เดินทางต่างประเทศ...สมัครบัตรเดบิต TMB All Free ดีมั๊ย? มาดูกันค่ะ

icon 27 พ.ย. 61 icon 41,781
เดินทางต่างประเทศ...สมัครบัตรเดบิต TMB All Free ดีมั๊ย? มาดูกันค่ะ

เดินทางต่างประเทศ...สมัครบัตรเดบิต TMB All Free ดีมั๊ย? มาดูกันค่ะ

เมื่อเงินเป็นปัจจัยหลักสำหรับทริปท่องเที่ยว เราจะเบื่อมั๊ย...กับเรื่องเหล่านี้? เวลาจะไปต่างประเทศ ต้องคอยมานั่งเทียบอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อดูว่าที่ไหนถูก ที่ไหนแพง และจะต้องไปแลกที่ไหน แลกเท่าไหร่ ถ้าแลกไปเผื่อ เหลือกลับมาเป็นเหรียญก็แลกคืนไม่ได้อีก ถ้าแลกเงินสดไปเยอะๆ ก็กลัวจะหาย หรือถูกขโมย หรือจะค่อยไปรูดบัตรเครดิตเพิ่มเอา เพื่อนๆ รู้หรือเปล่าว่าเค้าจะมีชาร์จค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินอีกประมาณ 2.5% ด้วยนะคะ แทนที่จะได้ของถูกก็ต้องมาแพงด้วยค่าชาร์จต่างๆ นี่แหละค่ะ  
วันนี้ ปัญหาต่างๆ จะหมดไป เพียงพกบัตรใบเดียวก็ใช้ได้ทั่วโลก กับ บัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี จากธนาคาร ทีเอ็มบี ที่ได้มีการปรับรูปแบบใหม่ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนเดินทางต่างประเทศ บัตรนี้มีดียังไง เราลองมาดูกันค่ะ

อัตราแลกเปลี่ยน และค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี เมื่อใช้ที่ต่างประเทศ 

สำหรับเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน บัตรเดบิตทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี สามารถรูดเงินโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนตามที่แสดง ใช้ได้ทุกประเทศ ทุกสกุลเงินทั่วโลก โดยตอนรูดให้เลือกสกุลเงินท้องถิ่นที่ไป จากข้อมูล ณ วันที่ 12 พ.ย. 2561 เราลองมาเทียบอัตราแลกเปลี่ยนของบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี บางส่วน กับร้านแลกเงินนะคะ ว่าจะแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
ตัวอย่างสกุลเงินที่คนไทยใช้บ่อย  อัตราแลกเปลี่ยน (Selling Rate)
(ข้อมูล ณ วันที่ 12 พ.ย. 2561 เวลา 12.45 น.) 
บัตรเดบิต TMB All Free
(All Free Hot RATE!)
ร้านแลกเงิน Super rich Thailand
  33.1467 33.08
  0.2917 
(ถูกกว่า)
0.2920
  4.2356
(ถูกกว่า)
4.24
  24.1183 23.95
  1.077 
(ถูกกว่า)
1.095
  0.0296 0.0292
ดูอัตราแลกเปลี่ยน All Free Hot RATE! เพิ่มเติมที่นี่
จากตารางเปรียบเทียบด้านบน จะเห็นได้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนของบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี กับร้านแลกเงิน เรียกได้ว่าสูสีกันเลยนะคะ ในบางสกุลเงินอัตราแลกเปลี่ยนของ บัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี ถูกกว่าด้วย แต่บัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี สะดวกกว่าตรงที่เหมือนมีร้านแลกเงินอยู่ในมือและก็ยังใช้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการนำบัตรเดบิตไปรูดซื้อสินค้าที่ต่างประเทศ หรือจะกดเงินสดออกมาใช้จ่าย แค่เรามีเงินในบัญชีเพียงพอก็สามารถใช้จ่ายได้อย่างสบายเลยล่ะค่ะ 
นอกจากนี้ หากเราไปเดินตลาดที่ไม่รับบัตรเดบิต และเราต้องใช้เงินสดเท่านั้น การกดเงินสกุลท้องถิ่นจากบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี มีค่าธรรมเนียมการกดเงินเพียง 75 บาทต่อครั้ง เท่านั้น (แต่อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับ ATM ของแต่ละประเทศ) ซึ่งถูกกว่าการใช้บัตรเดบิตของธนาคารอื่นๆ เกือบทั้งหมดจะมีค่าธรรมเนียมในการกดเงินประมาณ 100 บาทต่อครั้งนะคะ ประหยัดเพิ่มไปได้อีก 

ไปเที่ยวต่างประเทศใช้ "เงินสด", "บัตรเดบิต" หรือ "บัตรเครดิต" ดีกว่ากัน?

