ซื้อประกันผ่านแบงค์ ต้องดูอะไร...ระวังยังไง? ที่นี่มีคำตอบ!!
ปัจจุบันช่องทางการขายประกันภัยผ่านแบงค์ได้รับความนิยมสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะการขายประกันชีวิต (Bancassvrance) ตามสถิติเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 มีจำนวนเบี้ยประกันชีวิตรับรวมผ่านช่องทางธนาคาร มีจำนวนทั้งสิ้น 123,418 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.36 ของการขายประกันชีวิตรวมทุกช่องทาง โดยขยายตัวจากปีก่อน ร้อยละ 6.7 (ข้อมูลสถิติจาก
คปภ.) และมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เพื่อให้เพื่อนๆ ที่สนใจการทำประกันภัยผ่านแบงค์ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด วันนี้
CheckRaka.com ได้รวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการเลือกซื้อ พร้อมข้อควรระวังจากการซื้อประกันภัยผ่านแบงค์ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนกันค่ะ
สิทธิขั้นพื้นฐานของเราในการเลือกซื้อประกันภัยผ่านแบงค์...มีอะไรบ้าง?
เริ่มด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานในการเลือกซื้อประกันภัยผ่านแบงค์กันก่อนนะคะ เพราะผู้เอาประกันภัยอย่างเรา ย่อมมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการเลือกซื้อประกันภัยกันทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการซื้อประกันภัยผ่านแบงค์ สิทธิที่ว่านั้น มีอะไรบ้างที่เราควรรู้และต้องรักษาสิทธินี้ไว้ มาตรวจสอบและดูไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ
เมื่อจำเป็นต้องซื้อประกันภัยผ่านแบงค์...ต้องทำยังไง?
ผู้ซื้อประกันภัย หรือผู้เอาประกันภัย อย่างเราๆ ถ้าคิดจะซื้อประกันภัยผ่านแบงค์ ควรรู้วิธีการและขั้นตอนการซื้อประกันภัยเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และป้องกันการถูกหลอกจากผู้ขายประกันเถื่อน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ต้องทำอย่างไร...เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการซื้อประกันภัยผ่านแบงค์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้ความสำคัญของการซื้อประกันภัยของประชาชนผ่านธนาคาร และเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการซื้อประกันภัย คปภ. จึงได้จัดทำข้อแนะนำสำหรับประชาชนในการซื้อประกันภัยผ่านธนาคาร ดังนี้
- ผู้ซื้อควรเข้าใจว่าการซื้อประกันชีวิต ไม่ใช่การฝากเงินกับธนาคาร
- ผู้ซื้อควรขอดูใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต หรือประกันวินาศภัยของพนักงานธนาคารตามประเภทของกรมธรรม์ประกันภัย
- ผู้ซื้อควรเลือกแบบประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองตรงกับความต้องการของตนเอง
- ผู้ซื้อควรวางแผนและประมาณการรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้สามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้ครบตลอดระยะเวลาของสัญญาประกันภัย
- ผู้ซื้อควรเข้าใจถึงความคุ้มครอง และข้อยกเว้นของกรมธรรม์นั้นๆ หากไม่เข้าใจ ต้องสอบถามจากผู้ขายให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจซื้อ รวมทั้งควรเก็บเอกสารประกอบการเสนอขายของธนาคารไว้
- ผู้ซื้อมีสิทธิเลือกซื้อประกันภัยด้วยความสมัครใจ และปฏิเสธได้ หากไม่เป็นไปตามความต้องการของตนเอง ทั้งนี้ ธนาคารไม่อาจใช้การทำประกันภัยเป็นเงื่อนไขต่อรองในการให้สินเชื่อ หรือธุรกรรมอื่น
- ในกรณีที่ต้องกรอกใบคำขอเอาประกันภัย ผู้ซื้อควรกรอกด้วยตนเอง หรือหากไม่ได้กรอกด้วยตนเอง ผู้ซื้อจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้อง โดยไม่ให้ข้อความที่เป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ก่อนลงลายมือชื่อในใบคำขอเอาประกันภัย
- ผู้ซื้อควรสอบถามถึงสิทธิและระยะเวลาในการยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย โดยผู้ซื้อสามารถใช้สิทธิยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่รับกรมธรรม์ประกันชีวิต และได้รับเบี้ยประกันภัยคืนหลังจากหักค่าใช้จ่าย และค่าตรวจสุขภาพ (หากมี) ทั้งนี้ หากผู้ซื้อยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตหลังจากระยะเวลาดังกล่าว ผู้ซื้อสามารถใช้สิทธิเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตและได้รับมูลค่าเวนคืนตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต
- เมื่อผู้ซื้อชำระเบี้ยประกันภัย ให้ชำระเงินเข้าบัญชีบริษัทประกันภัยเท่านั้น และจะต้องได้รับเอกสารการรับชำระเงินจากธนาคาร พร้อมเก็บไว้เป็นหลักฐาน
- ผู้ซื้อควรสอบถามถึงช่องทางการติดต่อ หรือการเรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยจากผู้ขาย
- เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ผู้ซื้อควรตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยว่าถูกต้องและเป็นไปตามการเสนอขายจากผู้ขายหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามที่เสนอขาย สามารถยกเลิกได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย กรณีเกิดข้อสงสัยหรือข้อผิดพลาดในกรมธรรม์ประกันภัย ให้ติดต่อผู้ขายหรือบริษัทประกันภัยโดยเร็ว
- ผู้ขายยังคงมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย และไม่อาจใช้ข้อแนะนำข้างต้นเป็นการอ้างสิทธิเหนือผู้บริโภค
เพื่อนๆ ทุกคนควรศึกษาถึงสิทธิ และหน้าที่ของตัวเอง รวมถึงความคุ้มครองพร้อมข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยให้เข้าใจอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อประกันภัย ถ้ามีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ
www.oic.or.th สรุป 12 ข้อแนะนำในการซื้อประกันภัยผ่านธนาคาร