ไม่มีรายได้ประจำ ทำบัตรเครดิตได้หรือไม่!

icon 18 ธ.ค. 66 icon 27,456
ไม่มีรายได้ประจำ ทำบัตรเครดิตได้หรือไม่!
ไม่มีรายได้ประจำ หมายความว่าไม่มีงานที่ทำในลักษณะของงานประจำหรืองานที่มีรายได้มาตรฐานที่เข้ามาเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์ เช่น กลุ่มฟรีแลนซ์ หรือนักศึกษาที่ไม่มีรายได้ประจำ แต่อาจมีรายได้จากงานอิสระหรือโครงการชั่วคราว เป็นต้น แล้วจริงหรือไม่! หากไม่มีรายได้ประจำสมัครบัตรเครดิตไม่ได้ คำตอบคือ "ไม่จริง" ค่ะ ปัจจุบันการจะสมัครบัตรเครดิตสักใบไม่ใช่เรื่องยาก เพราะธนาคารเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำสามารถสมัครบัตรเครดิตโดยใช้บัญชีเงินฝากค้ำประกันได้ แต่จะมีรายละเอียด และเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ไปดูกัน!!
 
บัตรเครดิตแบบใช้เงินค้ำประกันคืออะไร
 
หากต้องการสมัครบัตรเครดิตสักใบ เพียงเลือกธนาคาร และประเภทบัตรเครดิตที่ตั้งใจจะสมัคร และนำเงินไปฝากกับธนาคารนั้นๆ เพื่อใช้ค้ำประกันเงินในบัตรเครดิต ซึ่งธนาคารจะอนุมัติวงเงินให้ 90% - 100% จำนวนเงินที่ฝากแต่ต้องไม่น้อยกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารได้กำหนดไว้ โดยการฝากเงินนี้สามารถเลือกประเภทการฝากเงินได้ ไม่ว่าจะเป็น การฝากแบบออมทรัพย์ หรือฝากประจำ และจะได้รับดอกเบี้ยตามเงื่อนไขประเภทบัญชีที่เปิด แต่จะไม่สามารถนำเงินออกมาใช้ได้จนกว่าจะทำการยกเลิกบัตรเครดิตนะคะ
 
เอกสาร/หลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการสมัครบัตรเครดิตแบบใช้บัญชีเงินฝากค้ำประกัน
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาบัตรนักศึกษา (กรณีผู้สมัครเป็นนักศึกษา)
  • สมุดบัญชีเงินฝากที่ต้องการใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (บางธนาคารอาจใช้เพียงสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
    *อาจมีเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติม โปรดสอบถามข้อมูลที่ธนาคารที่สนใจสมัครบัตรเครดิตอีกครั้ง
วงเงินที่จะได้รับกรณีสมัครบัตรเครดิตแบบใช้เงินฝากค้ำประกัน
 
โดยปกติธนาคารจะให้วงเงินบัตรเครดิต 90% - 100% ของจำนวนเงินฝากที่ค้ำประกันในบัญชี โดยเราขอสรุปวงเงินของแต่ละธนาคาร (บางส่วน) ไว้ดังนี้
ธนาคาร/บริษัทบัตรเครดิต วงเงินฝากในบัญชีขั้นต่ำ วงเงินบัตรเครดิต (% ของวงเงินฝาก)
บัตรกรุงศรี
  • กรณีนักศึกษา : 10,000 บาท
  • กรณีบุคคลทั่วไป : 40,000 บาท
90%
บัตรเครดิตกสิกรไทย 15,000 บาท 100%
บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ 20,000 บาท 100%
บัตรเครดิตคาร์ดเอ็กซ์
  • บัตร CardX Ultra Platinum : 15,000 - 6,000,000 บาท
  • บัตร CardX UP2ME : 15,000 - 3,000,000 บาท
  • บัตร CardX Family Plus : 15,000 - 3,000,000 บาท
  • บัตร CardX King Power Platinum : 15,000 - 6,000,000 บาท
  • บัตร CardX My Travel : 35,000 - 6,000,000
  • บัตร CardX Beyond : 70,000 - 6,000,000
100%
บัตรกรุงไทย (KTC)
  • KTC Visa Platinum และ KTC Titanium MasterCard : 20,000 บาท 
  • KTC X Signature : 100,000 บาท
    *ไม่จำกัดยอดเงินฝากสูงสุด
100%
ตัวอย่างการสมัครบัตรเครดิตโดยใช้บัญชีเงินฝากค้ำประกัน 
สรุปแล้ว บัตรเครดิตแบบเงินฝากค้ำประกันนอกจากสมัครง่าย เพราะใช้เงินฝากในบัญชีของเราเป็นหลักประกันแล้ว ยังช่วยให้เราสามารถควบคุมค่าใช้จ่าย วางแผนการใช้เงินได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับการนำไปใช้จ่ายยามฉุกเฉินเพราะมีการกำหนดวงเงินตายตัว และไม่สามารถขอเพิ่มวงเงินฉุกเฉินได้นะคะ หากใครสนใจสมัครบัตรเครดิตประเภทนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากธนาคาร หรือบริษัทบัตรเครดิตที่สนใจได้เลยค่ะ 
 
ดูบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม >> เปรียบเทียบบัตรเครดิตสำหรับนักศึกษา
 
ดูบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม >> เช็คราคา! ส่องโปรโมชัน "สมัครบัตรเครดิต" ... แบงก์ไหนโปรฯ ดีกว่า แบงก์ไหนน่าสมัคร?
 
สอบถามข้อมูลความรู้เรื่องสินเชื่อเพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง สมัครบัตรเครดิต บัตรเครดิตเงินฝากค้ำประกัน หลักประกันบัตรเครดิต บัตรเครดิตนักศึกษา ฟรีแลนซ์สมัครบัตรเครดิต นักศึกษาสมัครบัตรเครดิต
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)