รู้ก่อนเปลี่ยน : "ชิปการ์ด" ดีกว่าแถบแม่เหล็กอย่างไร? ต้องเสียเงินเปลี่ยนแค่ไหน?

icon 21 ต.ค. 62 icon 146,584
รู้ก่อนเปลี่ยน : "ชิปการ์ด" ดีกว่าแถบแม่เหล็กอย่างไร? ต้องเสียเงินเปลี่ยนแค่ไหน?

รู้ก่อนเปลี่ยน : "ชิปการ์ด" ดีกว่าแถบแม่เหล็กอย่างไร? ต้องเสียเงินเปลี่ยนแค่ไหน?

ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต่างทยอยประชาสัมพันธ์เรื่อง การเปลี่ยนระบบบัตร ATM และบัตรเดบิต จากเดิมที่เป็นแถบแม่เหล็ก (Magnetic Stripe) ให้เป็นบัตรแบบใหม่ที่ใช้ระบบชิปการ์ด (Chip Card) ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย และเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา ธปท.ได้มีประกาศล่าสุดออกมาว่า...หลังจากวันที่ 15 มกราคม 2563 บัตรแถบแม่เหล็กจะไม่สามารถใช้งานได้ที่เครื่องเอทีเอ็มหรือเครื่องรูดบัตรที่ร้านค้า ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีผู้เปลี่ยนบัตรเป็นชิปการ์ดไปแล้วประมาณ 47 ล้านใบ และยังคงมีบัตรแถบแม่เหล็กคงเหลือที่ยังไม่ได้เปลี่ยนอีกประมาณ 20 ล้านใบทั่วประเทศ และวันนี้ Checkraka.com จะชวนมาดูค่ะว่า ระบบชิปการ์ดเป็นอย่างไร? ต่างจากเดิมแค่ไหน? และมีข้อดีอะไรบ้าง? 

"ชิปการ์ด" คืออะไร

ชิปการ์ด (Chip Card) หรือที่บางคนเรียกว่า สมาร์ท การ์ด (Smart Card) คือ บัตรที่ฝังแผงวงจรขนาดเล็ก (Micro Chip) ไว้สำหรับเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ โดยจะให้บริการในรูปแบบบัตรเดบิต (Debit Card) และบัตรเครดิต (Credit Card) ภายในชิปจะมีหน่วยความจำและหน่วยประมวลผลซึ่งเปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ช่วยให้เราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยเทคโนโลยีในชิปนั้นจะเป็นไปตามมาตรฐาน EMV ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก ซึ่งเครือข่ายผู้ให้บริการการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต อย่าง Europay MasterCard และ VISA ได้ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีชิปการ์ดมาตรฐาน EMV ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2539 แล้วล่ะค่ะ (EMV ก็ย่อมาจากอักษรตัวแรกของแต่ละองค์กรนั่นเอง)

ธนาคารกรุงเทพ - เจ้าแรกที่ใช้บัตรเดบิตชิปการ์ดในเมืองไทย

การให้บริการบัตรเดบิตแบบชิปการ์ดในประเทศไทย เริ่มใช้กันตั้งแต่ พ.ศ. 2552 โดยธนาคารกรุงเทพเป็นเจ้าแรกที่เปิดให้บริการโดยใช้ชื่อว่า "บัตรเดบิตบีเฟิสต์ (Be1st)" ซึ่งหลายคนก็คงคุ้นหูกันอยู่แล้ว และในปัจจุบันก็นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากนั้น ธนาคารกรุงเทพยังได้มีการออกบัตรร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการเพิ่มยิ่งขึ้น เช่น บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท ที่รวมทุกความสะดวก ตามไลฟ์สไตล์ของคนเมืองไว้ในบัตรเดียว ไม่ว่าจะเป็น การช้อปปิ้ง กดเงินสด การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS และ BRT ซึ่งจะได้รับคะแนนสะสมแรบบิท รีวอร์ด พ้อยท์ และส่วนลดจากร้านค้าต่างๆ มากมาย  ซึ่งนอกจากความสะดวกที่ผู้ถือบัตรได้รับแล้ว การใช้บัตรแบบชิปการ์ดก็ยังมีประโยชน์ในเรื่องของความปลอดภัยอีกด้วยนะคะ  

