"CVV" รหัส 3 ตัวหลังบัตรเครดิต ที่ห้ามเปิดเผยเด็ดขาด หากไม่อยากเป็นหนี้หัวโต!

icon 17 พ.ค. 60 icon 167,684
"CVV" รหัส 3 ตัวหลังบัตรเครดิต ที่ห้ามเปิดเผยเด็ดขาด หากไม่อยากเป็นหนี้หัวโต!

"CVV" รหัส 3 ตัวหลังบัตรเครดิต ที่ห้ามเปิดเผยเด็ดขาด หากไม่อยากเป็นหนี้หัวโต!

อย่างที่เราทราบกันว่าปัจจุบันมีเว็บขายของออนไลน์ให้สามารถสั่งซื้อสินค้าได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น LAZADA, CENTRAL ONLINE, 11STREET ซึ่งทำให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ได้รับทั้งความสะดวก และประหยัดเวลาในการเดินทางมากขึ้น แทนที่จะต้องไปซื้อที่หน้าร้านก็เข้าไปซื้อในเว็บแทน ส่วนใหญ่ร้านค้าออนไลน์ก็มักจะรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต จึงอาจทำให้เพื่อนๆ บางคนกังวล และกลัวที่จะซื้อของผ่านออนไลน์ เพราะไม่แน่ใจว่าจะมีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับรหัสลับ 3 หลัก ที่เรียกกันว่า "CVV" ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำธุรกรรมออนไลน์.. ลองไปหาคำตอบเกี่ยวกับรหัสลับ 3 หลักนั้นพร้อมๆ กันเลยค่ะ
CVV คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง?
ด้านหลังบัตรเครดิต จะมีตัวเลขอยู่ 3 หลัก ตรงบริเวณช่องลายเซ็นเยื้องไปทางขวา ตัวเลข 3 หลักนั้นเรียกว่า "CVV" หรือชื่อเต็มๆ คือ Card Verification Value Code ที่เหล่าสถาบันการเงินต่างๆ กำหนดให้เป็นรหัสตรวจสอบ หรือยืนยันตัวตนเวลาที่เราซื้อสินค้าหรือทำธุรกรรมในขั้นตอนสุดท้าย เช่น เวลาที่เราจะซื้อสติกเกอร์ไลน์ จะต้องกรอกรายละเอียดในการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ตั้งแต่ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่ในการส่งใบแจ้งยอด, หมายเลขบัตรเครดิต 16 หลัก, เดือน-ปี ที่บัตรหมดอายุ และสุดท้ายรหัส CVV เพื่อยืนยันการจ่ายเงินในลำดับสุดท้าย เป็นต้น
หมายเหตุ : ตำแหน่งของรหัส CVV ที่อยู่บนบัตรจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของบัตรเครดิต คือ ถ้าเป็นบัตรเครดิตประเภท VISA และ MasterCard จะมีจำนวน 3 หลัก อยู่ด้านหลังบัตรบริเวณช่องลายเซ็น ส่วนบัตรเครดิต American Express นั้นจะมี 4 หลัก อยู่ด้านหน้าบัตรบริเวณมุมบนด้านขวาหรือซ้ายของหมายเลขบัตรเครดิต

