เชื่อหรือไม่ว่าการหยิบจับ "เงินสด" อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างที่เราคาดไม่ถึง? เพราะเงินสดที่เราใช้กันอยู่ทุกวันมีการเปลี่ยนมืออยู่ตลอดเวลา เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า "ธนบัตร" หรือ "เหรียญ" ที่อยู่ในมือหรือกระเป๋าเงินเรานั้นผ่านอะไรมาบ้าง แต่ข้อมูลต่อไปนี้อาจทำให้เราต้องคิดอีกทีเมื่อต้องหยิบเงินครั้งต่อไปค่ะ
ผลการศึกษาจากคณะนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษพบว่า บนธนบัตร 1 ใบ มีเชื้อแบคทีเรียสะสมเฉลี่ยถึง 26,000 ตัว ข้อมูลดังกล่าวสร้างความประหลาดใจและกระตุ้นการตื่นรู้เรื่องสุขภาพเป็นอย่างมาก ยิ่งในสภาวการณ์ที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 การจับจ่ายใช้สอยผ่านเหรียญหรือธนบัตรนั้นก่อให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้า ผู้ให้บริการ หรือบุคคลทั่วไป และเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม ยิ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ล่าสุดได้ออกมาเตือนแล้วว่าเงินสดสามารถเป็นสื่อแพร่เชื้อไวรัส COVID-19 เพราะเชื้อโรคดังกล่าวสามารถเกาะอยู่บนผิวสัมผัสของธนบัตรได้นานหลายวัน โดยรัฐบาลจีนก็ได้มีมาตรการตัดการทำธุรกรรมทางการเงินข้ามจังหวัดที่มีการระบาด และมีการนำธนบัตรเก่ามาทำความสะอาดเพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อ ส่วนในประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย ล่าสุดก็ได้มีมาตรการออกธนบัตร 500 บาทใหม่ และกักธนบัตรที่หมุนเวียนเข้ามาไว้ 14 วัน เพื่อรับมือสถานการณ์
ซึ่งนอกเหนือจากไวรัส COVID-19 ที่เป็นกังวลกันอยู่ขณะนี้ ข้อมูลที่ได้ทำการศึกษาก่อนหน้าก็ได้บ่งชี้ว่ามีเชื้อโรคอีกหลายชนิดอยู่บน "ธนบัตร" หรือ "เหรียญ" ไม่ว่าจะเป็นเชื้ออีโคไล (E. Coli), สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus), ซัลโมเนลล่า (Salmonella), ราดำ ไรโซปัส (Rhizopus Stolonifer) และราดำ ไมคอไรซ่า Mycorrhiza ฯลฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพคุณทั้งสิ้น
ผลสำรวจจาก VISA ระบุว่า 57% ของผู้บริโภคชาวไทยนั้นนิยมทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นบัตรเดบิต/เครดิต แอปฯ ชำระเงินบนสมาร์ทโฟน และคิวอาร์โค้ด แต่ก็ยังมีถึง 43% ที่ยังนิยมใช้ "เงินสด"
ทั้งนี้ ข้อมูลสถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า เดือนธันวาคม ปี 2562 ที่ผ่านมา มีเงินสด (รวมธนบัตรและเหรียญกษาปณ์) หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าถึง 1.9 ล้านล้านบาท และผลสำรวจจาก VISA ระบุว่าผู้บริโภคชาวไทยถึง 43% ที่ยังนิยมใช้เงินสด ดังนั้นจึงจินตนาการได้ไม่ยากเลยว่าเจ้าเชื้อโรคเหล่านี้สามารถเข้าถึงตัวคุณได้โดยง่ายเพียงสัมผัสหรือรับเงินสดมา ซึ่งในสภาวการณ์ที่สุขอนามัยเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม เช่น ในช่วงการเฝ้าระวังการระบาดของไวรัส COVID-19 นี้
แนวทางการทำความสะอาด "เงินสด" แบบง่าย ๆ ที่ทุกคนทำได้
สำหรับช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นอกจากการเฝ้าระวังในส่วนต่างๆ แล้ว เรายังมีวิธีดีๆ ในการทำความสะอาดเงินสด เพื่อเพิ่มความมั่นใจในสุขภาวะที่ดี มาฝากกันด้วยค่ะ
เหรียญ >> ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคผสมน้ำตามสัดส่วน หลังจากนั้นใช้ผ้าหรือทิชชู่ซับให้แห้งไปตากแดดก่อนใช้
ธนบัตร >> ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ล้างแผลที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70% บีบหมาดๆ เช็ดคราบสกปรกและแบคทีเรียที่อยู่บนผิวธนบัตร หลังจากนั้นใช้ผ้าหรือทิชชู่ซับให้แห้งหรือไปตากแดดก่อนใช้ก็ได้เช่นกัน
5 แนวทางสร้างเกราะป้องกันสุขภาพแบบ #TrueMoneyPaySafer
ทรูมันนี่ ห่วงใยสุขภาพคนไทย จัดข้อแนะนำ 5 แนวทางสร้างเกราะป้องกันสุขภาพแบบ #TrueMoneyPaySafer ดังนี้
