รู้จักค่าธรรมเนียมกองทุนรวม ลงทุนอย่างไรให้ประหยัดค่าธรรมเนียม

icon 24 พ.ค. 65 icon 4,757
รู้จักค่าธรรมเนียมกองทุนรวม ลงทุนอย่างไรให้ประหยัดค่าธรรมเนียม
การลงทุนกองทุนรวมนอกจากจะนึกถึงผลตอบแทนแล้ว นักลงทุนควรคำนึงถึงค่าธรรมเนียมกองทุนด้วย เพราะค่าธรรมเนียมเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนของกองทุนรวมด้วยเหมือนกัน เพื่อนๆ ที่ยังสงสัยว่าค่าธรรมเนียมของกองทุนรวมที่ต้องเสียมีอะไรบ้าง? ต้องดูอย่างไร? และซื้อกองทุนยังไงให้ประหยัดค่าธรรมเนียม? บทความนี้มีคำตอบ
 

ค่าธรรมเนียมกองทุน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผลตอบแทนกองทุน

ค่าธรรมเนียมเป็นรายได้ที่กองทุนหักจากเงินลงทุนเริ่มต้นของผู้ลงทุนและสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ของกองทุน รายได้จากค่าธรรมเนียมจะถูกแบ่งให้กับทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายและการบริหารกองทุน ซึ่งในโลกของการลงทุนทุกประเภทจะมีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่าค่าธรรมเนียมอยู่แล้ว แต่การลงทุนผ่านกองทุนรวมจะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น มีค่าธรรมเนียมที่หักจากสินทรัพย์สุทธิซึ่งเรียกเก็บเป็นรายปี
 
ดังนั้นเรื่องค่าธรรมเนียมจึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผลตอบแทนกองทุน ยกตัวอย่างเช่น มีกองทุน A และ B ลงทุนสินทรัพย์เดียวกัน แต่กองทุน A เรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงกว่าอีกกองทุน B ดังนั้นกองทุน A มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนต่ำกว่ากองทุน B ทำให้การคัดเลือกกองทุนต้องคำนึงถึงค่าธรรมเนียมด้วย
แต่ก่อนอื่นต้องไปรู้จักกับค่าธรรมเนียมกองทุนกันก่อน..
 

ทำความรู้จักค่าธรรมเนียมกองทุนในหนังสือชี้ชวน (Fund Fact Sheet)

ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fund Fact Sheet) จะเปิดเผยค่าธรรมเนียมกองทุนซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  • ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย
  • ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม

ประเภทที่ 1 ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย

ค่าธรรมเนียมส่วนนี้เกิดขึ้นตอนซื้อและขายหน่วยลงทุน คิดเป็น % ของมูลค่าการซื้อขาย และจะหักออกจากมูลค่าเงินลงทุน หลังบลจ. ยืนยันคำสั่งซื้อขายเรียบร้อย เช่น ซื้อกองทุน 1,000 บาท มีค่าธรรมเนียมซื้อ 1% จำนวนเงินที่ปรากฏในพอร์ตลงทุนหลังจาก บลจ. ยืนยันคำสั่งจะเป็น 990 บาท

ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย ประกอบด้วย

  • ค่าธรรมเนียมขาย (Front-End) : ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตอนนักลงทุนซื้อกองทุน
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้า (Switching-In) : ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตอนที่นักลงทุนย้ายเงินลงทุนจากกองทุนอื่นใน บลจ. เดียวกัน เข้ามายังกองทุน
  • ค่าธรรมเนียมซื้อ (Back-End ): ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตอนนักลงทุนขายกองทุน
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก (Switching-Out) : ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตอนที่นักลงทุนย้ายเงินลงทุนออกจากกองทุนไปยังกองทุนอื่นใน บลจ. เดียวกัน
  • ค่าธรรมเนียมการโอน (Transfer Fee) : ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิ์ในหน่วยลงทุนของกองทุนให้บุคคลอื่น
  • ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อมีการซื้อ ขาย สับเปลี่ยน (Transaction Fee) : ค่าใช้จ่ายที่กองทุนใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น ค่าธรรมเนียมการซื้อหุ้น
  • ค่าปรับกรณีขายคืนและสับเปลี่ยนออกก่อนระยะเวลาที่กำหนด (Exit Fee) : บางกองทุนจะมีการกำหนดระยะเวลาถือครองหน่วยลงทุน หากผู้ถือหน่วยลงทุนขายก่อนเวลาที่กำหนดจะถูกเก็บค่าปรับ
  • บางครั้งกองทุนอาจไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมขายหรือซื้อ แต่จะเก็บในรูปส่วนต่างราคาระหว่างราคาเสนอขาย (Offer) และราคาเสนอซื้อ (Bid) เรียกว่า Spread

