สำคัญมากนะ!! 2 คำศัพท์ที่ควรรู้เมื่อต้องทำธุรกรรมทางการเงินผ่านออนไลน์ ป้องกันการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

icon 21 มี.ค. 65 icon 5,086
สำคัญมากนะ!! 2 คำศัพท์ที่ควรรู้เมื่อต้องทำธุรกรรมทางการเงินผ่านออนไลน์ ป้องกันการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
"ช้อปออนไลน์" กำลังได้รับความนิยมจากคนทั่วไป ซึ่งเป็นผลมาจากวิถีการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไป มีการใช้เงินสดน้อยลง ใช้จ่ายผ่านการโอนและบัตรฯ มากขึ้น รวมถึงสถานการณ์จากการระบาดของโรคระบาดอย่างโควิด-19 ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อยากออกจากบ้าน ลดความเสี่ยงในการสัมผัส จึงทำให้หลายคนหันมาใช้จ่ายแบบออนไลน์กันมากขึ้น แต่ความสะดวกสบายแบบนี้ทำให้เกิดช่องโหว่ของพวกมิจฉาชีพได้เช่นกัน ดังนั้น จึงเกิดการป้องกันในหลายรูปแบบจากผู้ดูแลระบบในส่วนนี้ เพื่อให้ทั้งคนขายของ และผู้บริโภคเกิดความปลอดภัยมากที่สุด วันนี้ทางทีมงานจึงจะขอนำคำที่มีการใช้กันบ่อยจากการซื้อ-ขาย ในการทำธุรกรรมทางการเงินมาอธิบายให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจกันค่ะ เผื่อเวลาเจอจะได้ไม่งง! และทำตามระบบที่แจ้งมาได้อย่างถูกต้อง นั่นก็คือ "KYC" และ "KYM" ค่ะ
 

ทำความรู้จักกับ "KYC" และ "KYM" ในธุรกรรมทางการเงิน

1) "KYC (Know Your Customer)" คือ "กระบวนการทำความรู้จักลูกค้า" โดยเป็นมาตรการที่ใช้ในการทำความรู้จัก และพิสูจน์ตัวตนลูกค้าว่าเป็นบุคคลนั้นจริง เพื่อป้องกันการทุจริตจากการปลอมแปลงหรือใช้ข้อมูลอื่นในการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงเป็นมาตรการในการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) 
 
โดย "KYC" จะเห็นได้ในการทำความรู้จักลูกค้าสำหรับการเปิดบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงิน ซึ่งถือเป็นธุรกรรมสำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ให้ลูกค้าเข้าใช้บริการทางการเงินในระบบของสถาบันการเงิน ซึ่งบางครั้งมิจฉาชีพก็เอาไปใช้เป็นช่องทางในการฟอกเงิน นั่นก็อาจทำให้เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อลูกค้าเจ้าของข้อมูล และระบบของสถาบันการเงินเองได้ ทั้งนี้ ทาง ธปท.ได้ให้ความสำคัญและกำหนดหลักเกณฑ์การทำความรู้จักลูกค้า 2 ขั้นตอน คือ
 
1. การระบุตัวตนหรือการแสดงตนของลูกค้า (Identification) และ
2. การพิสูจน์ตัวตนลูกค้า (Verification) เพื่อให้สถาบันการเงินมีกระบวนการทำความรู้จักลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

ประโยชน์ของ "KYC"

  • ทำธุรกรรมทางการเงินอย่างปลอดภัย เชื่อถือได้ ป้องกันการแอบอ้างสวมรอยของมิจฉาชีพ
  • สะดวก เพราะยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีจากแอปพลิเคชันได้
2) "KYM (Know Your Merchant)" คือ "ทำความรู้จักร้านค้า" นอกจากการยืนยันตัวตนสำหรับลูกค้าผู้บริโภคที่ต้องใช้งาน "KYC" แล้ว ก็ยังต้องมีการยืนยันตัวตนสำหรับในส่วนของร้านค้าผู้ประกอบธุรกิจชำระเงินที่ให้บริการด้วยเช่นกัน เรียกว่า "KYM" เพื่อรู้จักและยืนยันตัวตนของร้านค้าที่ให้บริการครั้งแรก
 
ประโยชน์ของ "KYM"
  • มั่นใจในร้านค้าว่าทีอยู่จริง ลดโอกาสการถูกฉ้อโกง หรือมีช่องทางที่ติดตามเจ้าของร้านได้
  • มีช่องทางชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ ป้องกันการถูกทุกจริตและฟอกเงินจากร้านค้า
ขั้นตอนการทำ "KYM" (อ้างอิงตามหลักเกณฑ์ของ ปปง.) ก็ไม่ยุ่งยากค่ะ ง่ายนิดเดียว เพื่อความปลอดภัย ทำตามดังนี้เลยค่ะ
  • เตรียมข้อมูลเจ้าของร้าน เช่น ชื่อ-สกุล ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน
  • ข้อมูลและหลักฐานการประกอบกิจการร้านค้า เช่น ประเภทสินค้าและบริการในทะเบียนพาณิชย์
สุดท้ายนี้...จำไว้เสมอนะคะว่า ไม่ว่าเราจะทำธุรกรรมใดๆ ก็ตาม "ความปลอดภัย" ต้องมาเป็นอันดับ 1 ทุกข้อมูลของเราสำคัญเสมอ ดังนั้น คำศัพท์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมทางการเงิน เราไม่ควรมองข้าม ควรหาข้อมูล ทำความเข้าใจ แต่ถ้าไม่รู้จริงๆ ให้หาข้อมูลก่อนแล้วค่อยดำเนินการต่อนะคะ เพราะไม่งั้นอาจทำให้ข้อมูลส่วนตัวของเราตกไปอยู่กับคนที่ไม่ดี เอาไปใช้ เราก็จะเกิดการสูญเสียทรัพย์สินได้แบบไม่รู้ตัวนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ออนไลน์ มิจฉาชีพ ธุรกรรมการเงิน การฟอกเงิน KYC KYM
Money Guru
เขียนโดย สินีนาฏ มากทองหลาง Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)