ภาพตัวอย่าง : ตำแหน่งรหัส CVV บทบัตรเครดิตประเภท Visa & MasterCard

ภาพตัวอย่าง : ตำแหน่งรหัส CVV บทบัตรเครดิต American Express
CVV ทำให้เราเป็นหนี้ได้ยังไง? และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร?
เนื่องจากรหัส CVV นั้นเป็นตัวยืนยันการทำธุรกรรมต่างๆ ของเราในขั้นตอนสุดท้ายตามที่อธิบายไปแล้วข้างต้น ถ้าหากมีคนรู้รหัส 3 ตัวหลังบัตรเครดิตของเรา หรือกรณีถูกขโมยบัตรเครดิตไป และนำไปใช้ทำธุรกรรมต่างๆ แทนเรา ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายได้ เพราะฉะนั้นวิธีการป้องกันการเกิดหนี้ หรือการโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิตจากมิจฉาชีพทั้งหลายนั้นก็ทำได้ไม่ยากค่ะ เรามีวิธีมาแนะนำคร่าวๆ ดังนี้
 เก็บข้อมูลบัตรเครดิตไว้ให้เป็นความลับที่สุด (ข้อมูลทั้งหมดบนหน้าบัตรและหลังบัตร) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมายเลขบัตรเครดิต 16 หลัก และเลขรหัส CVV
 ฝึกนิสัยการเก็บบัตรเครดิตเข้ากระเป๋าสตางค์ทันที หลังจากที่ใช้บัตรฯ ซื้อสินค้าหรือทำธุกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันบัตรฯ หาย และอย่าจดรหัส CVV ไว้ในกระเป๋าสตางค์เด็ดขาด
 อย่าเผลอถ่ายรูปหน้าบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตที่โชว์ภาพหมายเลขบัตรต่างๆ ลง Social Media เพราะนั่นจะเป็นการชี้ทางให้มิจฉาชีพเข้าใกล้ตัวเราได้ง่ายมากขึ้น
 หาเทปกาวมาแปะทับรหัส CVV ไว้ เพื่อป้องกันการมองเห็นจากมิจฉาชีพ หรือผู้ที่ไม่หวังดีกับเรา
 หากพบว่าบัตรเครดิตหาย ควรรีบโทรแจ้งอายัดบัตรฯ ทันทีที่นึกขึ้นได้ (ดูบทความเพิ่มเติม : "บัตรเครดิตหาย" ทำยังไงดี?)
ใช้ระบบ 3D Secure จาก VISA/ MasterCard เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์
เนื่องจากระบบ 3D Secure (3 ขั้นตอน) เป็นระบบที่ได้มีการทำร่วมกันระหว่างธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต กับบริษัท VISA/ MasterCard (Verified by VISA/ MasterCard SecureCode) เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการชำระเงิน ไม่ว่าจะเป็นทั้งธุรกรรมออนไลน์หรือไม่ก็ตาม ซึ่งถ้าหากเป็นการทำธุรกรรมออนไลน์ จะต้องทำการลงทะเบียนก่อนเข้าไปชำระเงิน (ตามเว็บไซต์ของธนาคารและประเภทบัตรเครดิตที่เราถืออยู่) โดยการทำงานของระบบ 3D Secure จะมีอยู่ 3 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ
- ขั้นที่ 1 สังเกตข้อความระบุตัวตน (Personal Assurance Message) ที่เราลงทะเบียนไว้ในครั้งแรก เพื่อตรวจสอบว่าใช่ข้อความที่เราลงทะเบียนไว้จริงหรือไม่ 
- ขั้นที่ 2 ขอรับรหัสผ่าน OTP (One Time Password) โดยระบบจะส่งข้อความผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่เราลงทะเบียนเอาไว้ 
- ขั้นที่ 3 กรอกรหัส OTP เพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการนั้นๆ ผ่านระบบออนไลน์
ยกตัวอย่างการลงทะเบียนใช้ระบบ 3D Secure ของบัตรเครดิต AEON
บริการ Verified by Visa, MasterCard Securecode, JCB J/Secure ของ AEON คือ บริการชำระเงินออนไลน์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล มอบความอบอุ่นใจให้คุณมากยิ่งขึ้นทุกครั้งที่ช้อปออนไลน์ด้วยบัตรเครดิต AEON 
ขั้นตอนในการลงทะเบียนใช้งานมีอะไรบ้าง?
    1. ลงทะเบียนบริการ Secure Online Payment (Verified by Visa, MasterCard Securecode, JCB J/Secure) ให้กับบัตร AEON ของคุณโดยรหัสผ่าน และข้อความส่วนตัวของคุณเอง
    2. ออนไลน์กับร้านค้าที่มีเครื่องหมาย Verified by Visa, MasterCard Securecode, JCB J/Secure โดยชำระค่าสินค้า และบริการด้วยบัตรเครดิต หรือบัตร AEON ที่ได้ลงทะเบียนใช้บริการ Secure Online Payment ไว้แล้ว
    3. ตรวจสอบความถูกต้องของหน้าขอทำรายการ โดยดูให้แน่ใจว่าข้อความส่วนตัวที่ปรากฎอยู่เป็นข้อความเดียวกับที่ได้ลงทะเบียนไว้
    4. ใส่รหัสผ่านของ Verified by Visa, MasterCard Securecode, JCB J/Secure เพื่อยืนยันตัวคุณในการทำรายการซื้อ และดำเนินการจนจบขั้นตอนการช้อปออนไลน์
                ขั้นตอนการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของอิออน
                1. ใส่หมายเลขบัตรเครดิต

                2. อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขต่างๆ แล้วคลิกเลือกในช่องสี่เหลี่ยมหน้าข้อความ "ฉันได้อ่านและยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลงต่างๆ" หลังจากนั้นคลิก "ยืนยันการลงทะเบียน"

                3. ใส่ข้อมูลยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตร และคลิก "ถัดไป"

                4. สร้างข้อมูลยืนยันส่วนตัว โดยข้อความนี้จะถูกแสดงขึ้นมาทุกครั้งที่ทำการชำระเงินออนไลน์ หลังจากนั้นยืนยันการลงทะเบียนด้วยรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว ที่ได้รับผ่านข้อความทางโทรศัพท์มือถือ (SMS)

                5. การลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์

                ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.aeon.co.th
                ตรวจสอบ URL ของเว็บไซต์ที่จะชำระเงินก่อนเสมอ
                สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องระมัดระวังในการซื้อสินค้าออนไลน์ก็คือ ความปลอดภัยของเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งจะต้องตรวจสอบดีๆ ก่อนทำการชำระเงินทุกครั้ง วิธีการง่ายๆ คือดูว่าเว็บไซต์นั้นขึ้นต้นด้วย HTTPS อยู่ที่หน้าลิ้งค์หรือไม่ เพื่อเป็นการเข้าลิ้งค์ที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ ควรหมั่นอัปเดตเว็บเบราเซอร์ และโปรแกรมป้องกันไวรัสอยู่เสมอ ก็จะช่วยป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากมิจฉาชีพได้อีกทางหนึ่ง

                ภาพตัวอย่าง : แสดงตัวอักษร HTTPS ในลิ้งค์ของเว็บไซต์ที่มีความปลอดภัยในการใช้งาน
                ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลความรู้ในเรื่องของรหัส CVV และวิธีการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากเหล่ามิจฉาชีพที่เรานำมาฝากนั้นจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ นะคะ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ตัวเราเองจะต้องมีสติ รอบคอบอยู่เสมอ และอย่าหลงเชื่อใครง่ายๆ จะได้ไม่เกิดปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลังค่ะ ^^
                แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต credit card สมัครบัตรเครดิต
                Money Guru
                เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

                พูดคุยกับกูรูได้ที่




                เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

                ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

                เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

                ประเภทคุกกี้
                อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
                ยินยอม / ไม่ยินยอม
                คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
                (Strictly Necessary)
                คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
                (Functionality)
                คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
                (Performance & Analytics)
                คุกกี้เพื่อการตลาด
                (Marketing)