เช็คราคา "ค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเดบิต" ใบไหนถูก ใบไหนแพง? เลือกได้ครบที่นี่ที่เดียว

icon 6 ส.ค. 63 icon 199,331
เช็คราคา "ค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเดบิต" ใบไหนถูก ใบไหนแพง? เลือกได้ครบที่นี่ที่เดียว

เช็คราคา "ค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเดบิต" ใบไหนถูก ใบไหนแพง? เลือกได้ครบที่นี่ที่เดียว

ปัจจุบันพบว่าเทรนด์ของยอดการใช้จ่ายผ่าน  "บัตรเดบิต (DEBIT CARD)"  นั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อยู่ที่ประมาณ 5.5 ล้านรายการต่อเดือน (เพิ่มขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) อาจจะเป็นเพราะนโยบายของรัฐบาลที่ได้กระตุ้นให้มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตด้วยนั่นเอง และก่อนหน้านี้เราก็ได้ทำบทความเกี่ยวกับการเลือกใช้บัตรเดบิต ว่าควรจะเลือกบัตรเดบิตยังไงถึงจะคุ้มค่า ต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง? หนึ่งในหลักการพิจารณาก่อนสมัครบัตรเดบิตนั้นก็มีเรื่องของ "ค่าธรรมเนียมรายปี" ประกอบอยู่ด้วย

ภาพข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ที่แสดงให้เห็นว่าช่องทางในการชำระเงินที่คนนิยมใช้กันมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ก็คือ การจ่ายผ่านบัตรเดบิต โดยมีการทำธุรกรรมมากถึง 185 ล้านรายการ
(ขอขอบคุณรูปภาพจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ)
บัตรเดบิต (Debit Card) มีกี่ประเภท?
นอกจากจะต้องรู้ว่าบัตรเดบิตคือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะคล้ายกับบัตรเอทีเอ็ม แต่สามารถใช้รูดซื้อสินค้า/ บริการต่างๆ ได้เหมือนบัตรเครดิตแล้วนั้น ยังต้องทราบเพิ่มเติมอีกด้วยว่าบัตรเดบิตมีทั้งแบบธรรมดาและไม่ธรรมดา อธิบายคร่าวๆ ได้ดังนี้

1. บัตรเดบิตธรรมดา (Normal Debit Card) นอกจากจะใช้กดเงินสดที่ตู้ ATM แล้ว คุณสมบัติที่เพิ่มเติมมาก็คือ สามารถใช้รูดซื้อสินค้า/ บริการต่างๆ ณ ร้านค้าที่รองรับบัตรเดบิต หรือร้านค้าออนไลน์ได้ (สังเกตุได้จากเครื่องหมาย VISA หรือ MasterCard มุมล่างขวามือ) และยังพกไปใช้กดเงินสดที่ตู้ ATM ที่ต่างประเทศได้อีกด้วย (จุดสังเกตคือ ด้านหลังบัตรจะมีสัญลักษณ์ Cirrus หรือ Plus)

2. บัตรเดบิตแบบมีประกัน (Insurance Debit Card) คุณสมบัติก็เหมือนกับบัตรเดบิตธรรมดาคือ ใช้กดเงินสดที่ตู้ ATM รูดซื้อสินค้า/ บริการทั้งร้านค้าที่รองรับบัตรและร้านค้าออนไลน์ และกดเงินสดที่ต่างประเทศได้ แต่เพิ่มความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุขึ้นมานั่นเอง และบางบัตรอาจมีค่าชดเชยกรณีเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล (แอดมิท) ให้ด้วย บัตรเดบิตประเภทนี้จึงมักจะมีค่าธรรมเนียมรายปีที่สูงกว่าบัตรเดบิตแบบธรรมดา เพราะต้องจ่ายทั้งค่าธรรมเนียมรายปีและค่าเบี้ยประกันไปในตัว
ได้ทราบถึงประเภทของบัตรเดบิตกันแล้ว คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า ค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเดบิตแต่ละใบจะถูกหรือแพงต่างกันมากน้อยแค่ไหน? โดยเราได้ทำการรวบรวมค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตของทุกธนาคาร ทั้งค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปี.. ทั้งหมดอยู่ในตารางด้านล่างนี้แล้ว ไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ :)
ตารางแสดงค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตของทุกธนาคาร ข้อมูลล่าสุด ณ เดือนกรกฎาคม 2563
         
