เปิด "บัญชีเงินฝากร่วม (คู่)" กับภรรยาหรือแฟน ดีหรือไม่ดียังไง และเปิดที่ไหนได้บ้าง ?

icon 7 ม.ค. 63 icon 17,777
เปิด "บัญชีเงินฝากร่วม (คู่)" กับภรรยาหรือแฟน ดีหรือไม่ดียังไง และเปิดที่ไหนได้บ้าง ?

เปิด "บัญชีเงินฝากร่วม (คู่)" กับภรรยาหรือแฟน ดีหรือไม่ดียังไง และเปิดที่ไหนได้บ้าง ? 

ปัจจุบันรูปแบบการสร้างฐานะ หรือออมเงินระหว่างสามีภรรยา หรือคนเป็นแฟนกัน มีหลากหลาย ทั้งเปิดบัญชีเงินฝากร่วม หรือคู่กัน กู้ร่วมกัน หรือถือกรรมสิทธิ์ในบ้านหรือที่ดินร่วมกัน ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือเปิดบัญชีเงินฝากคู่ หรือร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือเงินฝากประจำ แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว ไม่ใช่ว่าทุกบัญชีในธนาคารเราจะสามารถเปิดเป็นบัญชีร่วมได้ทุกบัญชีนะ วันนี้เรามาดูกันว่าบัญชีเงินฝากร่วมคืออะไร มีข้อดีข้อเสียยังไง และจะเลือกเปิดที่ไหนได้บ้าง 


ง่ายๆ ก็คือบัญชีที่มีเจ้าของเงินในบัญชีมากกว่า 1 คน จะเห็นได้บ่อยๆ คือ กรณีสามีภรรยาวางแผนออมเงินร่วมกัน หรือเก็บเป็นเงินกองกลางของครอบครัว (เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าเล่าเรียนลูก) หรือพ่อแม่เปิดบัญชีร่วมให้ลูกทุกคนเพื่อเป็นเงินเก็บภายในครอบครัว โดยบัญชีคู่ หรือบัญชีร่วมจะมีลักษณะสำคัญดังนี้ 
(ก) ชื่อหน้าบัญชี: ชื่อเจ้าของบัญชีในหน้าแรกของบัญชีจะมีมากกว่า 1 คน ซึ่งอาจมีได้ 2 หรือ 3 คน หรือมากกว่าก็ได้ ในการเปิดหรือปิดบัญชีร่วม เจ้าของร่วมทุกคนต้องไปเปิด หรือปิดด้วยกันหมดที่ธนาคาร
(ข) กรรมสิทธิ์ในเงิน: เจ้าของร่วมทุกคนจะมีกรรมสิทธิ์บนเงินในบัญชีร่วมในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน เช่น ถ้ามี 3 คน แต่ละคนจะมีสิทธิความเป็นเจ้าของเงินในสัดส่วนประมาณ 33.33% ดอกเบี้ยที่ได้มาระหว่างที่ฝาก แต่ละคนก็ได้จะได้ดอกเบี้ยตามส่วนเท่าๆ กันเช่นกัน
(ค) การทำธุรกรรม เช่น ถอนหรือฝากเงิน: เวลาฝากเงิน บัญชีร่วมเหล่านี้สามารถฝากเงินคนเดียวได้เลย แต่เวลาถอนเงิน เราสามารถกำหนดได้ 2 แบบคือ
  1. ให้ต้องเซ็นถอนร่วมกันหมดทุกคนก็ได้ ซึ่งชื่อบัญชีจะต้องเปิดแบบมีคำว่า "และ" เป็นสำคัญ เช่น นาย ก และ นางสาว ข  หรือ 
  2. จะกำหนดให้เซ็นถอนแค่คนใดคนหนึ่งก็ได้ ซึ่งชื่อบัญชีจะต้องมีคำว่า "และ/หรือ" เป็นสำคัญ เช่น นาย ก และ/หรือ นางสาว ข
(ง) เสียภาษี: ดอกเบี้ยที่เกิดจากบัญชีร่วมจะถือเป็นรายได้ของทั้งคู่ (กรณีเปิดแบบ "และ") หรือรายได้คนใดคนหนึ่งก็ได้ (กรณีเปิดแบบ "หรือ") โดยจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% และเมื่อเสียภาษีหัก  ณ ที่จ่ายแล้ว ก็ไม่ต้องนำดอกเบี้ยไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก (ดูคำอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้จากกรมสรรพากรได้ที่นี่)

หลักๆ มี 2 ประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าจะเปิดแบบไหนดี คือ 
(ก) ต้องการให้ถอนได้คนเดียว หรือต้องถอนทุกคนร่วมกัน ถ้าจะให้คนใดคนหนึ่งถอนได้คนเดียว เราต้องเปิดเป็นแบบ "และ/หรือ" คือกำหนดให้ชื่อบัญชีคือ "นาย XXX และ/หรือนาง YYY" ส่วนถ้าจะต้องถอนร่วมกันทุกคน เราต้องเปิดเป็นแบบ "และ" คือกำหนดให้ชื่อบัญชีคือ "นาย XXX และนาง YYY"
(ข) ต้องการดอกเบี้ยมาก หรือดอกเบี้ยน้อย และความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้บ่อยแค่ไหน ถ้าต้องการดอกเบี้ยสูงๆ และไม่ต้องใช้เงินก้อนนี้บ่อย อาจเปิดเป็น "บัญชีเงินฝากประจำ" ไปเลย แต่ถ้าอาจต้องใช้เงินก้อนนี้อยู่บ่อยๆ อาจต้องเปิดเป็น "บัญชีเงินฝากออมทรัพย์" เพื่อให้เบิกถอนได้ง่ายๆ ไม่ต้องรอครบกำหนด เป็นต้น 

