เทรนด์ภาษีปี 58 Update ใหม่! อะไรใช้ลดหย่อนได้บ้าง?

ข่าว icon 20 พ.ย. 58 icon 11,702
เทรนด์ภาษีปี 58 Update ใหม่! อะไรใช้ลดหย่อนได้บ้าง?


เข้าสู่ช่วงปลายปีแบบนี้ เพื่อนๆ ที่กำลังมองหาตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีน่าจะต้องรู้หลักเกณฑ์ใหม่ในเรื่องของภาษีกันบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จาก K-Expert (ธนาคารกสิกรไทย) มาฝากค่ะ (k-expert.askkbank.com) ซึ่งโดยหลักๆ จะมีอยู่ 4 เกณฑ์ ลองมาดูว่าจะมีเกณฑ์อะไรที่แตกต่างจากปีก่อนๆ บ้าง จะได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ่มค่ามากที่สุดค่ะ 
ในปี พ.ศ. 2558 นี้ ข้อกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปของลดหย่อนภาษีก็คือ เงินได้ที่ใช้ในการคำนวณเพื่อซื้อกองทุน LTF, RMF และประกันชีวิตแบบบำนาญ จากเดิมที่ใช้คำว่า "เงินได้พึงประเมิน" ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปจะเปลี่ยนเป็น "เงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีนั้น" ทำให้รายได้ที่ไม่เสียภาษี เช่น กำไรจากการขายกองทุน LTF แบบถูกเงื่อนไข จะไม่สามารถนำมาเป็นฐานเงินได้เพื่อซื้อ LTF, RMF หรือประกันบำนาญ ได้เหมือนเดิมแล้วนะคะ โดยเราสามารถนำเฉพาะเงินได้ที่เสียภาษีอย่างเงินเดือน ค่าคอมฯ เงินโบนัส ฯลฯ มาเป็นฐานเงินได้เพื่อซื้อตัวช่วยลดหย่อนภาษีกันค่ะ
อีกเกณฑ์หนึ่งที่เพิ่มจะมีผลบังคับใช้กันเลยก็คือ บ้านหลังแรก โดยคนที่ซื้อบ้านหรือคอนโดราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท สามารถนำ 20% ของราคาบ้าน มาหักลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี ถ้าสมมติว่าซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท เราสามารถนำ 20% ของราคา 3 ล้าน ซึ่งก็คือ 6 แสนบาท มากระจายลดหย่อนภาษี 5 ปี หรือปีละ 1.2 แสนบาท ก็ได้ค่ะ ซึ่งเงื่อนไขสำคัญของคนที่ต้องการจะใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้ก็คือ ต้องไม่เคยเป็นเจ้าของบ้านมาก่อน และมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านหรือคอนโดที่ซื้อมาไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งเกณฑ์นี้จะใช้ได้จนถึง 31 ธ.ค. 59 เท่านั้นค่ะ

นอกจากเกณฑ์ที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงในปีนี้ ยังมีเกณฑ์ที่ปรับมาตั้งแต่ปี 2557 และจะสิ้นสุดในปีนี้ (2558) อีกด้วยค่ะ อย่างค่าลดหย่อนภาษีจากการท่องเที่ยว ซึ่งเชื่อว่านักท่องเที่ยวทั้งหลายคงจะไม่พลาดในการใช้สิทธิกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยกำหนดว่า สามารถนำค่าโรงแรมและค่าทัวร์ในไทยมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และเราที่ไปเที่ยวในปีนี้ก็อย่าลืมขอบิลในชื่อของตัวเอง และเก็บไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษีกันด้วยนะคะ

(รูปภาพจาก: travel.sanook.com)
และสุดท้ายสำหรับใครที่ชอบทำบุญ เงินบริจาคให้กับการศึกษาและการกีฬา เช่น บริจาคเงินให้โรงเรียนของรัฐ หรือบริจาคเงินให้สมาคมกีฬา สามารถนำยอดเงินบริจาคไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่จ่ายจริง โดยต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้ที่หักค่าลดหย่อนอื่นๆ มาแล้ว เช่น ถ้ารายได้หลังหักค่าลดหย่อนต่างๆ ที่ยังไม่รวมเงินบริจาคเท่ากับ 5 แสนบาท ก็สามารถหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ไม่เกิน 50,000 บาท และถ้าเป็นเงินบริจาคการศึกษาและกีฬาด้วยแล้ว บริจาคเพียง 25,000 บาท ก็จะลดหย่อนได้เต็มสิทธิแล้วค่ะ อย่าช้านะคะ เพราะสิทธิลดหย่อนจากเงินบริจาค 2 เท่านี้ จะสิ้นสุดในปี 2558 เหมือนกันกับค่าลดหย่อนจากการท่องเที่ยวค่ะ

(รูปภาพจาก: news.phuketindex.com)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: K-Expert ธนาคารกสิกรไทย, k-expert.askkbank.com

แท็กที่เกี่ยวข้อง


ข่าวและอีเว้นท์การเงินล่าสุด

ธอส. นำโปรโมชันสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรกเพียง 1.99% ต่อปี ร่วมงาน "Thailand Smart Money ระยอง ครั้งที่ 7" ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2567
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ ซูเปอร์ ซีเนียร์ ได้ดอกเบี้ยสูง 2.2% ต่อปี ฟรีประกันอุบัติเหตุ สูงสุด 3 ล้านบาท*
MONEY EXPO 2024 BANGKOK เปิดยิ่งใหญ่ ชู 7 โซนบริการการเงินการลงทุนครบวงจร แบงก์ นอนแบงก์ ประกัน เสิร์ฟโปรโมชั่นแรงแห่งปี
ออมสิน ออกสินเชื่อต้อนรับเปิดเทอม แบ่งเบาภาระผู้ปกครองตามนโยบายรัฐ ครอบคลุมค่าเทอม ชุดนักเรียน และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน ผ่อนนาน 1 ปี


เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)