ธนาคาร บัตรเดบิต
(ทุกประเภท)
ค่าธรรมเนียม
แรกเข้า (ต่อบัตร) รายปี (ต่อปี) ออกบัตรทดแทน

BBL
(กรุงเทพ)

บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น ยูเนี่ยนเพย์
100 บาท 200 บาท
(ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมรายปี 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2564)
100 บาท/ครั้ง

บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท
100 บาท 200 บาท
(ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมรายปี 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2564) 
100 บาท/ครั้ง

บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น มาสเตอร์การ์ด
100 บาท 300 บาท  100 บาท/ครั้ง

บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท ศิริราช
100 บาท 599 บาท
(ค่าบริการที่เกี่ยวกับบัตรเดบิต 374 บาท และค่าบริการที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัย 225 บาท)
100 บาท/ครั้ง

BAY
(กรุงศรี)

บัตรกรุงศรี เดบิต No Annual Fee
ฟรี ฟรี 100 บาท

บัตรกรุงศรี เดบิต All ATMs
480 บาท/ 3 ปี
เทียบเท่าปีละ 160 บาท
ฟรี 100 บาท

บัตรกรุงศรี เดบิต
100 บาท 200 บาท 100 บาท

บัตรกรุงศรี เดบิต แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
150 บาท 300 บาท 150 บาท

บัตร Krungsri Thai Debit
100 บาท 350 บาท 100 บาท

บัตรกรุงศรี เดบิต ออมทรัพย์จัดให้
ฟรี 400 บาท 100 บาท

บัตรกรุงศรี เดบิต พร้อม
150 บาท 599 บาท
(ค่าธรรมเนียมบัตร 200 บาท และค่าประกันรายปีพร้อมต้นทุนการดำเนินการธนาคาร 399 บาท)
150 บาท

บัตรกรุงศรี เดบิต OPD
ฟรี 3,999 บาท
(ค่าธรรมเนียมบัตร 200 บาท และค่าประกันรายปีพร้อมต้นทุนการดำเนินการธนาคาร 3,799 บาท)
150 บาท
 
บัตรกรุงศรี FCD
200 บาท 300 บาท 200 บาท

CIMB THAI
(ซีไอเอ็มบี ไทย)
 

บัตรเดบิต ซีไอเอ็มบี ไทย
100 บาท 200 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต ซีไอเอ็มบี ไทย เจ็บไม่ต้องจ่าย (Basic)
100 บาท 529 บาท  100 บาท

บัตรเดบิต คู่กับบัญชีไม่มีสมุดคู่ฝาก (e-Saving)
100 บาท 300 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต ที่ผูกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ Beat Savings
100 บาท ฟรี 100 บาท

Citibank
(ซิตี้แบงก์)
 

บัตรซิตี้แบงก์ เดบิต มาสเตอร์การ์ด
200 บาท
300 บาท
(ลูกค้าที่มีบัญชีซิตี้โกลด์ และซิตี้ ไพรออริตี้ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี)
200 บาท

GSB
(ออมสิน)

บัตรออมสิน เดบิต GSBxBNK48
50 บาท   250 บาท 175 บาท 

บัตรออมสิน เดบิต เบสิค GSB DEBIT BASIC
ฟรี ฟรี 100 บาท

บัตรออมสิน วีซ่า เดบิต อินสแตนท์
100 บาท 200 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต ออมสิน อินสแตนท์ ลายบัตรช้างศึก
100 บาท 200 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต ออมสิน สมาร์ทไลฟ์
100 บาท 999 บาท  100 บาท