ภาพตัวอย่างบัตรเดบิตแบบชิปการ์ดรุ่นแรกของธนาคารกรุงเทพ

บัตรแบบชิปการ์ด จะมาแทนบัตรแบบแถบแม่เหล็ก

เพื่อเป็นการยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน และป้องกันความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น และให้ผู้ถือบัตรสามารถใช้งานบัตรได้อย่างต่อเนื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ยังใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มแบบแถบแม่เหล็กอยู่ในปัจจุบันรีบติดต่อธนาคารที่ใช้บริการได้ทุกสาขา เพื่อเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรชิปการ์ดให้แล้วเสร็จ โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มใบเดิม และสมุดบัญชีเงินฝาก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบัตร
และหลังจากวันที่ 15 มกราคม 2563 บัตรแถบแม่เหล็กจะไม่สามารถใช้งานได้ที่เครื่องเอทีเอ็มหรือเครื่องรูดบัตรที่ร้านค้าได้อีกต่อไป สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรชิปการ์ด หากมีความต้องการใช้เงินสดหรือโอนเงิน สามารถเบิกถอนได้ที่สาขาธนาคาร หรือใช้ฟังก์ชันกดเงินไม่ใช้บัตรที่ตู้เอทีเอ็ม หรือโอนเงินผ่าน Mobile Banking / Internet Banking แทนการใช้บัตรค่ะ

ที่แน่ๆ เลย สำหรับคนที่เปลี่ยนบัตรจากแบบแถบแม่เหล็กมาเป็นบัตรเดบิตแบบชิปการ์ด ก็คงจะเป็นความชิค ไม่ตกเทรนด์ แถมยังได้บัตรใบใหม่ดีไซน์ทันสมัยขึ้นด้วย แต่นอกจากนี้แล้วจะมีอะไรเปลี่ยนไปแค่ไหน เราลองมาดูกันค่ะ

1. บนบัตรมี Chip Card ให้เห็น

เมื่อมองรูปลักษณ์ภายนอก ข้อแตกต่างที่เราเห็นได้ชัดเจนของบัตรแบบใหม่ คือ มีตัวชิป (Chip) สี่เหลี่ยมขนาดเหล็กที่ติดอยู่บนด้านหน้าของบัตร ส่วนด้านหลังของบัตรนั้นจะยังคงรูปแบบเดิมไว้ นั่นคือ มีแถบแม่เหล็ก มีช่องสำหรับให้ผู้ถือบัตรเซ็น/ลงลายมือชื่อ และมีตัวเลข CVV 3 หลัก (Card Verification Value) ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับรหัสด้านหน้าบัตรเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ได้ ดังนั้นเราจึงควรปกปิดรหัสด้านหลังบัตรนี้ไว้ให้ดีค่ะ

ตัวอย่างภาพบัตรเดบิตแบบชิปการ์ด ธนาคารยูโอบี

2. เครื่องรับบัตรฯ ไม่ต้องใช้แบบรูดแล้ว

หากพูดถึงการใช้บัตรฯ ชำระค่าสินค้า/บริการแทนเงินสด ผู้ที่ใช้บัตรหลายคนคงนึกถึงภาพที่พนักงานนำบัตรแบบแถบแม่เหล็กของเราไปรูดเข้ากับเครื่องรับบัตร (EDC) แล้วนำปากกาพร้อมกับสลิป (Slip) มาให้เราเซ็น เพื่อยืนยันตัวตนกันใช่ไหมคะ... แต่ปัจจุบันด้วยวิธีการชำระเงินแบบไร้สัมผัส หรือคอนแทคเลส (Contactless) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มาแรง เพราะผู้ถือบัตรไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต สามารถจ่ายเงินได้อย่างง่ายดาย ด้วยวิธีการแตะบัตรลงบนเครื่องชำระเงินในระยะใกล้ประมาณ 1 -2 นิ้ว ซึ่งก็เป็นการลดความเสี่ยงที่บัตรจะสูญหาย ถูกปลอมแปลง หรือถูกนำไปใช้โดยบุคคลอื่นได้ โดยเราสามารถแตะบัตรเพื่อชำระค่าสินค้าได้ทุกที่ที่มีสัญลักษณ์ Contactless ที่จุดชำระเงิน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ปั๊มน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น



