ประเภทปลีกย่อยของประกันชีวิต | รูปแบบหรือจุดเด่นสำคัญๆ | เหมาะกับใคร? | |
1. | ประกันชีวิตแบบเน้นคุ้มครองชีวิตอย่างเดียว แบบมีกำหนดเวลา (Term Insurance) | เน้นความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น 10 ปี หรือ 20 ปี บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้ในกรณีเดียวคือ ผู้ทำประกันตายภายในระยะเวลาคุ้มครอง หากมีชีวิตอยู่เลยจากระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะไม่ได้รับเงินคืน ค่าเบี้ยประกันจะไม่ค่อยสูง | เหมาะกับคนที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตเพียงอย่างเดียว และลดภาษีด้วย (แต่ต้องซื้อแบบเกิน 10 ปี) |
2. | ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ | บริษัทจะจ่ายเงินให้กับผู้รับประโยชน์ เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก่อนระหว่าง (ก) ผู้เอาประกันตาย (ข) ผู้เอาประกันไม่ตาย และมีชีวิตอยู่จนอายุครบ ตามที่กรมธรรม์กำหนด (เช่น 90 ปี) ค่าเบี้ยประกันจะไม่ค่อยสูง | เหมาะกับคนที่เน้นสร้างความมั่นคงให้ครอบครัวถ้าคนที่เป็นเสาหลักของครอบครัวบังเอิญเสียชีวิตลง และลดภาษีด้วย (แต่ต้องซื้อแบบเกิน 10 ปี) |
3. | ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Retirement Insurance) | เป็นประกันชีวิตที่จะเริ่มจ่ายเงินให้ผู้ทำประกันเมื่อผู้ทำประกันมีอายุถึงเกณฑ์ที่กำหนด (ส่วนใหญ่จะเป็นอายุช่วงเกษียณ) โดยมักต้องจ่ายเบี้ยประกันนานเป็นเวลาหลายๆ ปีต่อเนื่อง เช่น 10 ปีขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับแบบประกัน) โดยระหว่างที่จ่ายเบี้ยประกัน จะไม่มีเงินจ่ายคืนให้ แต่หลังจากนั้น (ซึ่งจะเป็นช่วงอายุที่เราเกษียณแล้ว) จะได้รับเงินคืนเป็นรายงวดในแต่ละปี เพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ ค่าเบี้ยประกันจะค่อนข้างสูง | เหมาะกับคนที่เน้นการออมเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ และลดภาษีด้วย |
4. | ประกันชีวิตแบบเน้นสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) | เมื่อครบอายุกรมธรรม์ จะได้รับเงินคืนเป็นก้อนบวกผลตอบแทนในเชิงของดอกเบี้ย โดยในระหว่างอายุกรมธรรม์ ก็อาจได้ผลตอบแทนคืนเป็นรายงวดด้วย (ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่ซื้อ เช่นแบบมีปันผล หรือไม่มีปันผล) เบี้ยประกันมีได้ทั้งค่อนข้างต่ำ ไปจนถึงสูงมาก | เหมาะกับคนที่ต้องการโดนบังคับให้มีการออมเงิน และขณะเดียวกันจะได้ประโยชน์จากการประกันชีวิตด้วย และลดภาษีด้วย (แต่ต้องซื้อแบบเกิน 10 ปี) |
5. | ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-linked Insurance) | เป็นประกันชีวิตควบการลงทุน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (ก) ส่วนของการประกันภัย ที่จะเป็นการให้ความคุ้มครองชีวิตตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต และอาจมีความคุ้มครองสุขภาพ และโรคร้ายแรงเพิ่มเติมได้โดยทำสัญญาเพิ่มเติม และ (ข) ส่วนของการลงทุน เกิดจากการนำเบี้ยประกันชีวิตส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าประกันภัย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือที่เรียกว่า "มูลค่าทางบัญชี" ไปลงทุนโดยการซื้อหน่วยลงทุนรวมที่บริหารโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ตามที่ผู้เอาประกัน หรือผู้ลงทุนเลือกไว้ และจะไม่มีการรับประกันผลตอบแทนใดๆ | เหมาะสำหรับคนที่ต้องการทั้งความคุ้มครองชีวิต และผลตอบแทนจากการลงทุนผ่านกองทุนในระยะยาวด้วย |
