8 เทคนิคสำหรับนักช้อปออนไลน์
เพื่อเปิดประสบการช้อปปิ้งการซื้อสินค้าออนไลน์ให้น่าพึงพอใจ วันนี้เราขอแนะนำ 8 เทคนิคสำหรับนักช้อปออนไลน์มานำเสนอ ดังนี้
1. ช้อปออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ส่วนตัว
เพิ่มความปลอดภัยให้ข้อมูลสมาชิกตลอดจนข้อมูลการชำระเงินของได้ง่ายๆ แค่หลีกเลี่ยงทำรายการช้อปออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์สาธารณะ ปัจจุบันนี้ เว็บไซต์ช้อปออนไลน์ชั้นนำหลายๆ ราย ถูกออกแบบให้เป็นหน้าเว็บที่รองรับทุกรูปแบบหน้าจออุปกรณ์ที่แตกต่างกันได้อัตโนมัติไม่ว่าจะช้อปออนไลน์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต
2. รีวิวหรือให้คะแนนร้านค้าหลังช้อป
จะดีแค่ไหนหากนักช้อปออนไลน์สามารถเห็นคำยืนยัน / คำแนะนำจากนักช้อปท่านอื่นๆ ให้มั่นใจก่อนช้อป ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสมัยใหม่จึงให้ความสำคัญกับฟังก์ชั่นรีวิวร้านค้า เพื่อสร้างความมั่นใจในการช้อปสินค้าในรูปแบบของการบอกต่อ ทำให้นักช้อปออนไลน์ทุกคนมีส่วนช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ให้กับเพื่อนนักช้อปด้วยกัน ด้วยการให้ความเห็นต่อร้านค้าบนบริการรีวิวร้านค้า ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำ คำติชมร้านค้า หรือแม้แต่รีวิวสินค้าที่ประทับใจ
3. ทำความรู้จักร้านค้าออนไลน์
ดูตัวตนและความน่าเชื่อถือของร้านค้า การซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีหน้าโฮมเพจเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบ นอกเหนือจากจะอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ให้แก่ลูกค้าได้มากกว่าแล้ว ยังเป็นส่วนสะท้อนความตั้งใจในการทำธุรกิจออนไลน์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เพราะการช้อปปิ้งซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ที่มีหน้าร้านเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ช่วยยืนยันได้ถึงตัวตนและแหล่งที่มาของสินค้าได้ ตลอดจนวันที่เริ่มเปิดร้านค้า จำนวนสินค้า และการบริการหลังการขาย เป็นต้น
4. ดูรายละเอียดให้ถี่ถ้วนแน่ใจก่อนคลิกซื้อ
นักช้อปออนไลน์มืออาชีพต้องไม่ลืมที่จะเลื่อนเมาส์ลงอ่านข้อมูลสินค้าอย่างถี่ถ้วนก่อนคลิกสั่งซื้อ นอกเหนือจากราคาสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ซื่อรุ่น สี ไซส์ น้ำหนัก คุณสมบัติ การรับประกันและแหล่งที่มาของสินค้า อาทิ ประกันครอบคลุมศูนย์บริการในเมืองไทยหรือไม่ หรือวันหมดอายุ และวันที่ผลิต สำหรับสินค้าเพื่อการบริโภค หากเป็นไปได้ควรมองหาช่องทางการซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ซึ่งมักจะมีนโยบายการันตีคืนเงินกรณีไม่ได้รับสินค้า หรือกรณีสินค้าที่ได้รับบกพร่องด้านคุณภาพ เขียนไว้บนเว็บไซต์อย่างชัดเจน เพื่อมอบความเชื่อมั่นและความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค
5. สมัครสมาชิกก่อนซื้อเพื่อสิทธิประโยชน์ที่มากกว่า
หากพบว่าเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซดังกล่าวมีระบบสมาชิกให้บริการอยู่แล้ว ซึ่งช่วยให้นักช้อปสามารถติดต่อสื่อสารกับร้านค้าหรือเว็บไซต์ได้อย่างสะดวกฉับไวเพียงแค่อ้างอิงข้อมูลหรือหมายเลขสมาชิก นอกจากนี้ การมีระบบสมาชิกย่อมหมายถึงสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าเฉพาะสมาชิกที่แลกมาด้วยระยะเวลาการสมัครไม่กี่นาที เช่น เว็บไซต์ราคูเท็นมีการออกแบบโปรแกรมสมาชิกเพื่อให้สิทธิประโยชน์ที่มากกว่าแก่นักช้อปออนไลน์จากทั่วโลก
6. เลือกรูปแบบการชำระเงินที่ตรงสไตล์คุณ
การช้อปปิ้งผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบนั้นมักจะมีบริการ ชำระเงินที่หลากหลายรองรับความต้องการของลูกค้าไว้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตของธนาคารต่างๆ การชำระเงินสดปลายทางเมื่อสินค้าส่งถึงมือ (Cash on Delivery) หรืออาจเลือกชำระผ่านช่องทางออฟไลน์ที่คุ้นเคยอย่างเครื่องเอทีเอ็ม หรือจุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสต่างๆ ด้วยการสั่งพิมพ์เอกสารแล้วนำไปชำระด้วยบาร์โค้ด
7. สำรวจโปรโมชั่นให้ครบแบบนักช้อปมือโปร
จากหน้าฟีด (Feed) สินค้าที่คุณสนใจบนโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ หากมีลิงก์ให้คลิกกลับมาที่หน้าร้านค้าบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเมื่อไหร่ อย่าลืมมองหาโปรโมชั่นเสริม ซึ่งโดยปกติแล้วเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกค้า เช่น โค้ดส่วนลดพิเศษ ของแถม คูปองต่างๆ ตลอดจนทางเลือกในการผ่อนชำระด้วยบัตรเครดิตจากธนาคารต่างๆ ซึ่งยิ่งตอกย้ำได้ดีว่าเหตุใดบัตรเครดิตจึงเป็นรูปแบบการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ยอดนิยมที่ผู้คนทั่วโลกนิยม เพราะไม่เพียงมีโปรโมชั่นพิเศษต่างๆ แต่สถาบันการเงินยังทำหน้าที่เป็นคนกลางทำหน้าที่พยานยืนยันการชำระเงิน พร้อมระบุวันและเวลาอย่างชัดเจนได้อีกด้วย
8. รอรับสินค้าอย่างไรสบายใจหลังช้อป
ภายหลังจากทำรายการสั่งซื้อสินค้าพร้อมชำระเงินเสร็จสิ้นก็เข้าสู่ระยะเวลาการรอคอย โดยปกติระยะเวลาการส่งสินค้ามีตั้งแต่ 1-7 วัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการชำระเงินและการส่งสินค้าที่ท่านเลือก อาทิ ท่านที่เลือกชำระเงินด้วย Cash on Delivery เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการใช้สินค้าโดยด่วนและพร้อมชำระเงินปลายทางได้ในวันทำการถัดไป เป็นต้น หากยังไม่ได้รับสินค้าภายในระยะเวลาดังกล่าวได้เวลาที่นักช้อปควรเข้าไปตรวจสอบสถานะการสั่งซื้อบนระบบ หรือเทคโนโลยีเดี๋ยวนี้เปิดเราให้สามารถติดต่อร้านค้าหรือผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้มากมาย ทั้ง Facebook Twitter รวมถึงการส่งอีเมล์ เพื่อลดเวลาการรอคอย และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการโทรศัพท์ไปสอบถาม