10 คำถามประกันภัย ไขข้อข้องใจที่คุณต้องรู้

icon 29 ก.พ. 67 icon 23,475
10 คำถามประกันภัย ไขข้อข้องใจที่คุณต้องรู้
ปัจจุบันคนหันมาให้ความสนใจที่จะซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพกันมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นตัวช่วยค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือเป็นทุนสำรองให้กับคนข้างหลังหากผู้ทำประกันเสียชีวิต หรือยังได้รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีประจำปีอีกด้วย ซึ่งการทำประกันจะมีทั้งในรูปแบบออนไลน์ หรือการตกลงซื้อประกันภัยโดยตรงกับตัวแทนต่างๆ ซึ่งก่อน หรือหลังจากที่เราตัดสินใจซื้อประกันภัยแล้วยังมีเรื่องอะไรที่เราต้องรู้อีกบ้าง  ตามไปดูกันค่ะ 
 
1. หากซื้อประกันอุบัติเหตุ (PA) มากกว่า 1 กรมธรรม์ สามารถเคลมได้ทุกกรมธรรม์หรือไม่
 
ในกรมธรรม์อุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ส่วนของค่ารักษาพยาบาลบริษัทจะจ่ายตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ในส่วนของค่าสินไหมทดแทนมรณกรรม สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพ หรือค่าชดเชยรายวันกรณีรักษาในโรงพยาบาล ผู้เอาประกันภัยซื้อกี่กรมธรรม์จะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ทุกกรมธรรม์

2. การชื้อประกันชีวิตและ/หรือการประกันสุขภาพ มีการชำระเบี้ยประกันภัยล่าช้า บริษัทประกันชีวิตไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน ต้องทำอย่างไร
 
โดยทั่วไปการประกันชีวิตจะมีรูปแบบการชำระเบี้ยประกันภัยตามที่ตกลงไว้กับบริษัทประกันภัย เช่น รายเดือน ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน รายปี หรือชำระครั้งเดียว ผู้เอาประกันภัยควรชำระเบี้ยประกันภัยให้ตรงตามเวลาที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตจะกำหนดระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยไว้ เช่น 31 วัน 30 วัน (ให้ดูในเงื่อนไขกรมธรรม์) ซึ่งหากมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในช่วงระยะเวลาดังกล่าว บริษัทประกันภัยก็จะจ่ายผลประโยชน์ให้โดยหักค่าเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ได้ชำระในช่วงระยะเวลาผ่อนผันออก

หากผู้เอาประกันภัยยังไม่ได้ชำระเบี้ยประกันภัยจนพ้นระยะเวลาผ่อนผัน ถ้ากรมธรรม์ประกันชีวิตมีมูลค่ากรมธรรม์แล้ว บริษัทประกันภัยจะกู้ชำระเบี้ยประกันภัยให้โดยอัติโนมัติ เมื่อมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยหักเบี้ยประกันภัยที่ค้างทั้งหมดบวกดอกเบี้ย และถ้ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่มีมูลค่ากรมธรรม์ กรมธรรม์จะสิ้นผลบังคับผู้เอาประกันภัยไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้

3. บริษัทประกันภัยสามารถปฏิเสธการคุ้มครองโรค ภายหลังจาการตรวจร่างกายหรือไม่
 
หากตรวจพบว่าเป็นโรค บริษัทประกันภัยอาจพิจารณารับประกันชีวิตโดยมีการเพิ่มเบี้ยประกันชีวิต หรือไม่รับประกันชีวิตได้

4. การซื้อประกันชีวิตแบบออนไลน์แตกต่างจากการซื้อผ่านตัวแทนประกันชีวิตอย่างไร
 
การซื้อประกันชีวิตแบบออนไลน์ ประชาชนผู้เอาประกันภัยต้องศึกษาแบบประกันชีวิตด้วยตัวเอง ซึ่งเบี้ยประกันภัยจะถูกกว่าซื้อผ่านตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต แต่จะไม่มีผู้ให้บริการที่อำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ ให้ ซึ่งในประเทศไทยยังไม่ได้เป็นการขายออนไลน์อย่างแท้จริง

5. ในกรณีที่นายหน้าหรือตัวแทนประกันชีวิต ไม่ดำเนินการแจ้งยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตของลูกค้าต่อบริษัทประกันภัย ควรทำอย่างไร
 
การยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตกับนายหน้าหรือตัวแทนประกันชีวิต ควรเก็บสำเนาหนังสือแจ้งการขอยกเลิก เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันกับบริษัท และสอบถามการดำเนินการจากบริษัทโดยตรง หากบริษัทไม่ได้รับเรื่องหรือผู้เอาประกันภัยไม่มีหลักฐานการขอยกเลิกกรมธรรม์ควรร้องเรียนที่บริษัทก่อน และหากบริษัทไม่ได้ดำเนินการใดๆ ผู้เอาประกันภัยสามารถมาร้องเรียนที่สำนักงาน คปภ. ได้

6. ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนตัวผู้รับประโยชน์ต้องทำอย่างไร
 
ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องการเปลี่ยนตัวผู้รับประโยชน์ จะต้องแจ้งกับบริษัทประกันภัย แต่ถ้ามีการส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้ทำหนังสือแจ้งบริษัทประกันภัยว่าตนจะเป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิตนั้น เมื่อเกิดกรณีดังกล่าวข้างต้น ผู้เอาประกันภัยย่อมไม่สามารถโอนประโยชน์ใด ๆ ตามสัญญาประกันชีวิตไปยังบุคคลอื่นได้
 
7. บริษัทประกันภัยสามารถบอกยกเลิกการประกันสุขภาพได้หรือไม่
 
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพเป็นสัญญาปีต่อปี หากบริษัทประกันภัยพบว่าผู้เอาประกันภัยทุจริต หรือแถลงข้อมูลเท็จ บริษัทอาจบอกเลิกได้ทันที และไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้
 
8. การขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตที่เสนอขายผ่านทางโทรศัพท์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
 
หากผู้เอาประกันภัยประสงค์จะขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ซื้อผ่านทางโทรศัพท์ สามารถแจ้งบริษัทประกันภัยเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมแนบกรมธรรม์ประกันชีวิต และส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงบริษัทที่รับประกันภัย ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ประกันภัย 
 
โดยจะได้รับเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปทั้งหมดคืน อย่างไรก็ดี ในกรณีขอยกเลิกภายหลัง 30 วัน ต้องพิจารณาระยะเวลาที่ขอยกเลิกภายหลัง 30 วันนั้นว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินส่วนหนึ่ง เรียกว่า เงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในตารางมูลค่ากรมธรรม์ในกรมธรรม์ ซึ่งคำนวณจากการนำเบี้ยประกันภัยหักค่าคุ้มครองและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในช่วงเวลาที่ความคุ้มครองเกิดขึ้นแล้ว
 
9. การขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิต ต้องทำอย่างไร
 
การขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถทำได้ ซึ่งต้องดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับเบี้ยประกันภัยคืน แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายฉบับละ 500 บาท และค่าตรวจสุขภาพ (ถ้ามี) สำหรับการยกเลิกการทำประกันภัย ผู้เอาประกันภัยต้องส่งหนังสือแจ้งการยกเลิกทำประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยคืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงบริษัทโดยตรงในกรณีขอยกเลิกภายหลัง 15 วัน ต้องพิจารณาว่ากรมธรรม์ประกันชีวิต มีเงินค่าเวนคืนหรือยัง ถ้ายังไม่มีจะไม่ได้รับเงินคืนเลย แต่ถ้ามีเงินค่าเวนคืนเกิดขึ้นแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินค่าเวนคืน ซึ่งจะน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่ส่งไป

10. การทำประกันชีวิตสามารถใช้หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เท่าไหร่บ้าง
 
เบี้ยประกันภัยชีวิต และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรได้ดังนี้
  1. เบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุด 100,000 บาท
     
  2. เบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ ดังนี้

    ขั้นตอนที่ 1 นำเบี้ยประกันชีวิตรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ใช้หักลดหย่อนภาษีเงินได้ 100,000 บาท

    ขั้นตอนที่ 2 นำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหลือจากขั้นที่ 1 ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินสูงสุด แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนเพื่อการเกษียณ อื่นๆ เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ขอบคุณข้อมูลจาก www.oic.or.th
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันสุขภาพ ประกันภัย ประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)