หลายคนก็ยังมั่นใจว่าพกเงินสดไว้ยังไงก็อุ่นใจกว่า แต่ด้วยยุคสมัยนี้เป็น Cashless Society และเราต้องคำนึงถึงความปลอดภัย หากเงินเกิดสูญหายเราจะมีตัวช่วยสำรองอะไรได้บ้าง หรือหากเราต้องการซื้อของที่มีราคาสูง เราก็คงไม่อยากแลกเงินจำนวนมากเพื่อถือไปซื้อของนั้นๆ นะคะ เรามาสรุปข้อดี ข้อเสียของการใช้ "เงินสด", "บัตรเดบิต" หรือ "บัตรเครดิต" ในกรณีที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ดังนี้ค่ะ 
 เงินสด

บัตรเดบิต TMB All Free

บัตรเครดิต 

 ข้อดี  
 1. สะดวก เพราะสามารถหยิบใช้ได้ทันที เช่น เวลาเราไปถึงต่างประเทศ จะซื้อของเล็กๆ น้อยๆ อาหาร เครื่องดื่ม ค่าเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ หรือแม้แต่การทำบุญ หรือบริจาค ใช้เงินสดก็สะดวกที่สุดค่ะ

2. หากตลอดทริป เราใช้แต่เงินสดก็จะทำให้เราสามารถควบคุม Budget ตลอดทั้งทริปได้ 
 1. ปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสดเยอะ เพราะสามารถนำบัตรเดบิต TMB All Free ไปรูดซื้อสินค้าได้ (ตามร้านค้าที่รับบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต)

2. สามารถซื้อของราคาสูงได้ จากวงเงินในบัญชีที่เรามี โดยวงเงินที่สามารถรูดได้ต่อวันสูงสุด 500,000 บาทต่อวัน ต่อบัตร 

3. สามารถนำบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี ไปกดเงินสกุลท้องถิ่นที่ปลายทางนั้นๆ ได้ โดยมีค่าธรรมเนียมเพียง 75 บาท

4. อัตราแลกเปลี่ยนใกล้เคียงกับร้านแลกเงิน และสามารถเปรียบเทียบเรทผ่าน TMB TOUCH ได้ตลอดเวลา

5. ไม่มีชาร์จค่าความเสี่ยงการแปลงสกุลเงินต่างประเทศ 2.5%

6. สามารถควบคุมวงเงิน ปรับลด หรือเพิ่ม ที่จะใช้จ่ายได้ด้วยตนเอง ผ่าน TMB TOUCH ได้ 
1. เราสามารถซื้อของราคาสูงได้ ไม่ต้องพกเงินสดเยอะๆ โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิต
 
2. อุ่นใจได้ เพราะมีความคุ้มครองต่างๆ พ่วงไปด้วย เช่น ประกันการเดินทาง ซึ่งวงเงินก็ขึ้นอยู่กับบัตรเครดิตด้วยค่ะ 
 ข้อเสีย  
1. เสี่ยงต่อการสูญหาย ต้องคอยระมัดระวังตลอด

2. มีจำนวนจำกัด หากเราแลกเงินไปเท่าไหร่ก็ใช้ได้เท่านั้น

3. เวลาจะซื้อของที่ราคาสูง เงินที่เราแลกไปอาจจะไม่เพียงพอ

4. ถ้าเหลือเป็นเงินเหรียญกลับมา เราไม่สามารถแลกคืนเป็นเงินบาทได้ 
1. ต้องเตรียมเงินในบัญชีไว้ให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายตลอดทริป


 1. หากมีการใช้จ่ายผ่านบัตร จะมีค่าความเสี่ยงของการแปลงสกุลเงินสูงสุด 2.5% แล้วแต่ธนาคาร (ค่าความเสี่ยงคืออะไร ดูได้ที่นี่)

2. เราไม่สามารถปรับเพิ่ม วงเงินบัตรเครดิตด้วยตนเองได้ ต้องให้ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตปรับให้

ตัวอย่างการซื้อสินค้าด้วยเงินสด บัตรเครดิต และบัตรเดบิต

ยกตัวอย่างการใช้เงินใน 3 รูปแบบ ของนายไท เมื่อไปเที่ยวฮ่องกง ในวันที่ 12 พ.ย. 2561 และต้องการซื้อรองเท้าผ้าใบ ราคา 3,100 เหรียญฮ่องกง (HKD) มาดูกันค่ะว่าแบบไหนจะคุ้มที่สุด 
รูปแบบการซื้อสินค้า  อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาท 
ซื้อด้วยเงินสด 