 ปลอดภัยมากขึ้น
ข้อดี ซึ่งถือว่าโดดเด่นมากของระบบชิปการ์ดคงหนีไม่พ้นเรื่องที่สามารถป้องกันการถูกโจรกรรมคัดลอกข้อมูลในบัตรฯ (Skimming) และลดอัตราการปลอมแปลงบัตร (Counterfeit Card Fraud) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะทุกครั้งที่เราใช้งานบัตรแบบชิปการ์ดนั้น นอกจากจะต้องทำธุรกรรมผ่านเครื่องที่มีเทคโนโลยีรองรับชิปการ์ดแล้ว เครื่องนั้นยังต้องสามารถเข้ารหัสและถอดรหัสบัตรจากชิปนั้นได้ด้วย จึงจะทำให้ธุรกรรมในแต่ละครั้งสำเร็จ ต่างจากระบบแถบแม่เหล็กที่ทำหน้าที่เพียงแค่อ่านและส่งข้อมูลบัตรไปในทันที
 ลดภาระการถือบัตรหลายใบ
ชิปตัวเล็กๆ ที่ฝังอยู่ในบัตรนั้นสามารถเก็บข้อมูลได้หลากหลาย เราจึงไม่จำเป็นต้องถือบัตรหลายใบอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นบัตรส่วนลด บัตรสะสมคะแนนต่างๆ จะถูกเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในหน่วยความจำของชิปอัจฉริยะเพียงตัวเดียว เช่น บัตรเดบิตบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท ของธนาคารกรุงเทพ ที่นอกจากจะใช้ทำธุรกรรมเบิกถอน โอน จ่ายเงินได้ตามปกติได้แล้ว ยังสามารถใช้เป็นบัตรโดยสารรถไฟฟ้า (BTS) และสะสมคะแนนแรบบิท รีวอร์ด พ้อยท์ ได้อีกด้วย
 รองรับนวัตกรรมการชำระเงินใหม่ๆ
นอกจากจะเพิ่มความปลอดภัยแล้ว การใช้บัตรแบบชิปการ์ดยังรองรับนวัตกรรมการชำระเงินในรูปแบบใหม่ได้ เช่น การชำระเงินแบบไร้สัมผัส (payWave หรือ Contactless) ที่เพียงแค่นำบัตรไปแตะหรือจ่อใกล้ๆ กับเครื่อง ก็ชำระเงินได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งมอบบัตรให้กับพนักงานเลย หรือการชำระเงินผ่านเครื่องรูดบัตรมือถือ (mPOS) ซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายของเราเป็นเรื่องง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
 ยกระดับสู่การชำระแบบ e-Payment
การใช้บัตรชำระค่าสินค้า/บริการแทนเงินสดนั้นสอดคล้องกับนโยบายของประเทศ ที่มุ่งพัฒนาสู่โครงสร้างระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมที่คนไม่นิยมพกเงินสด (Cashless Society) ซึ่งจะช่วยให้รัฐจัดเก็บข้อมูลการเงินต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ลดต้นทุนด้านการเก็บเอกสารต่างๆ ลง สามารถโอนเงินจากภาครัฐไปยังคนหรือท้องที่ที่อยู่ห่างไกลได้ โดยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายด้านการเดินทาง รวมถึงช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ และของประเทศได้อีกทางด้วย
 ได้ส่วนลด/สิทธิพิเศษเพิ่ม
ปัจจุบันหลายธนาคารได้ร่วมกับร้านค้าต่างๆ ออกโปรโมชั่นเพื่อจูงใจให้คนใช้บัตรเดบิตมากขึ้น เช่น ฟรีค่าแรกเข้าเมื่อเปิดใช้บริการบัตรเดบิต มอบของแถมเมื่อสมัครบัตรเดบิต มอบส่วนลดค่าตั๋วภาพยนตร์เมื่อซื้อผ่านบัตรเดบิต สามารถใช้บัตรเดบิตจองตั๋วเครื่องบินได้ เป็นต้น ซึ่งโปรโมชั่น/แคมเปญต่างๆ ของธนาคารเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาไปถอนเงินสดมาจ่ายแล้ว เรายังได้ส่วนลด สิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกด้วยค่ะ
 สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ชิปการ์ดที่อยู่ในบัตรเดบิต (Debit Card) รวมถึงบัตรเครดิต (Credit Card) จะใช้มาตรฐาน EMV ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลกหลายประเทศ อย่าง อังกฤษ ฝรั่งเศส และออสเตรเลียก็ได้เปลี่ยนไปใช้บัตรแบบชิปการ์ดทั้งหมดแล้ว และอีกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา รวมทั้งหลายๆ ประเทศในอาเซียนก็กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านบัตรฯ ให้เป็นแบบชิปการ์ด เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมการเงิน 

