รวมแพคกองทุนตราสารหนี้ สู้วิกฤตตลาดหุ้น กองไหนดี

icon 12 เม.ย. 65 icon 3,881
รวมแพคกองทุนตราสารหนี้ สู้วิกฤตตลาดหุ้น กองไหนดี
ตราสารหนี้ เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย และยังเป็นที่รู้จักของนักลงทุนในวงกว้างทั้งรายใหญ่และรายย่อย แน่นอนว่าย่อมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ช่วงวิกฤต ซึ่งนักลงทุนจะต้องระมัดระวังการลงทุนตราสารหนี้มากยิ่งขึ้น บทความนี้จะพาไปรู้จักกับตราสารหนี้ วิธีคัดเลือก และกองทุนรวมตราสารหนี้ที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทุกคน
 

ตราสารหนี้คืออะไร

ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่นักลงทุนมีสถานะเป็นเจ้าหนี้และผู้ออกตราสารมีสถานะเป็นลูกหนี้ ซึ่งนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราและรอบเวลาที่กำหนด และได้เงินต้นคืนเมื่อถึงกำหนดเวลา
 
ตราสารหนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย
  1. ตราสารหนี้ที่ภาครัฐเป็นผู้ออก เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล
  2. ตราสารหนี้ที่ภาคเอกชนเป็นผู้ออก เช่น หุ้นกู้
ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลไทยต้องการกู้ยืมเงินไปใช้พัฒนาประเทศ จึงออกพันธบัตรเพื่อขายให้กับประชาชน ประชาชนที่ซื้อพันธบัตรจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้รัฐบาลไทย ซึ่งในพันธบัตรจะมีกำหนดอายุ 5 ปี จ่ายดอกเบี้ย 3% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
 
แม้ตราสารหนี้จะถูกจัดว่าเป็นตราสารทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง แต่ในตราสารหนี้เองก็มีหลายประเภทที่มีความเสี่ยงด้วย โดยถ้าเป็นตราสารหนี้ที่ภาครัฐเป็นผู้ออกก็จะมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ส่วนตราสารหนี้ที่ภาคเอกชนเป็นผู้ออกจะมีความเสี่ยงสูงกว่า หากผู้ออกตราสารหนี้มีความน่าเชื่อถือสูง ตราสารหนี้ก็จะจ่ายดอกเบี้ยไม่มาก แต่ถ้าผู้ออกตราสารหนี้มีความน่าเชื่อถือต่ำ ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงให้นักลงทุนเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น
 

ลงทุนตราสารหนี้ได้ที่ไหน

ประชาชนสามารถซื้อพันธบัตรรัฐบาลประเภทพันธบัตรประเภทออมทรัพย์ผ่านธนาคารพาณิชย์ ซึ่งใช้เงินลงทุนเพียง 1,000 บาท ส่วนพันธบัตรประเภทอื่น เช่น พันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย ออกจำหน่ายให้นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก
 
เช่นเดียวกับหุ้นกู้ที่ภาคเอกชนเป็นผู้ออก จะมีการเสนอขายให้กับนักลงทุนสถาบัน (Institutional Investor - II) และนักลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth Individual - HNW) ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่ก็มีเสนอขายให้กับประชาชน หรือที่เรียกว่า Public Offering - PO ที่ใช้เงินลงทุนน้อยลงมา ซึ่งสามารถซื้อได้ผ่านสถาบันการเงินที่เป็นผู้จัดจำหน่าย เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์
 
ตราสารหนี้สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ผ่านตลาดรองที่ใช้ระบบ Over the counter (OTC) ซึ่งไม่มีตัวกลางจับคู่ผู้ซื้อผู้ขาย ผู้ขายต้องติดต่อหาผู้ซื้อเอง แต่หลายครั้งที่นักลงทุนไม่สามารถซื้อตราสารหนี้ได้อย่างง่ายดาย อาจเพราะระบบที่ยากลำบาก มีผู้ซื้อตราสารหนี้ไปแล้วเต็มจำนวน หรือจำกัดการขายเฉพาะนักลงทุนสถาบัน มากไปกว่านั้นหากนักลงทุนไม่มีข้อมูลมากพอในการเลือกตราสารหนี้ ก็อาจต้องเจอกับความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ หากอยากซื้อตราสารหนี้ต่างประเทศ ก็แทบไม่มีช่องทางที่นักลงทุนรายย่อยจะสามารถซื้อได้
 
