หุ้นก็ตก ดอกเบี้ยก็ต่ำ ทำยังไงกับเงินออมดี? 2 คู่ซี้เปิดใจครั้งนี้ทำไมเลือกออมเงินกับ "สลากออมสินดิจิทัล"

icon 30 มิ.ย. 65 icon 8,011
หุ้นก็ตก ดอกเบี้ยก็ต่ำ ทำยังไงกับเงินออมดี? 2 คู่ซี้เปิดใจครั้งนี้ทำไมเลือกออมเงินกับ "สลากออมสินดิจิทัล"
เมื่อเราทำงานมีรายได้ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดความคิดที่อยากจะออมเงิน หรือลงทุน เพื่อให้เงินงอกเงยเพิ่มขึ้น แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ที่หุ้นก็ตก ดอกเบี้ยก็ต่ำ หลายคนที่สามารถจัดการบริหารเงินได้ พอมีเงินเหลือที่จะเก็บออมก็ต้องกลับมานั่งคิดแล้วว่า จะทำยังไงกับเงินก้อนนี้ดี และวันนี้...เราได้มีโอกาสสอบถามความคิดเห็นเรื่องเงินออมกับ 2 คู่ซี้ GURU ด้านอสังหาริมทรัพย์ และ GURU ด้านสินค้าไอที อย่างคุณแก้ม และคุณเจน ซึ่งทั้ง 2 คนก็อยู่ในสายงานที่พอจะมองเห็นเทรนด์การเติบโต เช่น การเลือกลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือเทรนด์การใช้จ่ายของผู้คนไปกับสิ่งของฟุ่มเฟือยต่างๆ ดังนั้น การที่ GURU คู่ซี้อย่างคุณแก้ม และคุณเจน ตัดสินใจเลือกการออมเงินกับสลากออมสินดิจิทัล ของธนาคารออมสิน ต้องมีเหตุผลอะไรที่น่าฉุกคิด และเป็นเรื่องที่น่าสนใจแน่นอนค่ะ 
 
ก่อนอื่นเราขอแนะนำข้อดีของการออมเงินกับสลากออมสินดิจิทัลไว้เป็นข้อมูลก่อน ดังนี้ค่ะ 
 

รู้จัก GURU อสังหาฯ / GURU สินค้าไอที 2 คู่ซี้ ที่เปิดใจเลือกออมเงินกับ "สลากออมสินดิจิทัล"
วันนี้เราอยู่กับ "คุณแก้ม" GURU ด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่เห็นความเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทรนด์การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มาตลอด และ "คุณเจน" GURU ด้านสินค้าไอที อย่างโทรศัพท์มือถือ และ Gadget ต่างๆ ที่มองเห็นการเปลี่ยนแปลงในมุมคิดของผู้ใช้ของฟุ่มเฟือย และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสินค้าประเภทนี้  และวันนี้เราจะมาคุยกันถึงแนวคิดเรื่องการออมเงิน กับ GURU คู่ซี้ทั้ง 2 ท่านนี้กันนะคะ 
 
มีการจัดการบริหารเงินของตัวเองอย่างไรบ้าง  

สำหรับคุณแก้ม และคุณเจน เป็นพนักงานประจำ ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งก็จะมีรายได้จากเงินเดือนเป็นหลัก เรามาดูกันว่า ทั้ง 2 คน มีการจัดสรร รายได้ รายจ่าย และเงินออมกันอย่างไรบ้างนะคะ