สำหรับการเปลี่ยนบัตรเดบิตจากแบบแถบแม่เหล็กไปใช้บัตรแบบชิปการ์ด เพียงแจ้งความจำนงในการขอเปลี่ยนบัตร และแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มใบเดิม และสมุดบัญชีเงินฝาก ของธนาคารที่ใช้บริการทุกสาขา ก็สามารถดำเนินการเปลี่ยนบัตรได้เลยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบัตร และนอกจากการเปลี่ยนตัวบัตรแล้วธนาคารจะกำหนดให้เราตั้งรหัส PIN (Personal Identification Number) จากเดิม 4 หลัก ให้เป็น 6 หลัก เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้รหัสถูกคาดเดาได้ยากขึ้นอีกด้วย

เป็นที่รู้กันว่าการขอใช้บริการบัตร ATM/บัตรเดบิต จะต้องมีค่าธรรมเนียมทั้งแรกเข้า และรายปี แต่หากเราต้องการเปลี่ยนบัตรให้เป็นแบบชิปการ์ดในช่วงนี้ (ถึงวันที่ 15 ม.ค. 63) จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม ซึ่งจากประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า กรณีที่เราใช้บัตรเก่ายังไม่ครบปี ธนาคารจะโอนค่าธรรมเนียมรายปีคืนตามจำนวนวันที่เราใช้งานไป หรือ ธนาคารจะรอคิดค่าธรรมเนียมรายปีเมื่อถึงวันครบกำหนดของบัตรเดิม เรามาดูกันว่าหลังจากเปลี่ยนบัตรเดบิตเป็นแบบมี Chip แล้ว แต่ละบัตรของแต่ละธนาคารจะมีค่าธรรมเนียมอะไรเท่าไหร่บ้าง

ธนาคารกรุงเทพ
ประเภทบัตร ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า รายปี
การออกบัตรทดแทน 
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรเดบิตบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น ยูเนี่ยนเพย์

100
300
พิเศษ! ค่าธรรมเนียมรายปี 200 เมื่อสมัครใช้ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 62  
100
บัตรเดบิตบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท

100
300
พิเศษ! ค่าธรรมเนียมรายปี 200 เมื่อสมัครใช้ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 62  
100
บัตรเดบิตบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท ศิริราช

100 599 100
บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น มาสเตอร์การ์ด

100   300 100 
 บัตรเดบิตบีเฟิสต์ สมาร์ท แรบบิท ไลน์ เพย์

 200 300  บัตรมีจำนวนจำกัด (Limited Edition) ธนาคารขอสงวนสิทธิ์การออกบัตรทดแทน ในทุกกรณี
ธนาคารกรุงไทย
ประเภทบัตร ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า  รายปี
การออกบัตรทดแทน 
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรเดบิต
เคทีบี ช้อปสมาร์ท คลาสสิค