ระดับความคุ้มครองสุขภาพ | รูปแบบหรือจุดเด่นสำคัญ | เหมาะกับใคร? | |
1. | ผู้ป่วยใน (Inpatient Care) | สำหรับการเจ็บป่วยที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล การเลือกซื้อประกันสุขภาพชนิดนี้ ต้องพิจารณาจากอัตราค่าห้องของโรงพยาบาลที่คาดว่าหากเจ็บป่วยจะต้องรักษาตัว โดยยิ่งเลือกค่าห้องสูง ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตาม | เหมาะกับคนที่ไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาล หรือมีสวัสดิการ แต่อาจไม่เพียงพอกับความต้องการ |
2. | ผู้ป่วยนอก (Outpatient Care) | สำหรับการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น เป็นหวัด ปวดศีรษะ วงเงินในการรักษาควรพิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เมื่อไปรักษาในสถานพยาบาลที่ใช้เป็นประจำ | เหมาะกับผู้ที่ไม่มีสวัสดิการ หรือเป็นผู้ที่เจ็บป่วยบ่อย |
3. | โรคร้ายแรง | สำหรับความเจ็บป่วยที่ต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลสูง ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยโรคมะเร็ง (Cancer) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Heart Attack) และโรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke) | เหมาะกับคนสุขภาพโดยรวมไม่ค่อยดี หรือคนที่เริ่มมีอายุแตะเลข 3 ปลายๆ หรือ 40 ขึ้น |
4. | อุบัติเหตุ | เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาล ทุพพลภาพ และสูญเสียอวัยวะอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ (ซึ่งนิยามว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันจากปัจจัยภายนอกร่างกาย และทำให้เกิดผลที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เจตนา หรือมุ่งหวัง) คุ้มครองเฉพาะกรณีเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่คุ้มครองกรณีเป็นโรค | เหมาะกับคนที่ทำงานซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอุบัติเหตุ เช่น งานที่ต้องเดินทางไกลบ่อย |
5. | ชดเชยรายได้ (ประกันภัยที่ดูแลระยะยาว) | เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้ทำประกันภัยไม่สามารถทำภารกิจที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตได้ อย่างน้อย 3 ใน 6 อย่างต่อไปนี้ คือ การเปลี่ยนท่าระหว่างนอน และนั่ง, การเดิน, การแต่งกาย ,การอาบน้ำ, การทานอาหาร ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือมีคำวินิจฉัยจากแพทย์ โดยประกันจะจ่ายเป็นค่าชดเชยทดแทนแบบรายเดือนหรือตามทุนประกันภัยที่ซื้อไว้ และจ่ายต่อเนื่องสูงสุด 24 - 36 เดือนสำหรับวงเงินชดเชยรายได้ | เหมาะกับผู้ที่มีครอบครัวต้องเลี้ยงดู หรือมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ |
ประกันชีวิต | ประกันสุขภาพ | Tip แนะนำ | |