ดังนั้น อีกช่องทางการลงทุนตราสารหนี้ที่สะดวกสำหรับนักลงทุนรายย่อย คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ ซึ่งมีผู้จัดการกองทุนเป็นผู้บริหารการลงทุนให้ กองทุนรวมช่วยให้นักลงทุนใช้เงินลงทุนจำนวนไม่มาก แต่กระจายการลงทุนได้หลากหลาย สามารถเลือกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้ และมีให้เลือกทั้งกองทุนตราสารหนี้ในประเทศและต่างประเทศ เช่น กองทุนพันธบัตรรัฐบาล กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น กองทุนตราสารหนี้ทั่วโลก
 

ประโยชน์ของกองทุนรวมตราสารหนี้

กระจายความเสี่ยง ลดความผันผวน กองทุนรวมตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง การมีสัดส่วนกองทุนตราสารหนี้จะช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ต นอกจากนี้การที่กองทุนรวมตราสารหนี้มีการเปลี่ยนแปลงราคาที่ไม่มากเท่ากองทุนรวมหุ้นก็จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนด้วยเช่นกัน
 
สภาพคล่องสูงเหมาะกับการพักเงิน โดยส่วนใหญ่กองทุนรวมตราสารหนี้สามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการ อีกทั้งในกรณีที่ขายกองทุนก็จะได้รับเงินภายใน 1-2 วันทำการเท่านั้น ทำให้กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นถูกนำมาใช้เพื่อพักเงินที่ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์
 
คว้าโอกาสลงทุนเหมือนนักลงทุนสถาบันและรายใหญ่ หลายครั้งที่นักลงทุนรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงตราสารหนี้ที่น่าสนใจได้ เพราะจำกัดการขายเฉพาะนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ แต่กองทุนรวมได้รับสิทธิ์เทียบเท่านักลงทุนสถาบัน จึงเข้าถึงตราสารหนี้ที่น่าสนใจได้มากขึ้น ดังนั้นการลงทุนกองทุนรวมก็ช่วยให้นักลงทุนรายย่อยเข้าถึงตราสารหนี้เหล่านั้นได้เช่นกัน
 

เกณฑ์ของกองทุนตราสารหนี้ที่ดีในยามวิกฤตตลาดหุ้น

การลงทุนกองทุนตราสารหนี้ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากการผิดชำระหนี้ของตราสารหนี้ในพอร์ต ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง นอกจากนี้ราคา (NAV) ของกองทุนตราสารหนี้ก็สามารถลดลงได้เช่นกัน ถ้าหากในช่วงนั้นราคาตราสารหนี้ในพอร์ตปรับตัวลง เช่น ช่วงที่ดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น หรือมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ ยิ่งถ้าเป็นช่วงวิกฤตที่มีความไม่แน่นอนแล้ว การคัดเลือกกองทุนตราสารหนี้ยิ่งต้องมีความละเอียดมากขึ้นไปอีก โดยอาจใช้เกณฑ์เหล่านี้ในการคัดเลือกได้
  • นโยบายการลงทุน ควรเลือกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง เช่น พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง และเพื่อลดความผันผวนให้มากที่สุดควรเลือกกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น กองทุนรวมพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งจะมีอายุตราสารประมาณ 1-12 เดือน
  • ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ นอกจากผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกันแล้ว ยังคำนึงถึงผลตอบแทนย้อนหลังด้วยว่าต้องมีความสม่ำเสมอ เพื่อตอบโจทย์ในแง่การลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน
  • ค่าธรรมเนียม ควรเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมการซื้อและการบริหารรายปีกับกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนประเภทเดียวกัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด
 
 
* ข้อมูล ณ วันที่ 11 มีนาคม 2565
 
กองทุนตราสารหนี้โลกที่แนะนำต่างเป็นกองทุนที่มีพื้นฐานดี แต่ด้วยความตึงเครียดจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ประกอบกับกระแสการขึ้นดอกเบี้ยส่งผลให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ติดลบ ซึ่งเมื่อแรงกดดันจากความตึงเครียดและมีการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว กองทุนตราสารหนี้โลกจะมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นมาได้
 
หากนำวิธีการคัดเลือกไปใช้กับพอร์ตการลงทุนและมีการกระจายความเสี่ยง แม้จะได้รับผลกระทบบ้าง แต่เชื่อได้ว่าพอร์ตการลงทุนจะมีความผันผวนต่ำกว่าพอร์ตที่ไม่มีการกระจายความเสี่ยง และสามารถรับมือกับภาวะวิกฤตในระยะยาวได้อย่างแน่นอน
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน ตราสารหนี้ กองทุนรวม กองทุนตราสารหนี้ ตลาดหุ้น
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)