 : ปกติมีรายได้ทางเดียวก็คืองานปัจจุบันที่ทำอยู่เลยค่ะ การจัดสรรก็จะแบ่งเงินเดือนออกเป็น 3 ส่วน
  • ส่วนแรกเป็น รายจ่ายแบบฟิกซ์ที่ต้องจ่ายทุกเดือน ได้แก่ ค่าผ่อนคอนโด ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ เป็นต้น 
  • ส่วนที่สองเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ซึ่งก็จะรวมทั้งค่ากิน ค่าเดินทาง และค่าซื้อของบันเทิงต่างๆ 
  • ส่วนสุดท้ายเป็นเงินเก็บซึ่งจะมากน้อยขึ้นอยู่กับใช้เงินส่วนที่สองไปมากเท่าไหร่ ซึ่งก็จะเก็บได้บ้างไม่ไ่ด้บ้าง แล้วแต่เดือนค่ะ 555
  : ปกติของเจน รายได้หลักก็คือเงินเดือนจากงานประจำเหมือนกันค่ะ ซึ่งในส่วนของเจนก็คือ พอเงินเดือนเข้ามาปุ้บ ก็จะจัดสรรเงินเป็น 3 ส่วนค่ะ โดยจะแบ่งสัดส่วนเป็นเปอร์เซนต์ คือ
  • จัดการกับรายจ่ายก่อนเป็นอันดับแรกเลย ประมาณ 70% คือเจนจะจ่ายให้หมดภายในวันเดียว หลักๆ ของเจนเนี่ย ที่ต้องจ่ายแน่ๆ เลยก็คือ ค่าผ่อนที่ดิน แล้วก็ค่าบัตรเครดิตค่ะ
  • ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ประมาณ 20% เช่น ค่ากิน ใช้ ค่าเดินทาง ซื้อของจำเป็นต่างๆ
  • ส่วนที่เหลืออีก 10% ก็จะเป็นส่วนของเงินเก็บ เงินออม ซึ่งช่วงนี่ของเจนก็จะมีเอาเงินส่วนที่จะเก็บออมไปลองทำอะไรที่ไม่เคยทำ เผื่อจะมีรายได้เพิ่มเติมจากช่องทางอื่นๆ มาบ้าง จะขาดทุนมั้ยนะ (หัวเราะ)
จากการจัดสรรเงินของทั้งคุณแก้ม และคุณเจน ก็จะเห็นว่ามีการแบ่งสัดส่วนที่ค่อนข้างชัดเจน ทั้งรายจ่าย และเงินออมนะคะ และเราจะมาดูกันว่าทั้ง 2 คน ที่มุมมองในเรื่องการออมเงินอย่างไรบ้าง 
 
มุมมองในเรื่องของการออมเงินในรูปแบบต่างๆ เป็นอย่างไร (และ/หรือ มีการลงทุนในรูปแบบใดอยู่บ้าง) 

 : ในช่วงที่รายจ่ายไม่มาก ก็จะทำให้เราเก็บเงินเพิ่มขึ้นได้บ้าง แต่พอช่วงไหนที่รายจ่ายเยอะ มีรายจ่ายที่ไม่คาดฝันเยอะ เช่นต้องซื้อของใช้แบบฉุกเฉิน ทำให้เราต้องหยิบยืมเงินเก็บมา บ่อยครั้งก็เผลอเอามาซื้ออะไรบันเทิงใจมากเกินไป เลยเริ่มคิดว่า ถ้าเรามีเงินสดกับตัวก็จะทำให้เราไม่มีวินัยในการใช้เงินได้ เลยเริ่มมองหาการแปลงเงินสดเป็นรูปแบบอื่น
 
ตอนแรกเห็นว่าการออมเงินที่ง่าย และสะดวกคือการซื้อสลากออมสินดิจิทัล ต่อมาก็เริ่มศึกษาเรื่องการออมเงินในหลากหลายช่องทางมากขึ้น เช่น ออมทอง หรือซื้อเงินสกุลต่างประเทศ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการออมในรูปแบบที่ไม่ซับซ้อนมากค่ะ เพราะเคยศึกษาเรื่องคริปโตฯ แล้วบอกตรงๆ ว่ายอมแพ้ค่ะ
 