เราจะได้ประโยชน์อะไรจากประกันแต่ละประเภท | หากเกิดกรณีเราเสียชีวิต (หรือรอดชีวิตมาได้ถึงอายุจุดหนึ่ง) บริษัทประกันจะจ่ายเงินก้อนหนึ่งให้ลูกหลานเราที่ระบุไว้ว่าเป็นผู้รับผลประโยชน์ (กรณีเสียชีวิต) หรือคืนทุนประกันให้เราเต็มจำนวน (กรณีเรามีอายุถึงจุดหนึ่ง เช่น 90 ปี ครบตามสัญญาประกัน) เป็นได้ทั้ง "Death Benefits" และ "Survival Benefits" | หากเกิดกรณีเราล้มป่วย ทุพพลภาพ หรือได้รับอุบัติเหตุถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาล บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้เราสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยกรณีเราไม่สามารถทำงานได้ต้องนอนอยู่โรงพยาบาล | โดยหลักแล้ว ประกันทั้งสองประเภทนี้ ถ้าทำตั้งแต่ตอนอายุยังไม่มาก เช่น 30 กว่า จะเสียค่าเบี้ยประกันต่ำกว่าทำตอนอายุเยอะๆ และขอบเขตโรคที่คุ้มครองก็มักจะได้กว้างกว่าด้วย |
จ่ายเบี้ยประกัน แล้วไปไหน | เบี้ยไม่สูญเปล่า คือเมื่อจ่ายเบี้ยประกัน จำนวนเบี้ยประกันจะมีมูลค่าสะสมเข้าไปในกรมธรรม์ | เบี้ยสูญเปล่า คือเมื่อจ่ายเบี้ยประกันไปแล้ว ถ้าไม่มีป่วย เบี้ยปีนั้นๆ ก็จะสูญไปเลย จะไม่มีมูลค่าเงินสดสะสมเข้าไปในกรมธรรม์ | ประกันสุขภาพเป็นเบี้ยสูญเปล่าก็จริง แต่ถือเป็นการซื้อความเสี่ยง ถ้าเกิดป่วยขึ้นมาจริงๆ เบี้ยประกันเหล่านี้จะถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับค่ารักษาพยาบาล |
จำนวนเบี้ยประกันมากน้อยแค่ไหน | โดยเฉลี่ย เบี้ยประกันชีวิตจะสูงกว่าเบี้ยประกันสุขภาพ (เช่น ถ้าแบบครอบคลุมได้ประโยชน์จริงๆ ก็จะมีตั้งแต่หลายหมื่นบาท จนถึงหลักแสนบาท) แต่เนื่องจากเบี้ยมีมูลค่าสะสม จึงสามารถเก็บสะสมเป็นเงินออมเป็นมรดกได้ในอนาคต (และจะยิ่งสูงขึ้นไปอีกถ้าเป็นประกันชีวิตแบบเน้นสะสมทรัพย์หรือแบบบำนาญ) | มีได้ตั้งแต่ระดับไม่สูง จนถึงสูงมาก (เช่น หมื่นบาทต้นๆ จนถึงหลายหมื่นบาท) ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ ขอบเขตการรักษาพยาบาล หรือความคุ้มครอง | เดี๋ยวนี้เราสามารถซื้อกรมธรรม์เดียวแต่ควบรวมทั้งประกันชีวิต และประกันสุขภาพในกรมธรรม์เดียวกันได้ หรือถ้าเราอายุยังไม่เยอะมาก เราอาจซื้อประกันชีวิตก่อนได้ แล้วพออายุเริ่มเยอะ หรือมีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บสูงขึ้น ค่อยซื้อประกันสุขภาพเป็นสัญญาเพิ่มเติมกรมธรรม์ประกันชีวิตก็ได้ |
คุ้มครองอะไรให้เราบ้าง | คุ้มครองการเสียชีวิต หรือจะคืนผลประโยชน์ให้แบบเต็มจำนวน เมื่อผู้เอาประกันยังคงมีชีวิตอยู่ไปจนครบสัญญาประกันภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์นั้นๆ | คุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายได้เนื่องจากต้องนอนพักรักษาพยาบาล | ควรพิจารณาเลือกซื้อให้เหมาะสมกับความจำเป็นของเรา ไม่จำเป็นต้องซื้อให้คุ้มครองทุกอย่าง เช่น ประกันสุขภาพถ้าเรามีประกันกลุ่มของบริษัทนายจ้างเราที่ดีอยู่แล้ว ก็อาจซื้อแค่ประกันโรคร้ายแรง หรืออุบัติเหตุ ไม่จำเป็นต้องซื้อแบบผู้ป่วยนอก เป็นต้น |