ประเภทที่ 2 ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม

ค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะไม่เรียกเก็บจากเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง กองทุนจะหักจากสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ทุกวัน โดยจะคิดเป็น % ต่อปี เช่น กองทุนเก็บค่าบริหารจัดการปีละ 2% ต่อปี เท่ากับ 2%/365 จะได้ 0.0055% ต่อวัน โดย NAV ที่นักลงทุนเห็นรายวันนั้นจะหักสุทธิจากส่วนนี้แล้ว
 
Fund Fact Sheet กองทุนรวม B-INNOTECH เดือนเมษายน 2565
 

ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม ประกอบด้วย

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) : เป็นรายได้ของผู้จัดการกองทุน กองทุนที่มีนโยบายการบริหารแบบ Active จะมีค่าธรรมเนียมส่วนนี้สูงกว่าแบบ Passive
  • ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee Fee) : ค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ดูแลผลประโยชน์ที่รับรองสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ของกองทุน รวมไปถึงดูแลผลประโยชน์ตามนโยบายของกองทุน
  • ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน (Registrar Fee) : ค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ดูแลรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนและสิทธิประโยชน์ และยังมีค่าใช้จ่ายอื่นที่นำไว้ใช้สำหรับค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์กองทุน ค่าผู้สอบบัญชี ค่าใช้จ่ายในการจัดทำและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน

เลือกลงทุนยังไงให้ประหยัดค่าธรรมเนียม

  • เลือกกองทุนรวมที่ค่าธรรมเนียมต่ำเมื่อเทียบกับกองทุนรวมประเภทเดียวกัน : ต้องเปรียบเทียบกองทุนรวมที่มีนโยบายการบริหารและลงทุนในสินทรัพย์ที่คล้ายกัน เช่น กองทุนรวม SET50 ควรเปรียบเทียบกองทุนในกลุ่มที่มีนโยบายการบริหารแบบ Passive ซึ่งลงทุนให้มีผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง SET50 ไม่ควรเปรียบเทียบกับกองทุนที่มีนโยบายการบริหารแบบ Active ซึ่งต้องการสร้างผลตอบแทนให้ดีกว่าดัชนีอ้างอิง SET50 เพราะมีนโยบายการบริหารที่ต่างกัน ค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันอย่างแน่นอน
  • เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมกับผลตอบแทน : ต้องเปรียบเทียบผลตอบแทนต่อปีว่าคุ้มค่ากับค่าธรรมเนียมหรือไม่
  • ไม่ควรซื้อขายบ่อยจนเกินไป : ผู้ลงทุนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยทุกครั้งที่มีการซื้อขาย ดังนั้นยิ่งซื้อขายบ่อยจะยิ่งเสียค่าธรรมเนียมส่วนนี้มากขึ้น
และนี่ก็คือประเภทของค่าธรรมเนียมทั้งหมด ที่ทีมงานนำมาฝากเพื่อนๆ กัน หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ เข้าใจค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายมากขึ้น และนำไปประยุกต์ใช้ในการเลือกกองทุนให้ประหยัดค่าธรรมเนียมมากที่สุด
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน กองทุน กองทุนรวม ค่าธรรมเนียมกองทุน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)