1. เตรียมหน้ากาก 2 แบบ ใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ ป้องกันได้ - เมื่อคุณต้องเข้าไปในย่านชุมชน ควรหาซื้อ Mask หรือหน้ากากอนามัยสวมป้องกันไว้ดีกว่าแก้ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง อย่าลืมว่า Mask ป้องกันฝุ่นในบางรุ่นบางยี่ห้ออาจใช้ป้องกันเชื้อโรคไม่ได้หากเราสวมใส่ไม่ถูกต้อง แน่นอนว่าหน้ากากอนามัยแบบ N95 นั้นช่วยป้องกันได้ทั้งฝุ่น PM 2.5 และเชื้อโรคที่มีขนาดเล็ก แต่น้อยคนจะสามารถสวมใส่ได้ตลอดเวลา เพราะใส่นานแล้วรู้สึกอึดอัด ดังนั้นทางที่ดี คือควรมี Mask ติดตัวไว้ทั้งสองแบบเพื่อป้องกันฝุ่นและป้องกันเชื้อโรคสลับใช้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ หรือถ้าไม่อยากเปลี่ยนบ่อยๆ ก็เลือกเป็นแบบที่ถอดซักได้ก็ดี แต่ราคาต่อชิ้นอาจสูงกว่า
2. หมั่นล้างมือให้สะอาด พกเจลล้างมือติดตัวไปไหนเอาไปด้วย - เมื่อต้องเดินทางด้วยรถสาธารณะไปกับเพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้า หรือต้องไปประชุมในแหล่งชุมชน หรือสังสรรค์ตามห้างใหญ่ๆ ที่มีผู้คนจำนวนมาก ควรหมั่นล้างมือให้สะอาดหรือใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมืออยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อจากการที่มือสัมผัสกับเชื้อในละอองฝอยแล้วมาหยิบจับอาหารเข้าปากหรือขยี้ตา หากไม่มีแอลกอฮอล์เจลก็ให้ล้างน้ำเปล่าบ่อยๆ ก็พอช่วยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสัมผัสราวบันได ประตู ปุ่มกด ATM หรือจุดสาธารณะอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกับคนจำนวนมาก ที่สำคัญอย่านำแอลกอฮอล์หรือเจลล้างมือไปผสมน้ำเพราะคิดว่าจะประหยัด เพราะความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่ฆ่าเชื้อโรคอย่าง COVID-19 ได้ คือประมาณ 70% ขึ้นไป
3. ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนอื่นๆ - เชื้อโรคแพร่ได้จากสารคัดหลั่งในร่างกายคนเราได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จัก ก็ควรหลีกเลี่ยงใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ เสื้อคลุม ฯลฯ และที่สำคัญคือ หมั่นกินร้อน ช้อนกลาง ออกกำลังกายเสมอ และเลือกทานของดีมีประโยชน์
4. หลีกเลี่ยงการเดินทางไกลๆ - หากต้องเดินทางไปต่างประเทศที่มีการระบาดอยู่ในช่วงนี้ ควรงดไปก่อน ส่วนใครที่ต้องเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน ก็อาจจะพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่พลุกพล่าน โดยพกสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นติดตัวมาตั้งแต่แรก ไม่ก็ไปร้านสะดวกซื้อใกล้ๆ ที่รองรับการใช้จ่ายผ่าน e-Wallet จะได้ปลอดภัยแบบไม่ต้องไปไหนไกล เสี่ยงในที่ชุมชน และไม่ต้องใช้เงินสดด้วย!
5. เปลี่ยนรูปแบบการหยิบหรือสัมผัส "เงินสด" - จากที่กล่าวมาว่า "เงินสด" เป็นแหล่งรวมเชื้อโรคหลายชนิด ซึ่งอาจรวมถึงเชื้อไวรัส COVID-19 ดังนั้นจะดีกว่าไหมหากเรายังสามารถจับจ่ายใช้สอยได้เหมือนเดิมแต่เปลี่ยนพฤติกรรมหรือเลี่ยงการสัมผัสเพื่อลดความเสี่ยงมาเป็นการใช้จ่ายผ่าน Mobile app ไม่ว่าจะเป็น e-Wallet หรือ Mobile banking ซึ่งนอกจากจะเซฟตัวเราเองด้วยการลดความเสี่ยงจากการรับเชื้อโรคแล้วยังเป็นการลดการส่งต่อเชื้อโรคให้กับผู้อื่น แถมสะดวก รวดเร็วกว่า และยังมีผลพลอยได้จากข้อเสนอพิเศษที่น่าสนใจจากร้านค้าต่างๆ มากมาย
อย่างไรก็ดี พฤติกรรมการใช้จ่ายของเราสะท้อนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ยิ่งในภาวะที่ทุกคนต้องป้องกันตัวเองให้ไกลจากเชื้อโรค ควรหันมาใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์กว่าที่เคย เพราะนอกจากความสะดวกสบายและความคุ้มค่าที่ได้รับแล้ว ความปลอดภัยกับการที่ไม่ต้องสัมผัสมือกัน หรือแลกเปลี่ยนเงินสดต่อกัน ก็เป็นสิ่งที่ควรต้องคำนึงถึง ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้จ่ายด้วย "เงินสด" หรือ "e-Wallet" ขอให้รักษาความสะอาด หมั่นดูแลสุขอนามัยและข้าวของเครื่องใช้ให้สะอาดห่างไกลจากเชื้อโรคอยู่เสมอ