เมื่อเงินเฟ้อไทยพุ่งขึ้นสูง ควรลงทุนอย่างไร?

icon 19 ก.ค. 65 icon 42,016
เมื่อเงินเฟ้อไทยพุ่งขึ้นสูง ควรลงทุนอย่างไร?
ย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ระบุว่าเงินเฟ้อเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว แต่สถานการณ์ปัจจุบันในตอนนี้ นอกจากเงินเฟ้อไม่ลดลงแล้วยังมาเจอกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้เงินเฟ้อกลับเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วมากขึ้นไปอีก
 
จากต้นทุนด้านพลังงาน สินค้าด้านอาหาร และค่าขนส่ง สะท้อนว่าเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง การเกิดเงินเฟ้อที่สูงส่งผลให้อำนาจซื้อของเงินสดลดลง ขณะเดียวกัน Fed ก็เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอเงินเฟ้อ สร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์การเงินไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ กองทุนอสังหาฯ และ REITs เพราะเมื่อดอกเบี้ยขึ้น สินทรัพย์การเงินจะถูกปรับลดมูลค่า
 
นักลงทุนต่างมีคำถามว่าในเมื่ออำนาจเงินในกระเป๋าก็ลดลง จะต้องลงทุนอย่างไรเพื่อปกป้องเงินจากเงินเฟ้อ บทความนี้จะมาเล่าให้ฟังว่าในสถานการณ์ที่เงินเฟ้อไทยพุ่งสูงแบบนี้ ควรลงทุนในสินทรัพย์ใดบ้าง ซึ่งในบทความนี้จะมาแนะนำ 3 สินทรัพย์การเงินด้วยกัน ได้แก่ พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ กองทุนรวมอ้างอิงเงินเฟ้อ และทองคำ
 
พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation-Linked Bond)
 
พันธบัตรประเภทนี้ตอบโจทย์นักลงทุนที่ต้องการให้ได้ผลตอบแทนสัมพันธ์กับอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับนักลงทุนประกอบด้วย 2 ส่วน คือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real yield) ซึ่งถูกกำหนดไว้คงที่ และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตามเงินเฟ้อ ซึ่งอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์ ส่วนเงินต้นก็ปรับขึ้นตามเงินเฟ้อเช่นกันเพื่อรักษาอำนาจซื้อของเงินลงทุน
 
พันธบัตรประเภทนี้มีปริมาณไม่มากและเป็นนักลงทุนสถาบันที่เข้าถึง แต่นักลงทุนทั่วไปก็สามารถลงทุนได้เช่นกัน แถมใช้เงินไม่มากด้วย โดยการลงทุนผ่านกองทุนรวม
 
กองทุนเปิดกรุงไทยอ้างอิงเงินเฟ้อ (KTILF)
 
"กองทุนเปิดกรุงไทยอ้างอิงเงินเฟ้อ" หรือ "KTILF" เป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรประเภทชดเชยเงินเฟ้อ ดังนั้นหากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของประเทศไทยยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบแบบเดือนต่อเดือน (MoM) ราคาของกองทุนก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนที่ชดเชยเงินเฟ้อในช่วงนี้ เรียกได้ว่าผลตอบแทนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อ
 
ดังนั้นในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเมื่อเทียบแบบเดือนต่อเดือน (MoM) กองทุนก็มีโอกาสให้ผลตอบแทนติดลบได้เช่นกัน นักลงทุนจึงต้องติดตามแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ด้วยการติดตามเบื้องต้นจากราคาน้ำมัน อาหารสด ค่าไฟฟ้า เป็นต้น

ทองคำ
 
อีกหนึ่งสินทรัพย์สุดคลาสสิกที่ทุกตำราต้องแนะนำให้ลงทุนเมื่อมีภาวะเงินเฟ้อสูง คือ ทองคำ แต่ราคาในตลาดโลกแทบไม่ขยับแถมปรับตัวลงด้วยซ้ำ แล้วทองคำจะเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้อย่างไร? คำตอบคือ ป้องกันได้
 
การป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อของทองคำต้องอาศัยประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยน โดยประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงขึ้น สกุลเงินของประเทศนั้นก็จะอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ ดังนั้นหากนักลงทุนซื้อทองคำในสกุลเงินของประเทศตนเอง เมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น สกุลเงินของประเทศอ่อนค่า นักลงทุนก็จะได้กำไรจากราคาทองคำที่คิดในสกุลเงินของประเทศตนเอง
ยกตัวอย่างเช่น ซื้อทองคำที่เยาวราช ราคาตลาดโลกอยู่ที่ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อัตราแลกเปลี่ยน 32 บาทต่อดอลลาร์ คิดเป็น 27,378.93 บาทต่อ 1 บาททองคำ จากนั้นเงินเฟ้อก็เพิ่มขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าไปที่ 35 บาทต่อดอลลาร์ แต่ราคาทองคำในตลาดโลกยังอยู่ที่ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ราคาทองคำในสกุลเงินบาทเพิ่มขึ้นเป็น 29,945.70 บาทต่อ 1 บาททองคำ ได้กำไร 8.57% โดยที่ราคาทองคำในตลาดโลกไม่เปลี่ยนแปลงเลย
 
ดังนั้นการลงทุนทองคำเพื่อป้องความเสี่ยงเงินเฟ้อต้องลงทุนทองคำในสกุลเงินของประเทศตนเอง สำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการเก็บทองคำแท่งหรือต้องการทยอยลงทุน กองทุนรวมเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์นี้ โดยนักลงทุนต้องเลือกกองทุนทองคำที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้ผลตอบแทนสัมพันธ์กับราคาทองคำเมื่อคิดเป็นสกุลเงินบาท
 
เช่น กองทุน TMBGOLD และ SCBGOLD ซึ่งต่างลงทุนใน SPDR Gold Trust ซึ่งกองทุนดังกล่าวจัดตั้งและจัดการโดย World Gold Trust Services สร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวราคาทองคำที่คิดเป็นสกุลเงินบาท

แม้จะหาสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนปกป้องความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ค่อนข้างยาก แต่ยังมีพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ และทองคำ ซึ่งอาจต้องใช้กลไกด้านอัตราแลกเปลี่ยนควบคู่ไปด้วย อย่างไรก็ตามไม่มีสินทรัพย์การเงินใดที่ทำผลตอบแทนได้ดีทุกสภาวะเศรษฐกิจ นักลงทุนยังคงต้องแบ่งสัดส่วนการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงต่อเงินลงทุนของตนเองด้วย :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง ทองคำ เงินเฟ้อ ภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาเงินเฟ้อ พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ กองทุนรวมอ้างอิงเงินเฟ้อ
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)