กองทุนรวมธนาคารไหนดี ปี 2564 สรุปเข้าใจง่าย

icon 9 พ.ย. 64 icon 18,177
กองทุนรวมธนาคารไหนดี ปี 2564 สรุปเข้าใจง่าย
ปี 2564 เป็นอีกปีที่การลงทุนกองทุนรวมให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี มีนักลงทุนใหม่เข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมาก หลายคนมีปัญหาไม่รู้ว่าจะลงทุนกองทุนไหน ของธนาคารไหนดี? ในบทความนี้จะสรุปให้ว่ากองทุนเด่นๆ ที่กองไหน อยู่ที่ธนาคาร / บลจ. (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน) ไหนบ้าง น่าจะช่วยให้ปี 2564 เป็นปีที่เลือกลงทุนง่ายขึ้นสำหรับทุกๆ คน

ก่อนจะไปดูว่าจะเลือกกองทุนไหน ของธนาคารอะไร ต้องรู้ก่อนว่าเราเข้ามาลงเพื่อวัตถุประสงค์อะไร? เพื่อที่จะได้เลือกลงทุนกองทุนที่เหมาะสมกับความต้องการของเราอย่างแท้จริง
ซื้อกองทุนรวมเพราะต้องการอะไร?
  • เน้นผลตอบแทนสูง – อันนี้น่าจะเป็นวัตถุประสงค์ของคนส่วนใหญ่เลยคือเข้ามาลงทุนเพื่อต้องการกำไร! รับความเสี่ยง ความผันผวนได้ ถ้าแบบนี้แนะนำไปลงทุน กองทุนประเภท ตราสารทุน หรือกองทุนรวมหุ้นได้เลย จะเอาแบบเป็นหุ้นโดยรวมหรือจะเลือกประเทศ เลือก Sector ที่ชอบลงทุนก็ได้
  • เน้นไม่เสี่ยง ผลตอบแทนไม่ต้องมาก – อันนี้ซับซ้อนขึ้นมานิดนึงคืออยากได้ผลตอบแทนแหละ แต่ขอไม่เสี่ยงได้ไหม ผลตอบแทนไม่ต้องมาก ขอช้าๆ แต่ขอชัวร์ แบบนี้จะเข้าข่ายกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรของรัฐบาล และหุ้นกู้ของบริษัทต่างๆ ซึ่งจ่ายผลตอบแทนคล้ายๆดอกเบี้ย จ่ายไม่มาก แต่จ่ายชัวร์
  • เน้นเอาปันผล – บางคนลงทุนเพราะอยากได้ปันผลมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นการให้เงินทำงานอย่างแท้ทรู เอาเงินก้อนนึงไปลงทุนไว้ และเก็บปันผลไปเรื่อยๆ แบบนี้ต้องหากองทุนหุ้นปันผล หรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ฯที่จ่ายปันผลดีๆ
  • เน้นลดหย่อนภาษี – ต้องการกำไร และต้องการลดหย่อยภาษีได้ด้วย อันนี้ต้องหากองทุนประเภท SSF-RMF
  • อยากลงทุนใน Sector ที่ชอบ เช่น อยากลงทุนในเทคโนโลยี หรือพวกองทุนที่เกี่ยวกับบริการด้านสุขภาพ เพราะมีความเชื่อส่วนตัวว่า Sector เหล่านี้จะ "มาแน่" ในอนาคต
ถ้าเข้าใจความต้องการของตนเองที่ชัดเจนแล้ว มาดูกันเลยว่าแล้วความต้องการแบบนี้ไปซื้อกองทุนธนาคารไหนดี? แล้วต้องซื้อกองชื่ออะไร?
 
ซื้อกองทุนธนาคารไหนดี? แล้วต้องซื้อกองชื่ออะไร?
  1. กองทุนรวมตราสารทุน (กองทุนรวมหุ้น) - เป็นกองทุนรวมที่ไปลงทุนในหุ้น โดยมีผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนหุ้นมาช่วยเลือกหุ้นให้เรา หลักๆ แบ่งเป็นกองทุนรวมหุ้นไทย และกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ

    กองทุนรวมหุ้นในประเทศไทย - เลือกได้ว่าจะเอาหุ้นเล็กหรือหุ้นใหญ่ 
    •    ASP-SME – เน้นหุ้นเล็กโตเร็ว เช่น JMT KCE WICE จากบลจ.แอสเซท พลัส
    •    JB25 – กองทุนแบบ Passive เน้นลงทุนตามดัชนีตลาด มีหุ้นใหญ่ 25 ตัวแรกของตลาดหุ้น โตแบบมีเสถียรภาพ เช่น AOT BDMS OR กองนี้ของบลจ.ทหารไทย
    •    TSF-A – กองทุนหุ้นไทยรวมที่ทำผลตอบแทนดีมากๆลงทุนหุ้น IVL GULF MINT จากบลจ.ทิสโก้

    กองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ
    •    ONE-UGG - กองทุนหุ้นเติบโตต่างประเทศ คลาสสิกในตำนาน ลงทุนหุ้น Amazon Alibaba Tesla จาก บลจ.วรรณ
    •    K-CHANGE – กองทุนหุ้นแบบเล่นเป็น Theme เน้นหุ้นที่อยู่ในเทรนด์การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เช่น พลังงานสะอาด การแพทย์ ชิปคอมพิวเตอร์ ลงทุนในหุ้น Moderna (เจ้าของวัคซีน) และ Tesla รถยนต์พลังไฟฟ้า กองนี้ของบลจ.กสิกร
    •    SCBCHA – กองทุนหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ ถ้าใครอยากเน้นจีนล้วนๆกองนี้จะตอบโจทย์ จากบลจ.ไทยพาณิชย์
    •    K-USA-A – กองทุนหุ้นสหรัฐฯแบบเพียวๆมีหุ้นบริษัทอย่าง Twitter และ Square เติบโตตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากบลจ.กสิกร กองนี้มีแบบมีปันผลให้เลือกด้วย
     
  2. กองทุนรวมอสังหาทรัพย์ – เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้สม่ำเสมอเช่นค่าเช่าที่เป็นต้น ใครชอบรายได้สม่ำเสมอ มีปันผลให้ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ถือว่าตอบโจทย์ไม่น้อย
    •    LHTPROP – ถ้าเชื่อว่ากลุ่มอสังริมทรัพย์ไทยจะกลับมาเหมือนเดิม กองทุนนี้ลงทุนในอสังหาฯไทย เช่น ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พื้นที่เช่าของโลตัสเป็นต้น จากบลจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์
    •    TUSREIT – ตัวนี้ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ลงทุนพวกที่เช่าของเสาโทรศัพท์ 5G Data Center จากบลจ.ทิสโก้
     
  3. กองทุนรวมหุ้นใน Sector ต่างๆ – อันนี้เน้นลงทุนตาม Sector ที่ชอบเช่น Technology Healthcare Gaming
    •    KFGTECH – ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี เช่น Zoom Sea เจ้าของ Shopee เป็นต้น จากบลจ.กรุงศรี 
    •    BCARE - ลงทุนในหุ้นที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Healthcare เช่า ยา เครื่องมือแพทย์ และบริการต่างๆโดยเฉพาะ จากบลจ.บัวหลวง (ธนาคารกรุงเทพ)
    •    LHESPORT - ลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเกมส์และ E-Sport มีแบบจ่ายปันผลด้วย จากบลจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์
     
  4. . กองทุนรวมตราสารหนี้ – กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้บริษัทต่างๆ กองทุนนี้มักจะมีรายได้ในรูปแบบของดอกเบี้ยทำให้เสี่ยงน้อย แต่ผลตอบแทนจะไม่มากเท่ากลุ่มหุ้นหรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์
    •    KFAFIX-A – ลงทุนในตราสารหนี้ระดับ Investment Grade ในประเทศไทย คาดหวังผลตอบแทนปีละ 1.7-2.5% ต่อปี มากกว่าเงินฝาก แต่น้อยกว่ากองทุนหุ้น ข้อดีคือความเสี่ยงน้อยมาก ให้ผลตอบแทนต่อเนื่อง
     
  5. กองทุน SSF / RMF – กองทุนรวมสายลดหย่อนภาษี วิธีดูคือจะมีคำว่า SSF / RMF อยู่ในชื่อ ซึ่งกองที่รีวิวมาด้านบนจะมีแบบที่เป็น SSF / RMF ด้วย
     
    กองทุน SSF กองทุน RMF
    •    ASP-SME-SSF 
    •    TSF-SSF
    •    ONE-UGG-ASSF
    •    K-CHANGE-SSF
    •    SCBCHA-SSF
    •    K-USA-SSF
    •    KFAFIXSSF
    •    JB25RMF
    •    KCHANGERMF
    •    KUSARMF
    •    LHTPROPRMF
    •    KFGTECHRMF
    •    BCARERMF
    •    KFAFIXRMF

    สรุปแล้วจะตอบตัวเองได้ว่าซื้อกองทุนธนาคารไหนดี? ต้องดูที่ความต้องการของเราว่าเราต้องการอะไร? และความต้องการของเราตรงกับกองทุนของธนาคารไหนบ้าง? ทางทีมงานสรุปมาให้หมดแล้ว คิดว่าปี 2564 จะเป็นปีที่ทุกคนลงทุนได้ง่ายกว่าเดิม และได้กำไรตามคาดหวัง
แท็กที่เกี่ยวข้อง กองทุนรวม มือใหม่หัดลงทุน ลงทุนกองทุนรวม กองทุนรวม ปี 2564
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)