บัตรเดบิต ออมสิน แอคซิเดนท์
100 บาท 400 บาท 100 บาท

บัตรออมสิน เดบิต มาสเตอร์การ์ด 
100 บาท 200 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต ออมสิน อินสแตนท์ ลายบัตร Thai League
100 บาท 200 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต ออมสิน สมาร์ทแคร์
100 บาท 599 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต ออมสิน อินสแตนท์ ลายบัตร E-Sports
100 บาท 200 บาท 100 บาท

ICBC THAI
(ไอซีบีซี ไทย)
 
บัตรเดบิตวีซ่า (VISA) บัตรทอง
ฟรี 100 บาท 50 บาท 

บัตรเดบิตสองสกุลเงินยูเนี่ยนเพย์ - ทีพีเอ็น (บัตรทอง)
ฟรี 100 บาท 50 บาท

บัตรเดบิตวีซ่า (VISA) คลาสสิค
ฟรี 200 บาท 100 บาท

บัตรเดบิตสองสกุลเงินยูเนี่ยนเพย์ - ทีพีเอ็น คลาสสิค
ฟรี 200 บาท 100 บาท

KBANK
(กสิกรไทย)

บัตรเดบิตกสิกรไทย
100 บาท 200 บาท 100 บาท

บัตรเดบิตแมงมุม
ฟรี 250 บาท 150 บาท

บัตรเดบิตประจำจังหวัด
50 บาท 350 บาท 50 บาท

บัตรเดบิตช้อปปี้กสิกรไทย
150 บาท 350 บาท 150 บาท

บัตรเดบิต K-DUCATI
250 บาท 350 บาท 250 บาท

บัตรเดบิต K-Max Plus DUCATI
250 บาท 650 บาท 250 บาท

บัตรเดบิตช้างศึกกสิกรไทย
250 บาท 350 บาท 250 บาท

บัตรเดบิตอาร์โอวีกสิกรไทย (บัตรเดบิตลายพิเศษ)
150 บาท 350 บาท 150 บาท 

บัตรเดบิตพื้นฐาน
0 บาท 0 บาท 0 บาท

บัตรเดบิต K-My
150 บาท 250 บาท 150 บาท

บัตรเดบิต K-Max Plus
150 บาท 650 บาท 150 บาท

KK
(เกียรตินาคิน)
 

บัตร KK Value Debit Card
100 บาท 200 บาท** 100 บาท
**จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อมียอดเงินคงเหลือในบัญชีที่ผูกกับบัตรเฉลี่ยตลอดทั้งปี ตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไป

บัตร KK Maxi Debit Card
100 บาท  299 บาท 100 บาท

บัตร KK Trust Debit Card
100 บาท 599 บาท 100 บาท

บัตร KK Protect Debit Card
100 บาท 999 บาท 100 บาท

KTB
(กรุงไทย)

บัตรเดบิตกรุงไทย ช้อปสมาร์ท คลาสสิค
100 บาท 200 บาท 100 บาท

บัตรเดบิตกรุงไทย ช้อปสมาร์ท เพิร์ล
100 บาท 599 บาท 100 บาท

บัตรเดบิตกรุงไทย ช้อปสมาร์ท บลูไดมอนด์ เอ็กซ์ตร้า
100 บาท 999 บาท 100 บาท 

กุรงไทย บัตรเดบิตแมงมุม
ฟรี 150 บาท 100 บาท

บัตรเดบิตกรุงไทย ช้อปสมาร์ท พาลาเดียม
100 บาท
1,599 บาท
100 บาท

LH Bank
(แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์)

บัตร LH Bank Debit Chip Card
100 บาท 200 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต LH Bank Premium
100 บาท 600 บาท 100 บาท*
(*ออกบัตรทดแทนกรณีถูกโจรกรรม ไม่คิดค่าธรรมเนียม)

SCB
(ไทยพาณิชย์)
 

บัตรเดบิต SCB M
100 บาท 200 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต เอส สมาร์ท
100 บาท 200 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต เอส สมาร์ท พลัส
100 บาท 599 บาท  100 บาท

