5 ร. ให้รู้ ก่อนยื่นภาษี...รู้ก่อน ยื่นก่อน มีชัยไปกว่าครึ่ง!!
การยื่นภาษีก็เปรียบเสมือนการขว้าง Boomerang ยิ่งขว้างไปเร็วเท่าไหร่ ก็กลับมาเร็วเท่านั้น นั่นคือ ถ้าเราเข้าใจและรู้ขั้นตอนจัดอันดับในการยื่นภาษี ยิ่งเราจ่ายเร็วเท่าไหร่ เงินคืนภาษีจากค่าลดหย่อนต่างๆ ก็จะกลับมาเร็วเท่านั้น วันนี้
CheckRaka.com ได้หาเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับการยื่นภาษีมาฝากเพื่อนๆ ชาวมนุษย์เงินเดือนกันค่ะ มาเตรียมตัวไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ
5 ร. ให้รู้ ก่อนยื่นภาษี รายได้ปี 59
ประเภทเงินได้ที่มนุษย์เงินเดือนพบบ่อย
สถานภาพ สำหรับคนมีคู่ (จดทะเบียนสมรสแล้ว) การเลือกสถานะการยื่นภาษีที่เหมาะกับคู่ตนเอง ก็ช่วยประหยัดภาษีได้
1.1 ต่างคนต่างยื่นของตัวเอง - เหมาะกับคู่สมรสที่มีรายได้ไม่ต่างกันมาก หรือมีฐานภาษีเท่ากัน เพราะจะได้รับยกเว้น 150,000 บาทแรกทั้งคู่ การแยกกันยื่นจึงประหยัดภาษีได้มากกว่า
1.2 รวมยื่นที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง - เหมาะกับคู่สมรสที่ฝ่ายที่มีรายได้รวมน้อยกว่า มีสิทธิลดหย่อนมาก เช่น ค่าอุปการะบิดามารดา เมื่อยื่นรวมกันจะประหยัดภาษีได้มากกว่า
1.3 แยกยื่นเฉพาะเงินเดือน - เหมาะกับคู่สมรสที่ฝ่ายหนึ่งมีเงินเดือนสูง แต่มีรายได้อื่นๆ ไม่มาก ให้แยกยื่นเฉพาะเงินเดือนเพื่อลดฐานภาษีของตน โดยรายได้เฉพาะเงินเดือนของคุณควรมากกว่ารายได้รวมของคู่สมรสบวกกับรายได้ประเภทอื่นๆ ของคุณด้วย มิฉะนั้นจะเป็นการไปเพิ่มฐานภาษีให้กับคู่สมรสของคุณ
Checklist เอกสาร เพื่อให้กรอกตัวเลขที่แน่นอนและใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่น
เอกสารสรุปเงินได้ทั้งปี เช่น
- สลิปเงินเดือน
- หนังสือรับรองดอกเบี้ย
- หนังสือรับรองการจ่ายเงินปันผล
- หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
เอกสารสรุปค่าลดหย่อนทั้งปี เช่น
- หนังสือรับรอง
- การจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ล.ย.03) และสำเนาบัตรประชาชนบิดามารดา
- การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ
- การชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน - ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรอง
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตของตนเอง
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดา/มารดา
- ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ/กองทุนรวมหุ้นระยะยาว - เอกสารสำคัญอื่นๆ เช่น ใบสำคัญการสมรส, หนังสือจดทะเบียนรับรองบุตร, ใบอนุโมทนาบัตรหรือใบเสร็จรับเงินบริจาค
3. เรียนรู้เงื่อนไขและสิทธิที่มี
ใช้ค่าลดหย่อนได้ถูกต้องตามเงื่อนไข
ประเภทค่าลดหย่อน | รายละเอียดเงื่อนไข และสิทธิที่มี |
ค่าลดหย่อนพื้นฐาน | INCOME RELATED เกี่ยวกับเงินได้ | ค่าใช้จ่าย | - ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
|
ประกันสังคม | - 5% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
|
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) | - หักได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
|
STATUS RELATED เกี่ยวกับสถานะ | ผู้เสียภาษี | |
คู่สมรส | - 30,000 บาท กรณีที่คู่ร่วมสมรสไม่มีเงินได้หรือรวมยื่นคำนวณภาษี
|
บิดา/มารดา | - ลดหย่อนบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท บิดามารดาที่ใช้สิทธิต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีเงินได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท
- การหักลดหย่อนบิดามารดาให้หักได้บุตรคนหนึ่งเท่านั้น
|
บุตร | - หักได้คนละ 15,000 บาท หากศึกษาอยู่ในประเทศหักได้เพิ่มอีกคนละ 2,000 บาท
- สูงสุดได้ไม่เกิน 3 คน โดยบุตรมีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
|
ค่าลดหย่อนตามนโยบาย | MORTGAGE INT. ดอกเบี้ยบ้าน | ผ่อนบ้าน | - หักได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
|
EQUALITY ความเสมอภาค | บริจาค | - หักได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
|
เลื้ยงดูผู้พิการ | - หักค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ ได้คนละ 60,000 บาท
|
SAVING & INVEST ดอกเบี้ยและลงทุน | LTF / RMF | - ยอดซื้อ LTF หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- ยอดซื้อ RMF หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ โดยเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือเบี้ยประกันบำนาญแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
|
ประกัน | - เบี้ยประกันแบบสะสมทรัพย์ หักได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันแบบบำนาญ หักได้ตามจริง สูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) และ RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา - หากมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี หักได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส - หากคู่สมรสไม่มีเงินได้ หักได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
|
หมายเหตุ:
- เงินได้บางประเภท แม้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว เช่น ดอกเบี้ย (หัก 15%) เงินปันผล (หัก 10%) เป็นต้น แต่เรามีสิทธิเลือกที่จะนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ในแบบ ภ.ง.ด. หรือไม่ก็ได้ โดยเทียบจาก
- อัตราภาษีที่เสีย > อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย => ควรปล่อยให้หัก ณ ที่จ่าย
- อัตราภาษีที่เสีย < อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย => ควรนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณในแบบ ภ.ง.ด.
แบบ ภ.ง.ด. สำหรับบุคคลธรรมดามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
- ภ.ง.ด. 90 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป
- ภ.ง.ด. 91 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน
เริ่มกรอก ภ.ง.ด. โดย
- ระบุข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เช่น ที่อยู่ หรือสถานภาพตัวเอง
- กรอกตัวเลขให้ครบถ้วนถูกต้อง
- ยื่นภายใน 31 มีนาคม ของทุกปี
รับเงินคืน เมื่อภาษีที่คำนวณได้
น้อยกว่า ภาษีที่หักไว้แล้ว ต้องแสดงความจำนงว่าจะขอรับเงินคืน
ชำระเพิ่ม เมื่อภาษีที่คำนวณได้
มากกว่า ภาษีที่หักไว้แล้ว มีหน้าที่ต้องชำระเพิ่มโดย
- ชำระเต็มจำนวน
- ผ่อนชำระได้ 3 งวด โดยไม่เสียดอกเบี้ย
**ถ้ายื่นช้ากว่ากำหนดเวลา หรือชำระภาษีไม่ทัน 31 มีนาคม - หากไม่มีภาษีต้องชำระเพิ่ม จะเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนหากมีภาษีต้องชำระเพิ่มเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท พร้อมเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
สิ้นปีนี้ ทางเราหวังว่าเพื่อนๆ ที่มีรายได้ทั้งหลายจะเตรียมตัวให้พร้อมกับการยื่นภาษีครั้งนี้ แบบผ่านฉลุยกันนะคะ สำหรับใครที่ได้รับเงินค่าลดหย่อนคืน ก็รีบตรวจสอบ 5 ร. ตามที่เราได้บอกไปนะคะ เพราะยิ่งยื่นเร็ว ก็ยิ่งได้เงินคืนเร็วค่ะ