นายไทแลกเงินที่ธนาคารแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2561
เพื่อไปซื้อสินค้าในวันที่ 12 พ.ย. 2561

อัตราแลกเปลี่ยน = 4.26
(3,100 x 4.26)
คิดเป็น
13,206 บาท 
ซื้อด้วยบัตรเดบิต
ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี 


1. โดยการรูดซื้อสินค้าผ่านบัตร

อัตราแลกเปลี่ยน TMB All Free Hot Rate! = 4.2356 
(3,100 x 4.2356)
คิดเป็น
13,130.36 บาท
2. โดยการกดเงินสดจากบัตรมาซื้อ

อัตราแลกเปลี่ยน TMB All Free Hot Rate! = 4.2356  + ค่าธรรมเนียมการกดเงิน 75 บาท 
(3,100 x 4.2356) + 75
คิดเป็น 13,205.36 บาท
ซื้อด้วยบัตรเครดิต

 สามารถเช็คอัตราแลกเปลี่ยน จาก VISA พร้อมคำนวณเงิน ได้ที่นี่


คิดเป็น 13,458.72 บาท
ดังนั้น ข้อสรุปสำหรับนายไทในกรณีที่ต้องการซื้อรองเท้าผ้าใบคู่นี้ นายไทซื้อโดยรูดผ่านบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี จะได้รองเท้าในราคาถูกกว่าการซื้อแบบอื่นๆ แต่สำหรับกรณีที่แตกต่างจากนี้ หรือสกุลเงินที่ไม่ใช่ HKD เราต้องเช็คข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละวันกันก่อนนะคะ :)  

สมัครใช้บริการบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี ได้อย่างไร?

เพียงนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง ติดต่อที่ธนาคารทหารไทยทุกสาขา เพื่อเปิดบัญชีเงินฝากทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี (ไม่กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี) ก็สามารถขอเปิดใช้บริการบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี ได้แล้วค่ะ โดยบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี มีอายุการใช้งานอยู่ที่ 5 ปี และบัญชีนี้ไม่ได้ดีแค่ใช้เมืองนอก แต่ใช้ในไทย กด โอน จ่าย ก็ฟรีค่าธรรมเนียม ทั้งบนแอปฯ และตู้ ATM
นอกจากนี้ หากใช้บัญชีทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี เป็นประจำยิ่งได้สิทธิประโยชน์เพิ่ม และไม่จำเป็นต้องคงเงินในบัญชี หรือมีเงินเข้าทุกเดือน แค่ใช้ ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี อย่างน้อย 5 ครั้ง/เดือน ก็สามารถรับดอกเบี้ย บัญชีทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ เพิ่มเป็น 1.60% ต่อปี
 ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต TMB All Free  
 ค่าธรรมเนียมการออกบัตร ครั้งแรก 500 บาท 
ค่าธรรมเนียมรายปีของบัญชีพร้อมบัตรเดบิต
อัตราปกติ 350 บาทต่อบัญชี พิเศษ...ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี! เมื่อใช้บัตรเดบิต TMB All Free หรือ TMB WAVE ในการชำระเงินกับร้านค้า มูลค่ารวม 10,000 บาท/ปี 
ค่าธรรมเนียมในการขอออกบัตรใหม่ทดแทนบัตรเดิมในทุกกรณี ฟรี! ค่าธรรมเนียม
โอนเงินต่างธนาคาร หรือโอนข้ามจังหวัดปลายทางรับเงินทันที  ฟรี! ค่าธรรมเนียม
จ่ายบิล เติมเงิน หักบัญชีอัตโนมัติ ฟรี! ค่าธรรมเนียม
กดเงินทุกตู้ ทุกธนาคาร ทุกจังหวัด ฟรี! ค่าธรรมเนียม
หากมีบัญชีเงินฝากกับทีเอ็มบีอยู่แล้ว และต้องการเปิดบัญชี ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี เพิ่ม สามารถเปิดบัญชีออนไลน์ได้ที่ ทีเอ็มบี ทัช โมบายแอปฯ นะคะ



สามารถติดต่อขอเปิด บัญชีเงินฝาก ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี และสมัครขอใช้บริการ บัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ฟรี ได้ที่ธนาคารทหารไทย ทุกสาขา หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1558
แท็กที่เกี่ยวข้อง tmb ธนาคารทหารไทย บัตรเดบิต tmb all free อัตราแลกเปลี่ยน เรทถูก ไม่มีชาร์จ ทีเอ็มบี ทัช โมบายแอพ
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)