ไขข้อข้องใจประกันชีวิตกับการลดหย่อนภาษี

icon 17 พ.ค. 60 icon 6,399
ไขข้อข้องใจประกันชีวิตกับการลดหย่อนภาษี

ไขข้อข้องใจประกันชีวิตกับการลดหย่อนภาษี

ประกันชีวิตถือเป็นหนึ่งในการลงทุนระยะยาวที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็มีสภาพคล่องต่ำด้วยเช่นกันค่ะ เพราะนอกจากจะได้รับความคุ้มครองตามสัญญาในกรมธรรม์แล้ว ผู้เอาประกันไม่สามารถนำเงินที่เป็นผลตอบแทนออกมาใช้ก่อนครบกำหนดสัญญาได้ หรือถ้าจะได้ก็ต้องยกเลิกกรมธรรม์ ผลตอบแทนที่ได้ก็จะไม่คุ้มกับที่จ่ายไป 
เมื่อพูดถึงการซื้อประกันชีวิต นอกจากเรื่องความคุ้มครองแล้ว หลายๆ คนก็ยังต้องนึกถึงเรื่องของการลดหย่อนภาษีกันด้วยแน่นอนค่ะ ว่าแต่... สำหรับเรื่องของการลดหน่อนภาษีจากการทำประกันชีวิตที่เราเข้าใจกันนั้นถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เรามาไขข้อข้องใจไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ 

ประกันชีวิตแบบไหนลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?

1. แบบประกันที่มีช่วงการคุ้มครอง และจ่ายเบี้ยตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป เช่น ประกันแบบตลอดชีพ ประกันแบบออมทรัพย์ โดยตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท  ภายใต้เงื่อนไขว่าประกันชีวิตนั้นต้องมีเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมที่จ่ายในแต่ละช่วงเวลา โดยไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ หรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์
เบี้ยประกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
  • ส่วนที่หนึ่ง คือ 10,000 บาทแรก สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้เลย 
  • ส่วนที่สอง คือส่วนที่เกิน 10,000 บาท สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกินเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่าย แต่ต้องไม่เกิน 90,000 บาท
2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นประกันที่จ่ายผลประโยชน์ให้เป็นรายงวด งวดละเท่าๆ กัน ตั้งแต่อายุ 55 - 85 ปี ซึ่งจะได้รับเงินผลประโยชน์นี้หลังจากที่มีการจ่ายเบี้ยประกันครบแล้วเท่านั้น โดยตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร จะเป็นแบบประกันชีวิตที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เพิ่มจากเบี้ยประกันชีวิตแบบอื่นๆ ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ทำประกันชีวิตให้พ่อ แม่ หรือลูก ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?


1. การทำประกันชีวิตสำหรับบุตร เช่น การทำประกันประเภทเพื่อการศึกษาบุตร กรณีนี้ผู้เอาประกันคือ บุตร ซึ่งเมื่อเกิดเหตุตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ บริษัทประกันต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุตร  ส่วนผู้ที่จ่ายเบี้ยประกันคือ บิดา หรือมารดา แต่กรมธรรม์ไม่ได้เป็นการคุ้มครองตัวผู้มีภาระต้องจ่ายค่าเบี้ยประกัน ดังนั้น บิดา หรือมารดาจึงไม่สามารถนำค่าเบี้ยประกันนั้นมาหักลดหย่อนภาษีได้
2. การทำประกันให้บุพการี เช่น การทำประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การประกันอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองเรื่องการรักษาพยาบาล การประกันภัยโรคร้ายแรง และการประกันภัยการดูแลระยะยาว ซึ่งทุกแบบประกันจะคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การเจ็บป่วย บาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูยเสียอวัยวะ เป็นต้น โดยบุตรจะเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกัน ดังนั้นบุตรผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันจึงสามารถใช้สิทธินำเบี้ยประกันไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท ต่อปีภาษี ต่อบุพการี 1 ท่าน ซึ่งต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่บิดาหรือมารดานั้นต้องมีรายได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท 

ประกันแบบยูนิตลิงค์ (Unit Link) ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?

ยูนิตลิงค์ คือ แบบประกันชีวิตควบการลงทุน ซึ่งจะเป็นการรวมผลประโยชน์ความคุ้มครองชีวิตแบบตลอดชีวิต และการลงทุนในรูปแบบของกองทุนรวมไว้ด้วยกันค่ะ สำหรับคนที่สนใจประกันแบบยูนิตลิงค์ ควรจะต้องมีความรู้เรื่องการลงทุน การจัดพอร์ต การบริหารพอร์ตการลงทุน รวมถึงควรมีความเข้าใจเรื่องของความเสี่ยงจากการลงทุนด้วยนะคะ 
ผู้ซื้อประกันแบบยูนิตลิงค์จะได้รับความคุ้มครองชีวิตจากแผนกรมธรรม์ที่เลือก พร้อมทั้งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สามารถเลือกลงทุน และกำหนดสัดส่วนการลงทุนได้ด้วยตัวเอง โดยค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายเพื่อซื้อกรมธรรม์ Unit Link จะแบ่งเป็น 3 ส่วน
  1. เป็นค่าความคุ้มครองตามที่กรมธรรม์ประกันชีวิตกำหนด 
  2. เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามกรมธรรม์ที่บริษัทเรียกเก็บ เพื่อเป็นค่าดำเนินการ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละผลิตภัณฑ์
  3. ส่วนที่จัดสรรเข้าไปในส่วนของการลงทุนที่ผู้ขอเอาประกันภัยเลือก ซึ่งบริษัทจะนำไปซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามคำสั่งของผู้เอาประกันภัย
ตามส่วนของค่าเบี้ยประกันที่จ่ายข้างต้น สิทธิ์ที่ผู้จ่ายเบี้ยประกันจะสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ จะเป็นในส่วนของค่าเบี้ยประกันที่จ่ายเพื่อเป็นความคุ้มครองชีวิตเท่านั้น โดยไม่ครอบคลุมเบี้ยประกันที่จ่ายไปในส่วนของการลงทุนนะคะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับสิทธิสำหรับการลดหย่อนภาษีที่ได้รับจากการซื้อประกันชีวิตในแบบต่างๆ คงช่วยไขข้อข้องใจกันได้บ้าง และสำหรับหลายๆ คนที่มองว่าการซื้อประกันชีวิตก็เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีเท่านั้น แต่หากเราเข้าใจแบบประกันในแต่ละประเภท เลือกให้ตรงกับเป้าหมายที่เราต้องการ และมีการประเมินทุนประกันที่เหมาะสมกับรายรับ และรายจ่ายของเราแล้ว เชื่อได้เลยนะคะว่า การซื้อประกันชีวิต จะไม่ใช้แค่เครื่องมือที่มีไว้เพื่อลดหย่อนภาษีเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นแหล่งเงินออมในระยะยาวที่ปลอดภัยให้กับเราได้อีกด้วยค่ะ ไว้พบกันใหม่บทความหน้านะคะ^^
แท็กที่เกี่ยวข้อง ลดหย่อนภาษี ประกันชัวิต ธุรกรรมที่มักเข้าใจผิด
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)