100 200
100
บัตรเดบิต
เคทีบี ช้อปสมาร์ท เพิร์ล

100 599
100
บัตรเดบิต
เคทีบี ช้อปสมาร์ท บลูไดมอนด์ เอ็กซ์ตร้า

100 999 100
บัตรเดบิต
เคทีบี ช้อปสมาร์ท พาลาเดียม

100 1,599 100
กรุงไทย บัตรเดบิตแมงมุม
 
 100 299  100 
 บัตรเดบิต Krungthai Travel UnionPay

150
ฟรี! ค่าธรรมเนียม ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 62 - 31 ม.ค. 63 
 350
ฟรี! ปีแรก ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 62 - 31 ม.ค. 63
150 
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ประเภทบัตร ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า  รายปี
การออกบัตรทดแทน
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรกรุงศรี เดบิต

100  200 100
บัตร Krungsri Thai Debit 

100 350
100
บัตรกรุงศรี เดบิต ออมทรัพย์จัดให้

ไม่มีค่าธรรมเนียม 400 100
บัตรกรุงศรี เดบิต All ATMs

480/3 ปี ไม่มีค่าธรรมเนียม
100
บัตรกรุงศรี เดบิต No Annual Fee

ไม่มีค่าธรรมเนียม ไม่มี 100
บัตรกรุงศรี เดบิต OPD

ไม่มีค่าธรรมเนียม
 3,999
 150
บัตรกรุงศรี เดบิต พร้อม

150 599 150
บัตรกรุงศรี เดบิต แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

 150  300  150
ธนาคารกสิกรไทย
ประเภทบัตร ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า รายปี
การออกบัตรทดแทน 
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
 บัตรเดบิตกสิกรไทย

150  250  150 
บัตรเดบิต K-MY
 
150  300  150 
 บัตรเดบิต K-MAX PLUS

150   700 150 
บัตรเดบิต K-DUCATI
 
250   350 250 
 บัตรเดบิต K-Max Plus DUCATI

200  700  200 
 บัตรเดบิตประจำจังหวัดกสิกรไทย

150
พิเศษ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า เหลือเพียง 50 บาท สำหรับลูกค้าใหม่ที่สมัครภายใน 31 ธันวาคม 2562
 
350  150 
บัตรเดบิตแมงมุม กสิกรไทย

 150 250  150 
บัตรเดบิตพื้นฐาน (K-BASIC DEBIT CARD) 

ไม่มีค่าธรรมเนียม  ไม่มีค่าธรรมเนียม  ไม่มีค่าธรรมเนียม 
บัตรเดบิต MADCARD กสิกรไทย

 150 800  150 
บัตรเดบิต JOURNEY

700   550
ฟรี! ค่าธรรมเนียมรายปีในปีแรก
550 
ธนาคารเกียรตินาคิน
ประเภทบัตร ค่าธรรมเนียม (บาท) 
แรกเข้า รายปี การออกบัตรทดแทน กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรเดบิต KK Value Debit Card

100 200 100
บัตรเดบิต KK Maxi Debit Card

100 299 100
บัตรเดบิต KK Trust Debit Card
 
100 599 100
บัตรเดบิต KK Protect Debit Card
 
100 999 100
ธนาคารซิตี้แบงก์
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท)  
แรกเข้า รายปี การออกบัตรทดแทน กรณีบัตรหาย / ชำรุด 
บัตรซิตี้แบงก์เดบิต ซิตี้โกลด์
 
ไม่มีค่าธรรมเนียม 300* 200*
 บัตรซิตี้แบงก์เดบิต ซิตี้แบงก์กิ้ง

ไม่มีค่าธรรมเนียม 300* 200*
บัตรซิตี้แบงก์เดบิต ซิตี้ไพรออริตี้

ไม่มีค่าธรรมเนียม 300* 200*
*ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า   รายปี
การออกบัตรทดแทน 
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรเดบิต ซีไอเอ็มบี ไทย

100 200 100
บัตรเดบิต ซีไอเอ็มบี ไทย  เจ็บไม่ต้องจ่าย 

100 529 100
บัตรเดบิต คู่กับบัญชีไม่มีสมุดคู่ฝาก (e-Saving)

100 300  100
 บัตรเดบิต ที่ผูกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
Beat Savings


 100 300 100
ธนาคารทหารไทย
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า  รายปี
การออกบัตรทดแทน 
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรเดบิต
ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี

