เงินสหรัฐมีสัดส่วน 41.9%, เงินยูโร 37.4%, เงินปอนด์ของอังกฤษ 11.3% และเงินเยนของญี่ปุ่น 9.4% ในตะกร้า 
เพิ่มเติม 
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ซื้อขาย "สกุลเงินหลักของโลก 4 สกุลเงิน"
สกุลเงิน อัตราซื้อถัวเฉลี่ย   อัตราขายถัวเฉลี่ย
ตั๋วเงิน เงินโอน

 USD
35.6404 35.7339 36.0549

EUR
37.5216 37.6249 38.3219

GBP
53.3584 53.5032 54.3712

JPY (ต่อ 100 เยน)
28.8445 28.9305 29.5486
หมายเหตุ: อ้างอิงตามอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทย วันที่ 30 พ.ย. 2558
ขอขอบคุณ : นสพ. M2F ฉบับวันจันทร์ที่ 30 พ.ย. 2558

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)