5 ปัจจัยในการคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุด

icon 21 เม.ย. 65 icon 10,701
5 ปัจจัยในการคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุด
กองทุนรวมมีมากมายหลายประเภท หลายระดับความเสี่ยง ตั้งแต่กองทุนตลาดเงินที่มีระดับความเสี่ยงต่ำที่สุด ไปจนถึงกองทุนรวมหุ้น หรือกองทุนรวมทางเลือกอย่างกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมน้ำมัน กองทุนรวมทองคำที่มีระดับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมา หรือแม้กระทั่งกองทุนรวมประหยัดภาษี SSF RMF ซึ่งในประเทศไทยมีกองทุนรวมทั้งหมดเป็นหลักพันกองทุน ดังนั้นเวลาจะคัดเลือกหากองทุนที่ดีที่สุด ควรใช้ปัจจัยอะไรพิจารณาบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
 
แต่ก่อนจะไปดูปัจจัยในการคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุด เพื่อนๆ ควรรู้เป้าหมายในการลงทุนของตัวเองก่อน ว่าลงทุนไปเพื่ออะไร ระยะเวลาเท่าไหร่ รับความเสี่ยงได้เท่าไหร่ เพื่อหาประเภทกองทุนรวมที่เหมาะสม ก่อนจะไปคัดเลือกกองทุน
  • หากเพื่อนๆ ต้องการลงทุนระยะสั้น ไม่เกิน 3 ปี ประเภทกองทุนรวมที่เหมาะสม คือ สินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ อย่างกองทุนรวมตราสารหนี้
  • หากเพื่อนๆ ต้องการลงทุนระยะกลาง ตั้งแต่ 3-7 ปี ประเภทกองทุนรวมที่เหมาะสม คือ สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นมา อย่างกองทุนรวมผสม ที่มีการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ในสัดส่วน 40:60 50:50 หรือ 60:40
  • หากเพื่อนๆ ต้องการลงทุนระยะสูง ตั้งแต่ 7 ปี ประเภทกองทุนรวมที่เหมาะสม คือ สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างกองทุนรวมหุ้น

5 ปัจจัยในการคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุด

หลังจากได้ที่ได้วิเคราะห์แล้วว่าเป้าหมายการลงทุนของเราเหมาะกับกองทุนรวมประเภทไหน เรามาดูกันต่อเลยว่า การคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุด จะต้องดูจากปัจจัยอะไรบ้าง..
 

1. ผลการดำเนินงาน (Performance)

ผลการดำเนินงานของกองทุนรวม เป็นปัจจัยที่ชี้ให้นักลงทุนเห็นว่า กองทุนรวมนี้ทำผลตอบแทนได้เป็นอย่างไรในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ควรดูย้อนหลัง 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี (ถ้ามี) เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าในแต่ละช่วงเวลา กองทุนรวมนี้ทำผลตอบแทนได้เป็นอย่างไรภาพการคัดเลือกกองทุนรวมหุ้นเทคโนโลยีจากผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี และ 3 ปี
ที่มา: https://www.finnomena.com/fund/filter
 
 
ภาพการคัดเลือกกองทุนรวมหุ้นเทคโนโลยีจากผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี และ 3 ปี
ที่มา: https://www.finnomena.com/fund/filter
 

2. ความผันผวน (Standard Deviation)

ปัจจัยที่ควรดูลำดับต่อมาคือ Standard Deviation หรือค่าความผันผวน ขึ้นชื่อเรื่องการลงทุนต้องมีความเสี่ยงมาควบคู่มาอย่างแน่นอน ดังนั้นการที่เราเลือกกองทุนรวมจากผลตอบแทนย้อนหลังเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ ควรดูค่าความผันผวนร่วมด้วย หากมีค่าความผันผวนมากเกินไป อาจจะไม่คุ้มเสี่ยงในการเลือกกองทุนรวมกองนี้
 
 
ภาพผลตอบแทนกองทุนรวมหุ้นเทคโนโลยี เมื่อคัดเลือกจากความผันผวนที่ 30% และ 20%
ที่มา: https://www.finnomena.com/fund/filter 
 

3. ผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความผันผวน (Sharpe Ratio)

วิธีการหาค่า Sharpe Ratio คือนำผลตอบแทนหารด้วยความผันผวน (Performance/Standard Deviation) อัตราส่วนนี้ยิ่งค่าสูง ยิ่งดี แสดงให้เห็นว่ากองทุนรวมนี้สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี ด้วยความเสี่ยงที่น้อย
 
ตัวอย่าง
  • กองทุนรวม A มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ที่ 20% มีความผันผวนที่ 20%
  • กองทุนรวม B มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ที่ 15% มีความผันผวนที่ 10%
  • ดังนั้นค่า Sharpe Ratio ของกองทุน A = 1 ส่วนกองทุน B = 1.5
  • จากตัวอย่างนี้ทำให้เห็นว่ากองทุนที่สามารถสร้างตอบแทนได้มากกว่าอาจไม่ใช่กองทุนที่ดีเสมอไป เพราะต้องแลกกับความผันผวนที่ตามมา ในตัวอย่างนี้กองทุน B น่าสนใจมากกว่า
 
ภาพค่า Sharpe Ratio ของกองทุนรวมหุ้นเทคโนโลยี
ที่มา: https://www.finnomena.com/fund/filter 

 

4. ผลขาดทุนสูงสุดของกองทุนรวม (Maximum Drawdown)

เป็นปัจจัยที่ช่วยให้นักลงทุนรู้ว่า เวลาที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กองทุนรวมนี้สามารถรักษาผลขาดทุนได้ดีเพียงใด แสดงให้เห็นความสามารถในการควบคุมความเสี่ยงของผู้จัดการกองทุน เพราะฉะนั้นค่า Maximum Drawdown ยิ่งน้อย ยิ่งดี เพราะหากกองทุนไหนมีค่า Maximum Drawdown ที่ติดลบสูงๆ หรือ ขาดทุนเยอะ กว่าจะสามารถกลับมาทำผลตอบแทนได้ จะใช้เวลานานกว่ากองทุนที่มีค่า Maximum Drawdown ที่ติดลบน้อยกว่า
 
ภาพค่า Maximum Drawdown ของกองทุนรวมหุ้นเทคโนโลยี
ที่มา: https://www.finnomena.com/fund/filter 

5. ค่าธรรมเนียม

ปัจจัยสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ เรื่องของค่าธรรมเนียม นักลงทุนควรเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมกับกองทุนในประเภทเดียวกันเท่านั้น เพราะกองทุนต่างประเภทมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน ถ้ากองทุนรวมมีผลตอบแทนเท่ากัน การที่เราเลือกลงทุนในกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมต่ำกว่า จะช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้
 
เมื่อเพื่อนๆ พิจารณาการเลือกกองทุนรวมจาก 5 ปัจจัยนี้ จะช่วยให้สามารถคัดเลือกกองทุนได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน แต่ทีมงานต้องขอบอกไว้อีกอย่างว่า ไม่มีกองทุนไหนดีที่สุดในทุกช่วงเวลา ดังนั้นเพื่อนๆ ควรหมั่นทบทวนพอร์ตการลงทุนทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อปรับกองทุนรวมให้เเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน กองทุนรวม ลงทุนกองทุนรวม
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)