ใครได้ประโยชน์จากเงินสินไหม | เงินประกันจะตกเป็นของผู้ที่ระบุชื่อในกรมธรรม์ว่าเป็นผู้รับผลประโยชน์ ซึ่งอาจเป็นตัวเราเอง สามี ภรรยา บุตรหลาน หรือพ่อแม่เราเองก็ได้หมด | เงินประกันจะจ่ายให้ในชื่อผู้เอาประกันเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยรายได้เท่านั้น | เงินสินไหมทดแทนกรณีประกันสุขภาพจะมี 2 แบบหลักๆ คือ (ก) ประกันสุขภาพในวงเงินเหมาจ่าย (ข) ประกันสุขภาพที่แยกประเภทค่าใช้จ่ายในการรักษา แต่ละประเภทมีความเหมาะสมไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าเลือกแบบเหมาจ่ายสำหรับโรคร้ายแรง ก็อาจคุ้มกว่า ในขณะที่ถ้าแบบแยกประเภทค่าใช่จ่าย ก็อาจเหมาะกว่าสำหรับบางโรคเล็กๆ น้อยๆ ที่เราเป็นบ่อย |
ต้องจ่ายเบี้ยประกันนานแค่ไหน และระยะประกันจะนานแค่ไหน | มีได้ทุกระยะเวลา แต่หากต้องการได้รับประโยชน์ในเชิงลดหย่อนภาษี ต้องซื้อแบบแผนประกันชีวิตตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และมีผลประโยชน์ตอบแทนคืน ไม่เกินปีละ 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสม | ขึ้นกับว่าทำแบบไหน ทำได้หลายแบบ แบบปีต่อปี หรือแบบอิงตามระยะเวลาของประกันชีวิตหลักที่ประกันสุขภาพนี้เป็นส่วนเพิ่มเติม | การทำประกันสุขภาพแบบมีผลปีต่อปีไม่ค่อยแนะนำเพราะถ้าเราป่วย แล้วมีการใช้สิทธิ Claim ปีหน้าบริษัทประกันมักปรับค่าเบี้ยสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ ให้ทำประกันสุขภาพแบบจำนวนเบี้ยประกันตายตัวแน่นอนแบบระยะยาวจะดีกว่า |
สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างกันยังไง | เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่แผนประกันชีวิตนั้นมีระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และมีผลประโยชน์ตอบแทนคืน ไม่เกินปีละ 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสม โดยใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามเบี้ยประกันที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แต่ถ้าประกันชีวิตเป็นแบบบำนาญ ยังสามารถลดหย่อนภาษีเพิ่มได้อีกตามเบี้ยประกันที่จ่ายจริง โดยสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท (แต่ถ้ารวมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท) | เบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป / เงินฝากแบบมีประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท | เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญจะลดหย่อนภาษีได้สูงสุด (คือ 200,000 บาท) และมากกว่าเบี้ยประกันสุขภาพ และประกันชีวิตแบบอื่นๆ เบี้ยประกันสุขภาพต้องนำไปรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปหากต้องการจะลดหย่อนภาษี เพราะกฎหมายไทยตีความว่าการประกันสุขภาพเป็นการประกันวินาศภัย (ที่ไม่ใช่ประกันชีวิต) ดังนั้น บริษัทประกันส่วนใหญ่เลยขายประกันสุขภาพพ่วงประกันชีวิต เพื่อให้คนซื้อประกันสุขภาพสามารถนำเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้ |
เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้
ประเภทคุกกี้ อ่านเพิ่มเติม ที่นี่ |
ยินยอม / ไม่ยินยอม |
---|---|
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ (Strictly Necessary) |
|
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์ (Functionality) |
|
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์ (Performance & Analytics) |
|
คุกกี้เพื่อการตลาด (Marketing) |