บัตรเดบิต เอส สมาร์ทเอ็กซ์ตร้า พลัส
100 บาท 999 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต เอส สมาร์ท ซูเปอร์ พลัส
100 บาท 1,599 บาท 100 บาท

Thanachart
(ธนชาต)

บัตรเดบิตธนชาต
100 บาท 200 บาท  100 บาท

บัตรเดบิตธนชาตฟรีเวอร์ไลท์
100 บาท 250 บาท 100 บาท

บัตรเดบิตชัวร์
100 บาท
  • เปิดคู่กับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนชาตฟรีเว่อร์ไลท์ (Freever-Lite) 549 บาท/ปี
  • เปิดคู่กับบัญชีออมทรัพย์มีระดับ 549 บาท/ปี
  • เปิดคู่กับบัญชีกระแสรายวันและ Freever-More 499 บาท/ปี
100 บาท

TISCO
(ทิสโก้)

บัตรเดบิตทิสโก้
 ผูกกับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์, ออมทรัพย์ Smart Payroll, ออมทรัพย์ TISCO My Savings, กระแสรายวัน, บัญชีรับโอน* 100 บาท ยกเว้นออมทรัพย์ Smart Payroll
ฟรีใบแรก
200 บาท ยกเว้นออมทรัพย์ Smart Payroll ฟรีปีแรก
250 บาท สำหรับออมทรัพย์ TISCO My Savings
100 บาท
ผูกกับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันพิเศษ, ซุปเปอร์ออมทรัพย์, ออมทรัพย์พิเศษ, ออมทรัพย์ไดมอนด์, ออมทรัพย์บลูไดมอนด์ ฟรีบัตรใบแรก ใบต่อไป 100 บาท ฟรี ยกเว้นออมทรัพย์พิเศษฟรี เฉพาะปีแรก 100 บาท
ลูกค้า Wealth ฟรี ฟรี ฟรี 

TMB
(ทหารไทย)

บัตรเดบิต TMB Superior All Free
ฟรี ฟรี ฟรี

บัตรเดบิต ทีเอ็มบี ไลท์
200 บาท/ 5 ปี ฟรี 200 บาท

บัตรเดบิต ทีเอ็มบี รอยัล ออลล์ ฟรี แบบมี Chip
ยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า ปีแรก 500 บาท
ปีถัดไป 350 บาท
ฟรี (ทุกกรณี)

บัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี
500 บาท
350 บาท
ฟรี (ทุกกรณี)

UOB
(ยูโอบี)

บัตรยูโอบี มาสเตอร์การ์ด เดบิต
100 บาท 300 บาท 100 บาท

บัตรเดบิต ยูโอบี อันลิมิต พลัส
100 บาท 550 บาท/ 2 ปี 100 บาท

บัตรเดบิต ยูโอบี วีแคร์ อันลิมิต
100 บาท 799 บาท 100 บาท
ก็หวังเป็นอย่างยิ่งนะคะว่าตารางสรุปค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตที่เรานำมาฝากในวันนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังมองหาบัตรเดบิตดีๆ สักใบ เพราะเชื่อว่า "ค่าธรรมเนียม" นั้นน่าจะเป็นอีกช้อยส์หนึ่งที่จะช่วยในการตัดสินใจ เพราะบางบัตรถึงแม้ว่าจะมีราคาที่สูง แต่ถ้าให้สิทธิพิเศษที่คุ้มค่าก็น่าเลือกทำ แต่ถ้าหากพิจารณาดูสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับแล้วไม่คุ้มกับค่าธรรมเนียมที่แพงจนเกินไป ก็ต้องเลือกทำบัตรที่มีราคาต่ำลงมา ขึ้นอยู่กับเพื่อนๆ แล้วล่ะว่าจะใช้ประโยชน์จากบัตรเดบิตในด้านไหนมากที่สุด และมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารอะไร :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเดบิต debit card
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)