 : มุมมองทางด้านการออมเงิน ส่วนตัวแล้วต้องยอมรับว่าตัวเองค่อนข้างแคบเรื่องนี้มากๆ เรียกว่าไม่ค่อยได้ใส่ใจเท่าไหร่ แต่ก่อนมีเหลือเท่าไหร่ก็คือโยนเก็บเท่านั้น ตอนไม่พอก็ค่อยควักออกมาใช้ มันเลยดูไม่ค่อยเป็นการออมเงินเท่าไหร่ เพราะเราโยกเข้าโยกออกตลอด
 
พอมาช่วงหลังที่เศรษฐกิจย่ำแย่ งานฝิ่นไม่มีแล้ว ก็คิดขึ้นมาว่าเราอยู่แบบนี้ไม่ได้แล้วมั้ง ก็เลยเริ่มมองหาอะไรที่มันพอได้อะไรกลับมาบ้างนิดๆ หน่อยๆ ก็ยังดี เลยเริ่มมองหาหนทาง มีไปขอคำแนะนำคนอื่นๆ ดู ซึ่งตอนนี้ก็ลองอยู่ 2 แบบ ก็คือ ซื้อเงินแลกเก็บไว้ กับซื้อสลากออมสินค่ะ แล้วตอนนี้ก็เล็งๆ ออมทอง ที่แก้มแนะมำมา กับวอลเล็ต สบม. ที่ซื้อผ่านแอปฯ เป๋าตังค์ได้ ตัวนี้ยังไม่ได้ลอง เพราะยังทำความเข้าใจอยู่ แล้วก็มีซื้อสลากดิจิทัลกับธนาคารออมสินค่ะ 
 
เหตุผลที่เลือกออมเงินด้วยการซื้อสลากออมสิน (และเลือกแบบดิจิทัลเพราะอะไร) 
 
จากมุมมองเรื่องการออมเงิน หรือการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ที่คุณแก้ม และคุณเจน กล่าวมาข้างต้น แล้วสรุป ทำไมมาเลือกที่จะออมเงินกับ "สลากออมสินดิจิทัล" 

 : อย่างที่ได้บอกไปค่ะว่า อยากแปลงเงินสดให้อยู่ในรูปแบบอื่น จากที่ศึกษาด้วยตัวเองแล้วเห็นว่า สลากออมสินดิจิทัลนั้นค่อนข้างทำได้ง่าย และดำเนินการได้สะดวก เพียงแค่ไปเปิดบัญชีธนาคารออมสิน  โหลดแอป Mymo แล้วซื้อสลากออมสินดิจิทัลผ่านแอปฯ ได้เลย จากการคำนวณดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธนาคารที่เราฝากไว้อยู่ก่อนหน้านี้ เมื่อเทียบกับสลากออมสินดิจิทัลแล้วมันพอๆ กันเลยค่ะ แถมยังได้ลุ้นรางวัลใหญ่ด้วย
 
  : ถ้าพูดถึงในส่วนของการออมเงินด้วยสลากออมสิน ถ้าถามว่าทำไมถึงเลือก?  คือเจนรู้สึกว่าถ้าเรามีเงินวางอยู่เปล่าๆ แต่ถ้ามันมีหนทางที่จะมีอะไรงอกขึ้นอีกสักนิดหรือมีอะไรให้ลุ้นอีกสักหน่อย เราลองดูก็น่าไม่เสียหาย ซึ่งถ้าดูจริง ๆ ดอกเบี้ยก็ไม่ได้มากกว่าการฝากธนาคารปกติ แต่ได้ลุ้นว่าเรา (อาจจะ) ได้รางวัลเพิ่มก็ดีนะ แถมเงินต้นก็ไม่ได้หายไปไหน ถึงเวลาก็ได้คืน ส่วนว่าทำไมถึงเลือกเป็นแบบดิจิทัล ต้องเกริ่นก่อนว่าเจนค่อนข้าง introvert หนักนะ พยายามเลือกอะไรที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนให้น้อยที่สุด
 