500 350 ไม่มีค่าธรรมเนียม
บัตรเดบิต ทีเอ็มบี ไลท์

200 / 5 ปี ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี 200
บัตรเดบิตทีเอ็มบี รอยัล ออลล์ ฟรี แบบมี Chip

 500
*ยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีในปีแรก
 350
ฟรี! ค่าธรรมเนียมรายปีปีถัดไป 350 บาท/ บัตร/ ปี
 ไม่มีค่าธรรมเนียม
บัตรเดบิต TMB Superior All Free

ฟรี! ค่าธรรมเนียมแรกเข้าปีแรก 500 บาท เมื่อเปิดบัญชี ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี พร้อมบัตรเดบิต ฟรี! ค่าธรรมเนียมรายปี 350 บาทต่อปีต่อบัตร เมื่อเปิดบัญชี ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี พร้อมบัตรเดบิต   
ธนาคารทิสโก้
ประเภทบัตร ค่าธรรมเนียม (บาท)  
แรกเข้า รายปี การออกบัตรทดแทน กรณีบัตรหาย / ชำรุด
 บัตรเดบิตทิสโก้ (TISCO Debit Card)
100 200 100
ธนาคารไทยเครดิต
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท) 
แรกเข้า รายปี การออกบัตรทดแทน กรณีบัตรหาย / ชำรุด
ATM ChipCard ธ.ไทยเครดิต
 
ไม่คิดค่าธรรมเนียม 200 100
ธนาคารไทยพาณิชย์
ประเภทบัตร ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า รายปี
การออกบัตรทดแทน 
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรเดบิต
เอส สมาร์ท

100
200
100
บัตรเดบิต เอส
สมาร์ท พลัส


100 599 100
บัตรเดบิต เอส สมาร์ท เอ็กซ์ตร้า พลัส
 
100 999 100
บัตรเดบิต เอส สมาร์ท ซูเปอร์ พลัส

100 1,599 100
บัตรเดบิต SCB M VISA
 
100   200 100
ธนาคารธนชาต
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า รายปี
การออกบัตรทดแทน
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรเดบิตธนชาต

100 200 100
บัตรเดบิตธนชาตฟรีเวอร์ไลท์ 

100 250 100
บัตรเดบิตชัวร์ 

100
เปิดคู่กับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนชาตฟรีเว่อร์ไลท์ (Freever-Lite) 549 บาท/ปี
เปิดคู่กับบัญชีออมทรัพย์มีระดับ 499 บาท/ปี
เปิดคู่กับบัญชีกระแสรายวัน /Freever-More /อื่นๆ 499 บาท/ปี
100
ธนาคารแห่งประเทศจีน
 ประเภทบัตร ค่าธรรมเนียม (บาท)  
แรกเข้า รายปี การออกบัตรทดแทน กรณีบัตรหาย / ชำรุด
 บัตรเดบิตธนาคารแห่งประเทศจีน
(Great Wall International Debit Card)
100 200 100
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า รายปี
การออกบัตรทดแทน 
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตร LH Bank Debit Chip Card

100 200 100
บัตรเดบิต LH Bank Premium

100  600  100 
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า  รายปี
การออกบัตรทดแทน 
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรเดบิต A-Green

100 250 100
บัตรเดบิต A-Smart

100 300 100
ธนาคารยูโอบี
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า รายปี
การออกบัตรทดแทน 
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรยูโอบี วีซ่า เดบิต

100 300 100
บัตรยูโอบี มาสเตอร์การ์ด เดบิต

100  300  100 
 บัตรยูโอบี มาสเตอร์การ์ด เดบิต เพื่อบัญชีเงินฝากพื้นฐาน

 ไม่มีค่าธรรมเนียม ไม่มีค่าธรรมเนียม  ไม่มีค่าธรรมเนียม 
บัตรเดบิต ยูโอบี วีแคร์ เอ็กซ์ตร้า อันลิมิต

100
1,699 100
 บัตรเดบิต ยูโอบี วีแคร์ อันลิมิต

100 799   100
 บัตรเดบิต ยูโอบี วีแคร์ มอร์ อันลิมิต

100  1,199  100 
บัตรเดบิต ยูโอบี อันลิมิต พลัส
 
100
สมัครวันนี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า
550 บาท/ 2 ปี   100
บัตรยูโอบี เดบิต PAUL FRANK
 
