เงินเดือนเท่านี้ ควรซื้อ SSF หรือ RMF เท่าไหร่ดี ​ ​​

icon 15 พ.ย. 65 icon 8,467
เงินเดือนเท่านี้ ควรซื้อ SSF หรือ RMF เท่าไหร่ดี ​ ​​
ไตรมาสสุดท้ายของปี เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์เงินเดือน รวมถึงผู้มีเงินได้ทุกคน จะเริ่มคำนวณเงินได้ของตนเอง เพื่อดูว่าจะลดหย่อนภาษีอย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่ง 1 ในสิทธิลดหย่อนภาษียอดฮิตของมนุษย์เงินเดือน คือกองทุนรวม SSF และ RMF นั่นเอง เพราะนอกจากจะได้ลดหย่อนภาษีแล้ว ยังได้ออมเงินระยะยาวอีกด้วย
 
สำหรับใครที่อยากรู้ว่าควรซื้อ SSF หรือ RMF เท่าไหร่ บทความนี้จะมาคำนวณให้เพื่อนๆ ดู
 
การลงทุนซื้อ SSF และ RMF ให้คุ้มค่า
 
คำนวณเงินได้ในปีนั้นๆ : ในฐานะที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือน จะค่อนข้างคำนวณเงินได้ค่อนข้างง่าย เพราะในแต่ละเดือนจะได้รับสลิปเงินเดือนที่มีตัวเลขรายได้สะสม ตัวเลขการจ่ายประกันสังคม รวมถึงตัวเลขเงินออมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund ทำให้เห็นตัวเลขภาพรวมและคำนวณภาษีได้ง่าย
 
และในแต่ละปีจะได้ใบ 50 ทวิ หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากบริษัทมาด้วย ทำให้เราสามารถกรอกตัวเลขในการยื่นภาษีช่วงเดือนมีนาคมของทุกปีได้ง่าย รวมถึงจะช่วยให้สามารถประเมินเงินได้ในปีถัดไปได้สะดวกมากขึ้น
 
ศึกษาเรื่องสิทธิลดหย่อนภาษีประจำปี : ในแต่ละปีจะมีสิทธิลดหย่อนภาษีที่แตกต่างกันไป แต่สิทธิที่เพื่อนๆ มนุษย์เงินเดือนควรรู้มีอยู่ 8 ประเภทหลัก
 
ทยอยลงทุนแบบ DCA : การทยอยการลงทุน นอกจากจะช่วยให้เราไม่ต้องใช้เงินก้อนในการลงทุน ยังช่วยให้เราสร้างวินัย รวมถึงการถัวเฉลี่ยต้นทุนด้วย ในเดือนที่ราคากองทุนลดลง เราจะซื้อได้ในราคาที่ต่ำ ในเดือนที่ราคากองทุนปรับสูงขึ้น เราจะซื้อได้ในราคาที่สูง แต่การทยอยลงทุนจะช่วยให้เราได้ถั่วเฉลี่ยต้นทุนนั่นเอง
 
เงินเดือนเท่านี้ ต้องซื้อ SSF RMF เท่าไหร่
 
หลังจากที่ได้รู้เรื่องสิทธิลดหย่อนภาษีแล้ว มาดูกันต่อว่าเงินเดือนของเราควรแบ่งไปซื้อ SSF หรือ RMF เท่าไหร่ดี โดยการคำนวณนี้คือสมมติฐานของมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ทางเดียว โสด และอิงจากสิทธิลดหย่อนขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนได้เหมือนกัน ได้แก่
  • ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • ประกันสังคม 9,000 บาท
นั่นหมายความว่า หากเพื่อนๆ มีสิทธิลดหย่อนส่วนอื่นๆ ร่วมด้วย จำนวนในการซื้อ SSF RMF จะน้อยกว่าในตารางด้านล่างนี้
 
 
ตัวอย่างการคำนวณ
 
เงินเดือน 25,000 บาท จำนวนภาษีที่ต้องจ่าย คือ 0 บาท เนื่องจากเงินได้สุทธิขั้นบันได้แรกไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี จึงไม่มีความจำเป็นต้องซื้อ
 
เงินเดือน 30,000 บาท จำนวนภาษีที่ต้องจ่าย คือ 2,050 บาท คิดเป็นการซื้อ SSF RMF ที่ 41,000 บาท เป็นการคำนวณโดยลดหย่อนจาก SSF RMF เพียงอย่างเดียว จึงนำรายได้สุทธิ 191,000 บาท ไปหัก 150,000 บาท เพื่อให้เหลือเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จะได้ไม่เสียภาษี ซึ่งจะซื้อ SSF หรือ RMF หรือจะซื้อรวมกันก็ได้
 
แต่เพื่อนๆ ไม่จำเป็นต้องซื้อเต็มจำนวน เนื่องจากเป็นจำนวนเงินที่สูง แต่อาจส่งผลต่อสภาพคล่องในชีวิตประจำวันได้ อีก 1 วิธีในการลดจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย คือ การซื้อเพื่อลดฐานภาษี เช่น เสียภาษีที่ฐาน 10% ซื้อ SSF RMF เพื่อให้ฐานภาษีเหลือ 5% ช่วยให้เพื่อนๆ ลดภาระการจ่ายภาษีลงได้
 
ในบทความนี้เพื่อนๆ น่าจะได้เห็นตัวเลขคร่าวๆ แล้วว่าเราควรซื้อ SSF RMF เท่าไหร่ แต่อย่าลืมว่าสิทธิลดหย่อนภาษีไม่ได้มีเพียง SSF RMF เท่านั้น ยังมีทั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกัน ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย เงินบริจาค ฯลฯ ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณกันแล้ว จะช่วยให้ลดหย่อนภาษีได้คุ้มค่ามากขึ้นนะครับwink
แท็กที่เกี่ยวข้อง ลดหย่อนภาษี กองทุน rmf กองทุนลดหย่อนภาษี กองทุน SSF ลดหย่อนภาษีปี 2565 บทความกองทุน 2565
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)