ใช้รถไฟฟ้าทุกวัน ถือบัตรทำไมหลายใบ บัตรเดบิตควบบัตรรถไฟฟ้า... มีของธนาคารไหนบ้างในตลาดตอนนี้?
กระแส Cashless Society กำลังมา แต่บางทีจะให้โยนบัตรทิ้งให้หมดเลยก็ยังไม่ได้ครับ บ้านเรายังไม่พัฒนาไปขนาดนั้น แต่เราสามารถจะลดจำนวนบัตรในกระเป๋าลงได้ครับ เช่น ถ้าใครใช้รถไฟฟ้าบ่อย เราสามารถควบบัตรขึ้นรถไฟฟ้า บัตร ATM และบัตรเดบิตให้เหลือใบเดียวกันได้ ทุกวันนี้ ถ้าพูดถึงบัตรเดบิตรถไฟฟ้า จะมี 2 ค่ายหลักๆ ครับ คือ ค่าย "Rabbit Line Pay" ซึ่งค่ายนี้สำหรับใช้ขึ้นรถไฟฟ้า BTS และค่าย "บัตรแมงมุม" ซึ่งใช้ขึ้นรถไฟฟ้า MRT (สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง) ซึ่งในตลาดตอนนี้ (ธันวาคม 2561) มีบัตรเดบิตไหนบ้าง เรามาดูกันเลยครับ
รถไฟฟ้า BTS ทั้งเส้น (เครือข่าย Rabbit)
ในตลาดบัตรเดบิตตอนนี้ มีเพียงบัตรเดบิตของธนาคารเดียวในตลาดที่ใช้แตะขึ้นรถไฟฟ้า BTS ได้ คือบัตรเดบิตในตระกูล Rabbit ของธนาคารกรุงเทพทั้งหลาย เช่น บัตร "Be1st Smart TPN Rabbit Card", "Be1st Smart TPN Rabbit Siriraj Card" และ "Be1st Smart Rabbit Chelsea Card" ซึ่งรายละเอียดดูได้ตาม Link นี้
Link:
https://www.bangkokbank.com/th-TH/Personal/Cards/Be1st-Smart-Card บัตรทำงานอย่างไร
ง่ายๆ เลย บัตรนี้มี 2 ส่วน และเหมือนมี 2 กระเป๋าในบัตรเดียว โดยต้องเติมเงินเข้าไปก่อนเสมอถึงจะใช้ได้
(ก) กระเป๋าแรกคือ ส่วนที่ใช้เป็นบัตรรถไฟฟ้า BTS (แบบสะสมมูลค่า) ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ วิธีการเติมเงินก็คือชำระเงินสดเติมเงินได้ที่ห้องขายตั๋ว BTS ทุกสถานี
(ข) กระเป๋าที่สองคือ เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ ที่ผูกกับบัตรนี้ ซึ่งเราสามารถใช้รูดซื้อสินค้า หรือบริการแบบบัตรเดบิตปกติผ่านเครื่องรูดบัตร (Electronic Data Capture (EDC)) เช่น ตามห้างสรรพสินค้าได้ หรือจะใช้เป็น ATM เบิกถอน หรือโอนเงินแบบเดิมๆ ก็ได้ วิธีการเติมเงินก็คือ เติมผ่านช่องทางธนาคารนั้นๆ ปกติ เช่น ตู้ ATM
ผลประโยชน์อื่นนอกจากใช้ขึ้นรถไฟฟ้า BTS
นอกเหนือจากใช้เป็นบัตรรถไฟฟ้า BTS ได้แล้ว แต่ละบัตรของธนาคารกรุงเทพข้างต้นจะมีผลประโยชน์อื่นๆ ที่แตกต่างกันด้วย เช่น
- Be 1st Smart Rabbit Chelsea Card จะได้รับเสื้อโปโล Limited Edition จากทีมฟุตบอลเชลซี ส่วนลดไปกินร้านอาหารที่สนามฟุตบอลของทีมเชลซี เป็นต้น
- Be 1st Smart TPN Rabbit Siriraj Card จะได้ส่วนลดในการใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่ รพ ศิริราช รวมถึงมีประกันชีวิต และประกันสุขภาพให้ด้วย (ด้วยการที่มีประกันให้ด้วย บัตรนี้จะมีค่าธรรมเนียมสูงกว่าบัตรอื่น) เป็นต้น
รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสีม่วง (เครือข่ายบัตรแมงมุม)
บัตรกสิกรไทย (เบื้องต้นเท่านั้น โปรดดูเงื่อนไขเพิ่มเติมตาม Link นี้)
Link:
https://www.kasikornbank.com/th/personal/debit-card/Pages/k-mangmoom.aspx - ดูหนังทุกเรื่องทุกรอบ 100 บาท ที่ Major Cineplex และ SF Cinema City ทุกสาขา
- อิ่มคุ้มที่แมคโดนัลด์ 100 บาท เมื่อซื้อแมคฟิช หรือ ซามูไรเบอร์เกอร์ ขนาดกลาง หรือ ชุดแมคไก่ทอด ใหญ่เผ็ด 3
- ช้อปปิ้งออนไลน์ รับส่วนลด 15% ตลอดปี ที่ Lazada
- เดินทางท่องเที่ยว รับส่วนลดสุดคุ้ม นั่ง Grab ครั้งแรกฟรี 100 บาท หรือลด 10% เมื่อจ่ายด้วย GrabPay และ
- ส่วนลดจองที่พักกับ Expedia 60%
บัตรกรุงไทย ยังไม่มีรายละเอียดในขณะนี้ แต่สามารถดูข้อมูลเบื้องต้นได้ตาม Link นี้
Link:
https://www.ktb.co.th/th/personal/cards/debit-card/330 ค่าธรรมเนียม
- บัตรแมงมุมกสิกรไทย : ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและทำบัตรทดแทน 150 บาท (ฟรี! ค่าธรรมเนียมแรกเข้าตั้งแต่วันนี้ - 28 ก.พ. 62) และค่าธรรมเนียมรายปี 250 บาท
- บัตรแมงมุมกรุงไทย : ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท (ยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าจนถึง 30 พ.ย. 61) และค่าธรรมเนียมรายปี 299 บาท
ในอนาคตบัตรต่างๆ เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นบัตรเดบิต บัตรเครดิต บัตรรถไฟฟ้า บัตรสะสมแต้ม น่าจะมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ และการใช้จ่าย หรือระบบเติมเงินต่างๆ จะผนวกเข้าไปกับ Online Banking และ Smartphone มากขึ้น ใครอยากเห็นบัตรไหนผนวกกับบัตรไหนอีก ก็ Comment กันเข้ามาได้เลยครับ แล้วพบกันใหม่คราวหน้ากับบทความดีๆ จาก Checkraka.com นะครับ