275  300  150 
ธนาคารออมสิน
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า รายปี
การออกบัตรทดแทน
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรออมสิน เดบิต ออมเงิน ออมธรรม

100 200 100
บัตรออมสิน เดบิต ไทยไฟท์

 100  200  100
บัตรออมสิน วีซ่า เดบิต สมาร์ท แคร์

100 599 100
บัตรออมสิน วีซ่า เดบิต สมาร์ท ไลฟ์

 100  999  100
บัตรออมสิน เดบิต GSB GEN CARD

250 250 250 
บัตรออมสิน วีซ่า เดบิต
 
100   200  100
บัตรออมสิน เดบิต แอคซิเดนท์
 
 100 400   100
บัตรออมสิน เดบิต ไทยลีก

 100 200  100 
บัตรออมสิน เดบิต GSBxBNK48 Limited

 750 250   250
 บัตรออมสิน เดบิต GSBxBNK48 Limited 2

 750 250   250
บัตรออมสิน เดบิต สมาร์ท แคร์
(ลายหน้าบัตรจักรยาน)


 100  599  100
บัตรออมสิน วีซ่า เดบิต อินสแตนท์
ลายหน้าบัตร E-Sports


 100  200 100 
บัตรเดบิต GSB GEN CARD
ลายหน้าบัตรศิลปิน SBFIVE

 
250   250 250 
 บัตรออมสิน เดบิต เบสิค GSB DEBIT BASIC

ยกเว้นให้ ยกเว้นให้   100
บัตรออมสิน เอทีเอ็ม พอเพียง
 
 20  20 20 
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า รายปี
การออกบัตรทดแทน 
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตร ATM







50 100 50
ธนาคารอิสลาม
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท)  
แรกเข้า รายปี การออกบัตรทดแทน กรณีบัตรหาย / ชำรุด 
บัตรเอทีเอ็มชิปการ์ดทอง
(ATM Chip Card Gold)
150 250 150
บัตรเอทีเอ็มชิปการ์ดเงิน
(ATM Chip Card Silver)
 
100 150 100
ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)
ประเภทบัตร  ค่าธรรมเนียม (บาท)
แรกเข้า รายปี
การออกบัตรทดแทน
กรณีบัตรหาย / ชำรุด
บัตรเดบิตวีซ่า (VISA) บัตรทอง

ไม่มีค่าธรรมเนียม 100 100
บัตรเดบิตวีซ่า (VISA) คลาสสิค
 
ไม่มีค่าธรรมเนียม 100  100 
บัตรเดบิตสองสกุลเงินยูเนี่ยนเพย์ - ทีพีเอ็น
(UnionPay - TPN) คลาสสิค


ไม่มีค่าธรรมเนียม  100 100
บัตรเดบิตสองสกุลเงินยูเนี่ยนเพย์ - ทีพีเอ็น
(UnionPay - TPN) บัตรทอง


ไม่มีค่าธรรมเนียม 100 100
หลังจากที่ได้รู้ข้อแตกต่าง ข้อดีของบัตรแบบชิปการ์ด รวมถึงค่าธรรมเนียมของบัตรต่างๆ กันไปแล้ว เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนคงอยากเปลี่ยนบัตรใบเก่าที่ถืออยู่ให้เป็นแบบชิปการ์ดกันเต็มทีแล้วใช่ไหมล่ะคะ ถ้าใครสะดวกก็แวะไปดำเนินการเปลี่ยนบัตรกันได้ตั้งแต่วันนี้เลย เพราะหลังจากวันที่ 15 ม.ค. 63 บัตรเดบิต หรือบัตรเอทีเอ็มแบบเดิม จะไม่สามารถใช้งานได้ และหากไปขอเปลี่ยนบัตรหลังจากนั้นก็จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามเงื่อนไขของธนาคารอีกด้วยนะคะ ^^
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต บัตรเดบิต credit card debit card ชิปการ์ด chip card
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)