พอศึกษาดูแล้วเราก็เล็งเห็นว่า โอเค เราทำเองได้ ไม่ต้องไปธนาคาร ไม่ต้องสัมพันธ์กับใคร ยกเว้นแค่ครั้งแรกที่จะทำการยืนยันเพื่อเปิดบัญชีซื้อสลากที่อาจจะต้องให้เจ้าหน้าที่ธนาคารเป็นคนจัดการให้ หลังจากนั้นก็คือ… สบาย อยากซื้อ-ถอนคืน ตอนไหนก็ได้ตามที่เราต้องการ แม้จะไม่ตลอด 24 ชั่วโมง แต่พูดง่ายๆ ก็คือมัน "ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์" เรามากๆ ค่ะ แล้วอีกอย่างคือเจนไม่ได้มีเป็นเงินก้อนใหญ่ๆ ไปซื้อ แต่จะใช้วิธีทยอยซื้อเป็นเดือนๆ ไปตามกำลัง บางเดือนส่วนที่ใช้จ่ายเหลือ ก็อาจจะเอาไปซื้อเพิ่ม กดเข้าแอปฯ กดซื้อเลย จบแล้ว คือมันไม่ต้องลำบากเดินทางไปไหน แล้วตอนถูกรางวัลก็โอนเข้าบัญชีคู่ฝากให้เลยในวันที่ถัดจากวันออกรางวัล สรุปคือดีค่ะ
 
ความคาดหวังจากการออมเงินในรูปแบบของสลากออมสิน
 
  : ก็หวังว่าจะถูกรางวัลใหญ่ๆ บ้างนะ 555
 
  : เอาจริงๆ ก็คาดหวังว่าะถูกรางวัลใหญ่ๆ กับเขาบ้างนะ ชีวิตนี้ยังมีหวัง (หัวเราะ) ซึ่งในส่วนของดอกเบี้ยจริงๆ ก็ไม่ได้คาดหวังมาก แบบว่าถ้าได้เยอะหน่อยก็ดี ได้น้อยก็ไม่เป็นไร ไม่ได้เลยก็โอเคอยู่นะ ขออย่างเดียวอย่าหาย ฮ่าๆ

สำหรับสลากออมสินแบบดิจิทัลก็จะมีอยู่ 2 แบบให้เลือก ก็คือแบบฝาก 1 ปี กับ 2 ปี แบบฝาก 1 ปี ก็คือจะไม่ได้ดอกเบี้ย แต่ลุ้นรางวัลไปทุกเดือนๆ ส่วนแบบ 2 ปี ก็จะมีดอกเบี้ยให้ด้วย แล้วก็ลุ้นรางวัลไปด้วย ตอนแรกที่ทดลองก็เลยลองทั้ง 2 แบบเลย เพราะเจนจะไม่ค่อยได้มองในส่วนของดอกเบี้ยเลย แต่ขอลองให้รู้ก่อน ซึ่งตอนนี้ก็ทดลองมาได้ประมาณ 5 เดือนแล้ว ก็ค้นพบว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนโชคดีขนาดนั้น ถ้าเป็นแบบมีดอกเบี้ยกรุบกริบๆ ก็น่าจะดีนะ พอคิดได้ก็เลยโยกเอาส่วนของสลาก 1 ปี มาซื้อ 2 ปีแทนแล้วค่ะ ได้มีเงินเก็บ ได้ดอกอีกนิดหน่อย ได้ลุ้นถูกรางวัล โอเคแหละ พอแล้ว และถึงจะออมครั้งละไม่มาก แต่ตอนที่ฝากได้ 2 เดือน เจนก็มีถูกรางวัลด้วยนะคะ ได้มา 20 บาท (ยิ้ม)
 
มัดรวมข้อมูลสลากออมสินที่ธนาคารออมสินเปิดจำหน่ายอยู่ ณ ปัจจุบัน
 
มาปิดท้ายกันกับข้อมูลสลากออมสินที่ธนาคารออมสินเปิดจำหน่ายอยู่ ณ ปัจจุบัน ว่ามีสลากประเภทไหน จำหน่ายอยู่บ้าง เพื่อไว้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับคนที่ต้องการออมเงินในรูปแบบสลากออมสินเหมือน คุณแก้ม และคุณเจน นะคะ :)
 