ข้อดี ถ้าเทียบกับการที่ต่างคนต่างเปิดบัญชีเดี่ยวแยกต่างหากจากกัน

  • เป็นเครื่องมือที่ดีอย่างหนึ่งในการให้เจ้าของร่วม (ไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยา แฟน หรือพี่น้อง) ได้มีโอกาสออมและเป็นเจ้าของเงินร่วมกัน โดยอาจกำหนดให้แต่ละเดือน เจ้าของร่วมต้องฝากเงินเข้ามาเท่าๆ กันเพื่อบังคับให้เป็นการหัดเก็บ หรือสะสมเงินกองกลางสำหรับครอบครัวไปในตัวได้ด้วย
  • เป็นบัญชีเงินกองกลางสำหรับใช้จ่ายร่วมกันได้ดี บางกรณีสามีภรรยาอาจสับสน หรือตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะจ่ายค่าอะไร หรือรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนไหน บัญชีร่วมเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือช่วยการบริหารค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้ เช่น ถ้าค่าใช่จ่ายบางอย่างควรเป็นค่าใช้จ่ายร่วม เช่น หนี้ผ่อนคอนโดที่กู้ร่วมกัน หรือค่าเล่าเรียนลูก เราอาจเบิกเงินจากบัญชีนี้ไปจ่ายถือเป็นค่าใช้จ่ายร่วมกัน เป็นต้น  

ข้อเสีย ถ้าเทียบกับการที่ต่างคนต่างเปิดบัญชีเดี่ยวแยกต่างหากจากกัน

  • ผลตอบแทนโดยรวมจะต่ำกว่า เพราะธนาคารหลายๆ แห่งอาจมีผลิตภัณฑ์เงินฝากที่พิเศษในหลายรูปแบบ และในอัตราดอกเบี้ยที่ต่างกัน เช่น ถ้าเปิดบัญชีเงินฝากแบบออนไลน์จะได้ดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ แต่ธนาคารส่วนใหญ่มักไม่ยอมให้มีการเปิดบัญชีร่วมกับบัญชีพิเศษที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น หากสามีภรรยาอยากเปิดบัญชีร่วมกับ TMB ME ทาง TMB จะไม่สามารถเปิดให้ได้
  • บัญชีร่วมจะมีข้อจำกัดบางอย่างเมื่อเทียบกับการเปิดบัญชีเดี่ยว เช่น ไม่สามารถทำธุรกรรมผ่านทาง Mobile App ได้ เช่น หากเปิดบัญชีร่วมกับ SCB จะไม่สามารถทำธุรกรรมผ่านทาง SCB Easy ได้ และก็ไม่สามารถทำบัตรเดบิต หรือ ATM แบบชื่อร่วม หรือ 2 ใบต่างคนต่างถือได้ ต้องทำเป็นบัตรเดบิต หรือ ATM ใบเดียวในชื่อคนใดคนหนึ่งเท่านั้น เป็นต้น 

ได้ทุกธนาคาร แต่ไม่ใช่ว่าทุกประเภทโปรดักส์จะเปิดบัญชีแบบร่วมได้นะครับ เราต้องดูเงื่อนไขของแต่ละบัญชีตามตัวอย่างข้างล่าง หลักๆ แล้วธนาคารส่วนใหญ่จะยอมให้เปิดบัญชีร่วมสำหรับบัญชีเงินฝากประจำได้เกือบหมด แต่ถ้าเป็นบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารส่วนใหญ่จะยอมให้เปิดบัญชีร่วมได้แค่ "บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธรรมดา/ทั่วไป" เท่านั้น ตัวอย่างเช่น

บัญชีเงินฝากจัดเต็ม จากธนาคารไทยพาณิชย์ >> ไม่สามารถเปิดบัญชีร่วมได้



ดูรายละเอียดเพิ่มเติม บัญชีเงินฝากจัดเต็ม จาก ธ.ไทยพาณิชย์ ที่นี่

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป จากธนาคารไทยพาณิชย์ >> สามารถเปิดบัญชีร่วมได้


(ดูรายละเอียดเพิ่มเติม บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป จาก ธ.ไทยพาณิชย์ ที่นี่)

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา >> ไม่สามารถเปิดบัญชีร่วมได้


บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา >> สามารถเปิดบัญชีร่วมได้

บัญชีเงินฝากประจำรายเดือนยกเว้นภาษี จากธนาคารออมสิน >> สามารถเปิดบัญชีร่วมได้


ลองดูกันนะครับ ว่าคู่ของคุณเหมาะหรือสะดวกกับการเปิดบัญชีร่วมแบบไหน หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยในการช่วยประกอบการตัดสินใจ ขอให้เงินฝากพอกพูนในทุกๆ คู่ และทุกๆ คนค้าบ :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง เปิดบัญชี บัญชีเงินฝากร่วม บัญชีร่วม
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)