สรุป…จากเรื่องราวของคุณแก้ม และคุณเจน ก็ถือเป็นวิถีของพนักงานออฟฟิศ ที่หลายๆ คนก็อาจจะบอกว่า "ใช่ไง พนักงานเงินเดือน ก็มีรูปแบบการเงินกันประมาณนี้" แต่...เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่สามารถจัดการวางแผนการเงินให้ออกมาเป็นรูปแบบที่ชัดเจนได้ อาจจะด้วยข้ออ้างต่างๆ นาๆ เช่น เงินเดือนน้อย ใช้แค่พอเดือนชนเดือน จะเอาที่ไหนมาเก็บ หรือการไม่พยายามเรียนรู้ หรือไม่พยายามทำความเข้าใจ รูปแบบการออม การลงทุนต่างๆ บอกว่า ยากบ้างล่ะ ต้องใช้เงินเยอะบ้างล่ะ ขอเพียงแค่คุณมองในมุมกลับ การที่เรามีเงิน อยากออมเงิน เราควรเริ่มจากตรงไหน  และเริ่มที่อะไร... 
 
เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการปรับ Mindset ของตัวเอง อยากออมต้องได้ออม ได้เงินมา พยายามแบ่งออมก่อนเลย มากบ้างน้อยบ้างเอาตามที่เราสะดวก แต่ขออย่าขาดเรื่องการออม ให้ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ เมื่อเห็นจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นๆ เรื่อยๆ คุณก็จะยิ่งมีกำลังใจ และอยากออมเพิ่มขึ้นเองค่ะ 
 
ที่สำคัญ ไม่ว่าเราจะอยู่ในแวดวงไหน สังคมเป็นอย่างไร เช่น คุณแก้มที่อยู่ และได้รู้เรื่องเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อยู่ตลอด ซึ่งหากคุณแก้มอยากกระโดดเข้าไปในแวดวงนั้นก็อาจจะทำให้สามารถทำกำไร และได้เงินมากจำนวนหนึ่งเลย หรือคุณเจนที่อยู่ในแวดวงไอที ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด สมมติถ้าคุณเจนเป็นคนที่ชอบเปลี่ยนแปลงตามกระแสสังคม เช่น มีโทรศัพท์รุ่นไหนออกใหม่ไม่ได้ จะต้องจับจองเป็นเจ้าของ ก็อาจจะทำให้เกิดผลกระทบในการจัดสรรเงินรายเดือนได้ การที่ทั้งคุณแก้ม และคุณเจน เลือกที่จะจัดสรรการเงินแบบพอตัว ตามไลฟ์สไตล์ และความถนัดของตนเอง ก็นับเป็นทางเลือกที่ดี และมันก็ประสบความสำเร็จตามรูปแบบที่เลือกนั่นเองค่ะ 
 
สุดท้าย หวังว่าคุณผู้อ่านบทสัมภาษณ์นี้ จะได้แง่คิด และมุมมองในการออมเงินไม่มากก็น้อยนะคะ ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร มีรายได้มากน้อยแค่ไหน เพียงแค่คุณสามารถบริหาร และจัดสรรเงินของคุณให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ สร้างวินัยให้กับตัวเองได้ การออมเงิน ไม่ว่าจะมาก หรือน้อย ก็ถือว่าคุณประสบความสำเร็จไปอีกหนึ่งขั้นแล้วค่ะ หรือถ้าใครยังไม่รู้จะเลือกออมเงินแบบไหน จะลองเปิดใจออมเงินกับสลากออมสินดิจิทัล เหมือนคุณแก้ม และคุณเจน ก็เป็นทางเลือกที่ดีนะคะwink
แท็กที่เกี่ยวข้อง สลากออมสิน สลากออมสินพิเศษ สลากออมสินดิจิทัล รูปแบบการออมเงิน
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)